ถังดับเพลิงมีกี่ชนิด : เรียนรู้พื้นฐานการเลือกถังดับเพลิงอย่างถูกต้อง

index-pic-demo-post

สัญลักษณ์ของถังดับเพลิงแบ่งตามประเภทของไฟ ตามข้อกำหนดมาตรฐานสากล (มาตรฐาน NFPA 10)

ก่อนเลือกซื้อถังดับเพลิง และ ติดตั้งถังดับเพลิง เรามาดุกันก่อนว่าถังดับเพลิงแต่ละชนิดนั้นมีคุณสมบัติอย่างไร ถังดับเพลิงแต่ละประเภทจะต้องใช้ให้ถูกต้องกับประเภทของไฟด้วยถึงจะสามารถดับเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติ National Fire  Protection Association (NFPA)

NFPA 10 ได้แบ่งประเภทของไฟออกเป็น 5 ประเภทเพื่อง่ายต่อการจัดการ

NFPA 10 ได้แยกประเภทของไฟเพื่อเป็นแนวทางลดความเสี่ยง และ ผลกระทบจากไฟไหม้ และ อันตราย อื่นๆที่มีผลต่อไฟแต่ละประเภท ปัจจุบัน NFPA 10 ได้เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางทั่วโลก และ มีการนํามาใช้โดยอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อความปลอดภัย และ การปฏิบัติตามข้อกำหนด มาตรฐาน NFPA 10 ที่กำหนดสำหรับถังดับเพลิงแบบมือถือ

  1. ประเภท A คือ เพลิงที่ไหม้ที่เกิดจากเชื้อเพลิงของแข็ง เช่น ไม้ ผ้า กระดาษ ปอ นุ่น ยาง พลาสติก
  2. ประเภท B คือ เพลิงที่ไหม้ในของเหลวติดไฟและก๊าซติดไฟ เช่น น้ำมัน ก๊าซหุงต้ม จาระบี
  3. ประเภท C คือ เพลิงที่ไหม้จากอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร
  4. ประเภท D คือ ประเภทวัตถุของแข็งหรือโลหะไวไฟ เช่น ไตตาเนียม แมกนีเซียมสำหรับแมกนีเซียมห้ามใช้น้ำดับเด็ดขาด ต้องใช้เกลือแกงหรือทราย
  5. ประเภท K คือ เพลิงไหม้ที่เกิดจากน้ำมันที่ใช้ประกอบอาหาร ไขมันสัตว์

รู้จักกับ : ประเภทของถังดับเพลิง

การใช้ถังดับเพลิงเราจะต้องเลือกใช้ให้ถูกกับประเภทของไฟด้วย ซึ่งถังดับเพลิงมีหลายประเภทที่ออกแบบมาเพื่อดับไฟชนิดต่างๆ เช่น

  1. ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง (Dry Chemical) สามารถดับไฟได้เกือบทุกประเภท A B C ยกเว้น CLASS K ราคาถูก หาซื้อง่าย แต่มีข้อเสียคือเมื่อฉีดออกมาจะฟุ้งกระจาย และเมื่อเราทำการฉีดแล้วจะฉีดจนหมดหรือไม่หมดถัง แรงดันจะตก ไม่สามารถใช้งานได้อีก ต้องส่งอัดบรรจุใหม่ทันที
  2. ถังดับเพลิงชนิดน้ำยาเหลวระเหย สามารถดับไฟได้เกือบทุกประเภท A B C ยกเว้น CLASS K ราคาถูกกว่าฮาโรตรอน หาซื้อง่าย เมื่อฉีดใช้งานจะไม่ทิ้งคราบสกปรก ไม่ทำลายอุปกรณ์ไฟฟ้าเสียหาย และไม่ทำให้สกปรกในบริเวณ ที่ใช้งาน ถังสีเขียว เหมาะกับ พื้นที่ที่เน้นความสะอาด เช่นอาคาร สำนักงาน โรงพยาบาล ห้องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
  3. ถังดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) สารเคมีภายในบรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซที่ฉีดออกมาจะเป็นไอเย็นจัด คล้ายน้ำแข็งแห้ง ลดความร้อนของไฟได้ ไม่ทิ้งคราบสกปรก สามารถดับไฟได้ประเภท B C เหมาะสำหรับ การใช้งานในห้องเครื่องจักร Line การผลิต อุตสาหกรรมอาหาร ถังสีแดง ปลายกระบอกฉีดจะใหญ่เป็นพิเศษ
  4. ถังดับเพลิงชนิดโฟม สารเคมีภายในบรรจุโฟม เมื่อฉีดออกมาจะเป็นฟองโฟมคลุมผิวเชื้อเพลิงที่ลุกไหม้ จึงสามารถดับไฟได้ประเภท A B แต่ไม่สามารถนำไปดับไฟประเภท C ได้เพราะเป็นสื่อนำไฟฟ้า เหมาะสำหรับภาคอุตสาหกรรม ดับเชื้อเพลิงประเภททินเนอร์ และสารระเหยติดไฟ
  5. ถังดับเพลิงแสตนเลส ชนิดสูตรเคมีน้ำ เป็นสารทดแทนสารฮาล่อน 1211 ได้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Non-CFC) ดับไฟ Class A B C และ K ได้ ผ่านการทดสอบและรับรองประสิทธิภาพในการดับเพลิง Fire Rating 10A20B สำหรับขนาด 10ปอนด์ และ 10A40B สำหรับขนาด 15ปอนด์ โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (TISTR) ไม่บดบังทัศนวิสัยขณะฉีดใช้งาน เนื่องจากไม่เป็นฝุ่นละออง ปลอดภัยสำหรับฉีดใช้งานกับอุปกรณ์ ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ข้อแนะนำ : วิธีการใช้งานถังดับเพลิง อย่างปลอดภัย

  1. เข้าไปทางเหนือลมโดยห่างจากฐานของไฟประมาณ 2 – 3 เมตร สามารถดับเพลิงได้ทั้งไฟชนิด A , B , C และ K ระดับความาสามารถในการดับเพลิงสูง
  2. ดึงสลักหรือลวดที่รั้งวาล์วออก
  3. ยกหัวฉีดปากกลวยชี้ไปที่ฐานของไฟ ( ทำมุมประมาณ 45 องศา )
  4. บีบไกเพื่อเปิดวาล์วให้ก๊าซพุ่งออกมา
  5. ให้ฉีดไปตามทางยาวไปที่ฐานของไฟ และกราดหัวฉีดไปช้า ๆ
  6. ดับให้สนิทจนแน่ใจแล้ว จึงฉีดต่อไปข้างหน้า

ในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้วางอยู่ในระดับต่างกัน ให้ฉีดจากข้างล่างไปหาข้างบน และถ้าน้ำมันรั่วไหลให้ฉีดจากปลายทางที่รั่วไหลไปยังจุดที่รั่วไหล และเหตุเพลิงไหม้ที่เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ ต้องรีบตัดกระแสไฟฟ้าก่อน เพื่อป้องกันมิให้เกิดการลุกไหม้ขึ้นมาอีกได้

ฉีดสารเคมีในถังดับเพลิงไปที่ฐานของไฟ

วิธีการตรวจสอบถังดับเพลิง ให้พร้อมใช้งาน

การตรวจสอบถังดับเพลิงให้พร้อมใช้งานมีความสำคัญเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมต่อเหตุเพลิงไหม้ และความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน หรือ อาคาร บ้านเรือน การตรวจสอบถังดับเพลิงควรตรวจสอบอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าถังดับเพลิงจะสามารถใช้งานได้ทันทีเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

รูปที่ 7 ข้อสังเกตุแรงดันในถังดับเพลิงที่พร้อมใช้งาน เข็มจะอยู่ที่โซน สีเขียว
  1. ดูที่เข็มในมาตรวัด (Pressure Gauge) ของถังดับเพลิง เครื่องดับเพลิงที่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานได้ เข็มจะชี้ที่ช่องสีเขียว (สังเกตตามรูปที่ 7) แต่ถ้าเข็มเอียงมาทางซ้ายแสดงว่าแรงดันไม่มี ต้องรีบนำไปเติมแรงดันทันที  (ตรวจสอบเป็นประจำทุกเดือน)
  2. ตรวจ สายฉีด หัวฉีด อย่าให้มีผงอุดตัน
  3. (ตรวจสอบเป็นประจำทุกเดือน)
  4. ถ้าไฟไหม้ หรือกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง ให้ส่งไปตรวจสอบและบรรจุใหม่
  5. สภาพบรรจุของถังดับเพลิงต้องไม่บุบ หรือบวม และไม่ขึ้นสนิม
  6. อายุการใช้งาน ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง (ถังสีแดง) มีอายุประมาณ 5 ปี ชนิดฮาโลตรอนวัน (ถังสีเขียว) และชนิดก๊าซ CO2 มีอายุประมาณ 10 ปี
  7. ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง (ถังสีแดง) หากมีการใช้งานแล้ว ต้องนำไปเติมสารเคมีใหม่ทุกครั้ง2.ตรวจ สายฉีด หัวฉีด อย่าให้มีผงอุดตัน เป็นประจำทุกเดือน

สรุป

เราควรตรวจสอบให้ดีก่อนจะทำการซื้อถังดับเพลิงมาไว้ใช้งาน จะต้องเือกถังดับเพลิงให้เหมาะกับประเภทของความเสี่ยงของเพลิงตามที่ NFPA 10 กำหนด เพื่อที่จะได้สามารถดับไไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมไปถึง หากเกิดเหตุเพลิงไหม้ก็ควรเลือกใช้ถังดับเพลิงให้ถูกต้อง และ นายจ้างควรให้ลูกจ้างได้รับการฝึกอบรมดับเพลิงเพื่อให้พนักงานได้ใช้งานถังดับเพลิงได้อย่างถูกต้อง

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์ Copyright © All Right Reserved

* ห้ามมิให้คัดลอก ทำซ้ำ ดัดแปลง หรือ เผยแพร่เนื้อหา รูปภาพ ในบทความนี้ในเชิงพาณิชย์ โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากทางเรา

** หากต้องการคัดลอกเนื้อหาบทความ โปรดให้เครดิตเรา และ ใส่ลิงก์กลับมาที่หน้านี้