ก๊าซปิโตรเลียมเหลว LPG คืออะไร มีคุณสมบัติเป็นอย่างไร

ก๊าซปิโตรเลียมเหลว

ก๊าซปิโตรเลียมเหลว LPG ก๊าซไฮโดรคาร์บอนเหลว

ก๊าซปิโตรเลียมเหลว หมายถึง

“ ก๊าซไฮโดรคาร์บอนเหลว คือ โปรเปน โปรปิลีน นอร์มัลบิวเทน ไอโซบิวเทน หรือบิวทีลีน อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง ผสมกันเป็นส่วนใหญ่ ”

โดยทั่วไปเรามักเรียก ก๊าซปิโตรเลียมเหลวนี้ว่า ก๊าซ แก๊ส แก๊สเหลว หรือแก๊สหุงต้ม ส่วนในวงการค้าและอุตสาหกรรม ชื่อที่เรารู้ จักกันดี คือ แอล พี แก๊ส (LP GAS) หรือ แอล พี จี (LPG) ซึ่งเป็นอักษรย่อ มาจาก Liquefied Petroleum Gas ก๊าซปิโตรเลียมเหลวมีสภาพเป็นก๊าซที่อุณหภูมิและความดันบรรยากาศ โดยมีน้ำหนักประมาณ 1.5-2 เท่าของอากาศ

ปิโตรเลียมเหลว

การที่ได้ชื่อว่าปิโตรเลียมเหลว เนื่องจากก๊าซจะถูกอัดให้อยู่ในสภาพของเหลวภายใต้ความดันเพื่อสะดวกต่อการเก็บและการขนส่ง เมื่อลดความดันก๊าซเหลวนี้จะกลายเป็นไอสามารถนำไปใช้งานได้

ก๊าซปิโตรเลียมเหลว เป็นเชื้อเพลิงที่มีความสำคัญในปัจจุบันใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในครัวเรือน  ร้านอาหาร ภัตตาคาร  พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม   และในรถยนต์  เนื่องจากเป็นเชื้อเพลิงที่ขนส่งสะดวกไม่เปลืองที่เก็บ และที่สำคัญคือ เผาไหม้แล้วเกิดเขม่าน้อยกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น

โรงกลั่นน้ำมัน LPG

แหล่งที่มาของก๊าซปิโตรเลียมเหลว

แหล่งที่มาของก๊าซมี 2 แหล่ง ได้แก่

  1. ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบในโรงกลั่นน้ำมัน ซึ่งจะได้ก๊าซโปรเปนและบิวเทนประมาณ 1-2% แต่ก่อนที่จะนำ  น้ำมันดิบเข้ากลั่น ต้องแยกน้ำ  และเกลือแร่ที่ปนอยู่ออกเสียก่อน หลักจากนั้นนำ น้ำมันดิบมาให้ความร้อนจนมีอุณหภูมิประมาณ  340 – 400 OC

    จากนั้นจะถูกส่งเข้าสู่หอกลั่นซึ่งภายใน ประกอบด้วยถาด (tray)  เป็นชั้นๆ หลายสิบชั้น ไอร้อนที่ลอยขึ้นไปเมื่อเย็นตัวลงจะกลั่นตัวเป็น  ของเหลวบนถาดตามชั้นต่าง ๆ และ จะอยู่ชั้นใดขึ้นอยู่กับช่วงจุดเดือนต่ำจะลอยขึ้นสู่เบื้องบนของหอกลั่น คือ ไฮโดรคาร์บอนที่มีสถานะเป็นก๊าซ ( LPG รวมอยู่ในส่วนนี้ด้วย )  ส่วนไฮโดรคาร์บอนที่มีจุดเดือนปานกลาง และสูงก็จะแยกตัวออกมาทางตอนกลางและตอนล่างของหอกลั่น ซึ่งได้แก่แนพทา ( naphtha ) น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล และน้ำมันเตา ตามลำดับ

    What is LPG?

  2. ได้จากกระบวนการแยกก๊าซธรรมชาติ ซึ่งจะมีก๊าซโปรเปนและบิวเทนในก๊าซธรรมชาติ
    ประมาณ 6-10%  ก๊าซธรรมชาติ ที่นำขึ้นมาจะส่งเข้าสู่โรงแยกก๊าซ  ( gas separation plant )  เพื่อทำการ แยกเอาสารไฮโดรคาร์บอนที่มีอยู่ในก๊าซธรรมชาติ  ออกเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ คือ มีเทน  ( methane ) อีเทน ( ethane ) โปรเปน  ( propane )  บิวเทน  ( butane )  แอลพีจี   ( liquefied petroleum gas ) และ ก๊าซโซลีนธรรมชาติ (natural gasoline , NGL)
ก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือ แก๊สหุงต้ม

คุณสมบัติทั่วไปของ LPG

  • เป็นเชื้อเพลิงที่สะอาด ให้การเผาไหม้ที่สะอาด ให้พลังงานความร้อนสูง
  • ในสถานะที่เป็นไอ ก๊าซจะมีความหนาแน่นที่หนักกว่าอากาศ ไอก๊าซจะหนักประมาณ 2 เท่าของอากาศ ฉะนั้นเมื่อก๊าซรั่วจึงจะไหลไปรวมกันอยู่ ณ ที่ต่ำ จึงไม่ควรตั้งถังก๊าซไว้ในห้องใต้ดิน ใกล้หลุมบ่อหรือรางระบายน้ำ
  • และเมื่อมีสถานะที่เป็นของเหลว ก๊าซจะมีน้ำหนักน้อยกว่าน้ำประมาณครึ่งหนึ่ง เมื่อมีสภาพเป็นน้ำก๊าซ จึงลอยอยู่เหนือน้ำ ถ้าก๊าซรั่วลงไปใน คูคลอง หรือท่อน้ำ
  • มีจุดเดือดต่ำ มีจุดเดือดและกลายเป็นไอที่อุณหภูมิ ศูนย์องศาเซลเซียล ในเมืองไทยที่มีอุณหภูมิประมาณ 20 กว่าองศาเซลเซียล ก๊าซจะกลายเป็นไอทันที ที่พ้นจากความดัน และจะดูดความร้อนจากบริเวณใกล้เคียง ทำให้บริเวณใกล้เคียงมีความเย็นจัด ดังนั้นถ้าส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายคนเราสัมผัสกับน้ำก๊าซ จะทำให้ร่างกายส่วนนั้นเย็นจัดถึงไหม้ได้
  • มีอัตราการขยายตัวสูง การเติมก๊าซลงในภาชนะ จึงไม่ควรเติมเต็ม ควรเติมประมาณ 85 %ของภาชนะ เพื่อให้มีช่องว่างไว้สำหรับขยายตัวเมื่อได้รับความร้อน
  • ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น แต่เพื่อป้องกันอันตรายจากการรั่วไหลจึงต้องใส่สารเคมี Ethyl Mercaptanหรือ Thiophane ลงไปเพื่อให้มีกลิ่นฉุน
  • โดยปกติก๊าซฯไม่เป็นพิษต่อร่างกายโดยตรง แต่ถ้ามีการหายใจเข้าสู่ปอดเป็นระยะเวลานานทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน และอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้หากร่างกายขาดอากาศเป็นระยะเวลานานเกินควร นอกจากนี้ยังอาจเกิดพิษทางอ้อมจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO)
  • แอลพีจี สามารถละลายยางธรรมชาติได้ดี ดังนั้นอุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องจึงต้องเป็นยางสังเคราะห์
  • มีความดันสูง ภาชนะที่บรรจุ อุปกรณ์ที่ใช้จึงต้องออกแบบให้แข็งแรงสามารถทนความดันได้ไม่น้อยกว่า 250 ปอนด์/ตารางนิ้ว
  • มีความเข้มข้นใสต่ำ จึงรั่วซึมได้ง่าย และไม่มีคุณสมบัติในการหล่อลื่น ดังนั้นอุปกรณ์ที่ใช้จึงต้องแน่นหนาและทนทานเป็นพิเศษ
  • ส่วนผสมของก๊าซกับอากาศ ที่ทำให้ติดไฟ อัตราส่วนของก๊าซในอากาศที่ทำให้ติดไฟคือ 1.5 -9 ส่วนใน 100 ส่วน ของส่วนผสมจะเห็นได้ว่าถ้ามีก๊าซน้อยกว่า หรือมากกว่าสัดส่วนดังกล่าวก๊าซจะไม่ติดไฟ ซึ่งจะเห็นได้ว่าก๊าซติดไฟไม่ได้ง่ายนัก
  • อัตราการขยายตัวของก๊าซ จากของเหลวเป็นไอ น้ำก๊าซ 1 ลิตร เมื่อกลายเป็นไอ ขยายตัวได้ถึง 250ลิตร เมื่อน้ำก๊าซรั่วจึงมีอันตรายมากกว่าไอก๊าซรั่ว
  • ให้ความร้อนสูง
    – อุณหภูมิเปลวไฟ 1900-2000 oC
    –  ค่าความร้อนของการเผาไหม้ ที่ 25 oC อยู่ระหว่าง11,700 – 11,900kcal/kg ( 21,000 – 21,400Btu/lb ) ขึ้นอยู่กับส่วนผสมของโพรเพนกับบิวเทน
เครดิต : wikipedia / ปตท.

บทความและหลักสูตรที่น่าสนใจ