อุบัติเหตุจากการพลัดตกจากที่สูง เป็นอีกหนึ่งอุบัติเหตุที่มีปรากฏให้เห็นอยู่เรื่อยๆ ความเสี่ยงเหล่านี้อยู่รอบๆ ตัวเราในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ที่ปฏิบัติงานบนที่สูง อย่างงานก่อสร้างบนนั่งร้าน งานบนเสาไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งการทำงานบนที่สูงอาจหมายถึง การทำงานบนพื้นต่างระดับจากพื้นราบ หรือการทำงานบนพื้นที่มีความต่างระดับของพื้นที่บริเวณใต้ดิน ประมาณ 2 เมตรขึ้นไป
ข้อ ๒ นายจ้างต้องจัดให้มีข้อบังคับ และ ขั้นตอนกำรปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัย ในการทำงานในที่สูง ที่ลาดชัน ที่อาจมีการกระเด็น ตกหล่น หรือพังทลายของวัสดุสิ่งของ และที่อาจทำให้ ลูกจ้ำงพลัดตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ ซึ่งอย่ำงน้อยต้องประกอบด้วย การระบุอันตราย ที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงาน การวางแผนกำรปฏิบัติงาน และ การป้องกัน และ ควบคุมอันตราย รวมทั้ง ต้องอบรมหรือชี้แจงให้ลูกจ้างได้รับทราบก่อนเริ่มปฏิบัติงาน และ ควบคุมดูแลให้ลูกจ้างปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด และต้องมีสำเนาเอกสารดังกล่าวไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้
อันตรายที่พบบ่อยที่สุดจากอุบัติเหตุของการทำงานบนที่สูง คือการพลัดตกจากที่สูงซึ่งอาจมาจากหลากหลายปัจจัย สามารถเป็นเหตุให้เสียชีวิตได้ หรือกลายเป็นผู้พิการ และบาดเจ็บ ดังนั้นผู้ที่ทำงานบนที่สูงควรรู้ถึงหลักการทำงานอย่างถูกต้องเพื่อความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น
- การทำงานบนที่สูงเกิน 2 เมตรขึ้นไป จะต้องมีการป้องกันการตกหล่น และมีการติดตั้งนั่งร้าน
- การทำงานบนที่สูงเกิน 4 เมตรขึ้นไป ผู้ปฏิบัติงานจะต้องสวมใส่เข็มขัดนิรภัยหรือสายช่วยชีวิต ต้องมีตาข่ายนิรภัยรอง และมีราวกันตก
- ช่องเปิดหรือปล่องต่างๆ ต้องมีฝาปิด หรือรั้วกั้นความสูงไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร
- ทำงานบนที่ลาดชันเกิน 15 องศา ต้องมีการติดตั้งนั่งร้าน
- อุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้บนที่สูง ต้องมีการผูกยึด ไม่ให้ตกลงมาด้านล่าง
- การใช้บันไดแบบเคลื่อนย้ายได้ มุมบันไดที่อยู่ตรงข้ามกับผนังที่พิง จะต้องวางทำมุม 75 องศา
- การใช้รถเครน ต้องมีแผ่นเหล็กรองขาช้าง เพื่อป้องกันการวางไม่ได้ระนาบหรืออ่อนตัว ซึ่งคนขับรถเครนและผู้ให้สัญญาณต้องผ่านการอบรม และรถเครนต้องผ่านการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่บำรุงรักษาที่เกี่ยวข้อง ก่อนนำเข้าใช้งานในเขตหวงห้ามทุกครั้ง
- คนที่ปฏิบัติงานจะต้องผ่านการฝึกอบรมที่สูงก่อนเริ่มงาน
นอกจากหลักความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูงแล้ว ยังมีกฎเกณฑ์ต่างๆ ในการทำงานบนที่สูง ทั้งขั้นตอนก่อนเริ่มทำงาน ขั้นตอนการปีนขึ้นที่สูง และกฎในการทำงานบนที่สูง
- ผู้ปฏิบัติงานต้องเป็นผู้ได้รับมอบหมายและมีคุณสมบัติในการทงานบนที่สูง
- สวมใส่เครื่องแต่งกายให้รัดกุมและเรียบร้อย
- เลือกจุดยึดที่แข็งแรงสามารถรองรับแรงกระเมื่อเกิดการตกได้
- สวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลขณะทำงานเสมอ ได้แก่ ถุงมือที่ปราศจากน้ำมัน รองเท้านิรภัย เข็มขัดนิรภัยชนิดเต็มตัว (Full body harness) และสายช่วยชีวิต (Lanyard, SRL) เป็นต้น
- เตรียมแผนการช่วยเหลือ และอุปกรณ์ช่วยเหลือ เช่น Tripod และ Winch เป็นต้น
- การขึ้นหรือลงบันไดแนวตั้ง ให้ขึ้นลงทีละคน
- บันไดจะต้องถูกจับยึดให้แน่นและมั่นคง
- ขณะขึ้นหรือลงบันได ให้จับขอบบันไดด้วยมือ 2 ข้าง และก้าวขึ้นลงด้วยความเร็วปกติ
- ห้ามถือเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ใดๆ ขณะปีนขึ้นลงบันได หากมีเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่จำเป็นในการใช้งาน ให้พกพาโดยการใส่ไว้ในกระเป๋าที่ติดกับเข็มขัดเท่านั้น
- ห้ามทำงานบนที่สูงเพียงลำพังคนเดียว
- ห้ามเคลื่อนไหวตัวรวดเร็ว เมื่อทำงานสูงกว่าพื้นดินเกิน 2 เมตร
- ห้ามโยนสิ่งของหรือเครื่องมือให้แก่ผู้อยู่บนที่สูง
- ห้ามทิ้งสิ่งของหรือเครื่องมือลงสู่เบื้องล่าง
- การตัด การเชื่อมบนที่สูง ให้ตรวจสอบและเคลื่อนย้ายเชื้อเพลิง และสารไวไฟทุกชนิดในพื้นที่เบื้องล่างก่อน รวมถึงขณะตัดหรือเชื่อม ให้ทำด้วยความระมัดระวัง
- ผู้ควบคุมงานต้องดูแลไม่ให้ใครเดินผ่านเบื้อล่างจุดทำงาน
- ระวังขอยกหรือ Hanger ชน เมื่อจำเป็นต้องทำงานในเส้นทางของขอยก
- ขณะยืนบนหลังคากระเบื้อง ห้ามเหยียบที่แผ่นกระเบื้องโดยตรง
กฎต่างๆ รวมถึงข้อควรปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยเหล่านี้จะไม่เกิดประสิทธิภาพ หากผู้ปฏิบัติงานและผู้ร่วมงานไม่นำไปปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด