การปฏิบัติงานใด ๆ ก็ตามในบริเวณที่มีความต่างระดับของพื้นที่ทำงาน และมีโอกาสที่บุคคล หรือวัสดุจะตกจากที่สูงจากระดับหนึ่งสู่ระดับที่ต่ำกว่า เช่น บ่อ หลุม ช่องเปิด หลังคา บริเวณที่มีทางขึ้น-ลง หรือบันได บริเวณลาดชัน พื้นที่สูงที่มีพื้นผิวไม่แข็งแรงมั่นคง หรือลื่น เป็นต้น วันนี้เราจะขอนำวิธีการป้องกันการตกจากที่สูงอย่างปลอดภัยมาให้ทราบกันดังนี้
ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในที่สูงจากพื้นดินหรือพื้นอาคารตั้งแต่ ๒ เมตรขึ้นไป ให้นายจ้างจัดให้มีนั่งร้าน บันได ขาหยั่ง หรือม้ายืน ที่ปลอดภัยตามสภาพของงานสำหรับลูกจ้างในการทำงานนั้น
ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำ งานบนที่ลาดชันที่ทำ มุมเกินสามสิบองศาจากแนวราบและสูงตั้งแต่ ๒ เมตร ขึ้นไป นายจ้างต้องจัดให้มีนั่งร้านที่เหมาะสมกับสภาพของงานสายหรือเชือกช่วยชีวิต และเข็มขัดนิรภัยพร้อมอุปกรณ์ หรือเครื่องป้องกันอื่นใดที่มี ลักษณะเดียวกัน ให้ลูกจ้างใช้ในการทำงานเพื่อให้เกิดความปลอดภัย
ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในสถานที่ที่ลูกจ้างอาจได้รับอันตรายจากการพลัดตกหรือถูกวัสดุพังทับ เช่น การทำงาน บนหรือในเสา ตอม่อ เสาไฟฟ้า ปล่อง หรือคานที่มีความสูงตั้งแต่ ๔ เมตร ขึ้นไป หรือทำงานบนหรือในถัง บ่อ กรวยสำหรับเทวัสดุ หรือสิ่งอื่นใดที่มีลักษณะเดียวกัน นายจ้างต้องจัดทำราวกั้นหรือรั้วกันตก ตาข่าย สิ่งปิดกั้น หรืออุปกรณ์ป้องกันอื่นใดที่มีลักษณะเดียวกัน เพื่อป้องกันการพลัดตกของลูกจ้างหรือสิ่งของ และจัดให้มีการใช้สายหรือเชือกช่วยชีวิตและเข็มขัดนิรภัยพร้อมอุปกรณ์ หรือเครื่องป้องกันอื่นใดที่มีลักษณะเดียวกัน ให้ลูกจ้างใช้ในการทำงานเพื่อให้เกิดความปลอดภัย
งานก่อสร้างที่มีปล่องหรือช่องเปิดซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างหรือสิ่งของพลัดตก นายจ้างต้องจัดทำฝาปิดที่แข็งแรง ราวกั้นหรือรั้วกันตกที่มีความสูงไม่น้อยกว่า ๙๐ เซนติเมตร และแผงทึบหรือขอบกันของตกมีความสูงไม่น้อยกว่า ๗ เซนติเมตร พร้อมทั้งติดป้ายเตือนอันตราย
1. การป้องกันที่ตัวผู้ปฏิบัติงาน
– ฝึกอบรมให้กับผู้ที่ต้องขึ้นไปปฏิบัติงานบนที่สูง
– สุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน
– สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
2. การป้องกันในสถานที่ทำงาน
– จัดระบบงาน เพื่อจำกัดการทำงานบนที่สูง
– ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันการตก เพื่อลดความเสี่ยง
– พื้นที่ทำงานปราศจากปัจจัยที่ทำให้สะดุด ลื่น
– กั้น หรือปิดช่องเปิดบนพื้นให้แข็งแรง พร้อมป้ายเตือนอันตราย
– ติดตั้งหลังคาบริเวณทางเข้า-ออกอาคาร เพื่อป้องกันการร่วงตกของวัสดุ
3. การป้องกันอันตรายจากการร่วงหล่นของวัสดุในพื้นที่ปฏิบัติงาน
– อุปกรณ์ที่มีขนาดเล็ก ควรใส่ในภาชนะที่แข็งแรง
– วัสดุอุปกรณ์ทุกชนิดต้องไม่วางกีดขวางทางเดิน
– จัดเก็บเศษวัสดุที่เหลือใช้ในภาชนะที่แข็งแรง
– จัดเก็บทำความสะอาดอย่างต่อเนื่อง
– ใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับงาน
– ใช้เชือกผูกรัดเครื่องมือ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงาน
– ขนย้ายวัสดุอุปกรณ์อย่างถูกวิธี
– วัสดุอุปกรณ์ทุกชนิดจะต้องไม่วางกีดขวางทางเดิน
– สายไฟ สายยาง ห้ามลากผ่านพื้นทางเดิน
– บริเวณช่องทางขึ้น-ลงบันได ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง
– พื้นที่ทำงานต้องมีราวกันตก และแผ่นกันของตก
– พื้นที่ทำงานต้องไม่เปียกแฉะ
– พื้นที่ทำงานจะต้องไม่มีคราบน้ำมัน จารบี
– พื้นทางเดินต้องเรียบเสมอกัน
– จัดเก็บทำความสะอาดอย่างต่อเนื่อง
– มีราวกันตก หรือเชือกนิรภัยยึดติดกับโครงสร้างโดยรอบ
– มีทางเดินชั่วคราวพร้อมราวกันตก
– ติดตั้งตาข่ายนิรภัยยึดติดกับโครงสร้างที่มั่นคงแข็งแรง
– ปิดกั้นบริเวณด้านล่างพื้นที่ปฏิบัติงาน
– จัดเตรียมนั่งร้าน หรือเครื่องจักรกลที่กำหนดไว้ในแผนงาน
– สวมใส่ และใช้อุปกรณ์ป้องกันการตกตลอดเวลา
– ห้ามเคลื่อนย้ายร่างกายบนที่สูง โดยปราศจากการเกาะเกี่ยวเข็มขัดนิรภัย
– ทำราวกันตก หรือเชือกนิรภัยยึดติดกับโครงสร้างโดยรอบ
– ติดตั้งตาข่ายนิรภัยยึดติดกับโครงสร้างที่มั่นคง
– ล้อมด้านล่างพื้นที่ปฏิบัติงาน
– สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันการตก
– มีการจัดวางวัสดุ และจัดทางผ่านที่ปลอดภัย
– จัดเก็บเศษวัสดุ เมื่อมีการเปลี่ยนช่วงเวลาทำงาน
– มีการตรวจสอบดูแลตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน
– มีอุปกรณ์สื่อสาร และแผนการช่วยเหลือ เมื่อเกิดอุบัติเหตุ
– จัดทำราว หรือรั้วปิดกั้นที่มั่นคง แข็งแรงโดยรอบ
– ใช้สีแสดงให้เห็นเด่นชัดในระยะไกล
– ติดตั้งตาข่ายนิรภัย
– จัดให้มีป้าย และสัญลักษณ์เตือนภัย
– สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันการตก
– มีแผนการช่วยเหลือ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
– จัดทำราว หรือรั้วปิดกั้นที่มั่นคง แข็งแรงโดยรอบ
– จัดให้มีการป้องกันการตก และการพังทลายของดิน
– จัดให้มีป้าย และสัญลักษณ์เตือนภัย
– ติดตั้งสัญญาณไฟเวลากลางคืน
– มีแผนการช่วยเหลือ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน