ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๔ และมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด ๓๐ วัน (๑๐ เมษายน ๒๕๖๔)
ประเด็นที่ ๑ : ใครเป็นผู้จัดฝึกอบรมอับอากาศได้บ้าง?
ตอบ : นายจ้าง หรือในกรณีที่นายจ้างไม่สามารจัดได้ ให้นายจ้างจัดให้พนักงานเข้ารับการฝึกอบรมกับนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๑ (ให้กลับไปดูรายละเอียดใน ม.๑๑ พ.ร.บ.ความปลอดภัยฯ ๒๕๕๔)
ประเด็นที่ ๒ : ฝึกอบรมให้กับใครและกรณีใดบ้าง?
ตอบ : ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาต, ผู้ควบคุมงาน, ผู้ช่วยเหลือ, ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ และกณีเปลี่ยนงาน หรือเปลี่ยนสถานที่ทำงานที่อาจได้รับอันตรายต้องฝึกอบรมภาคปฏิบัติก่อนเริ่มทำงาน
ประเด็นที่ ๓ : หลักสูตรอบรมมีกี่หลักสูตร?
ตอบ : มี ๖ หลักสูตร ดังนี้
(๑) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้อนุญาต อบรมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติไม่น้อยกว่า ๗ ชั่วโมง จัดฝึกอบรม ๑ วัน
(๒) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ควบคุมงาน อบรมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติไม่น้อยกว่า ๑๒ ชั่วโมง โดยจัดฝึกอบรม ๒ วันต่อเนื่อง
(๓) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ช่วยเหลือ อบรมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติไม่น้อยกว่า ๑๘ ชั่วโมง โดยจัดฝึกอบรม ๓ วันต่อเนื่อง
(๔) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ อบรมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติไม่น้อยกว่า ๑๒ ชั่วโมง โดยจัดฝึกอบรม ๒ วันต่อเนื่อง
(๕) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ อบรมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติไม่น้อยกว่า ๒๔ ชั่วโมง จัดฝึกอบรม ๔ วันต่อเนื่อง
(๖) หลักสูตรการฝึกอบรมทบทวนความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ อบรมเฉพาะภาคทฤษฎีไม่น้อยกว่า ๓ ชั่วโมงต่อเนื่อง
การฝึกอบรมสำหรับหลักสูตรทบทวนฯ ต้อง อบรมทุก ๕ ปี นับแต่วันสุดท้ายของการฝึกอบรม (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) โดยต้องอบรมให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วันก่อนครบ ๕ ปี
ประเด็นที่ ๔ : คุณสมบัติของวิทยากรผู้ทำการฝึกทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ
(๑) วุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี สาขาอาชีวอนามัยหรือเทียบเท่า มีประสบการณ์งานอับอากาศไม่น้อยกว่า ๑ ปี และเคยเป็นวิทยากรในหัวข้อวิชาที่บรรยายไม่น้อยกว่า ๒๔ ชั่วโมง/ปี
(๒) เป็นหรือเคยเป็น จป.วิชาชีพ โดยผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรความปลอดภัยในที่อับอากาศไม่น้อยกว่า ๑๘ ชั่วโมง มีประสบการณ์งานอับอากาศไม่น้อยกว่า ๒ ปี และเคยเป็นวิทยากรในหัวข้อวิชาที่บรรยายไม่น้อยกว่า ๒๔ ชั่วโมง/ปี
(๓) เป็นหรือเคยเป็น จป.หัวหน้างาน เทคนิค เทคนิคขั้นสูงมาไม่น้อยกว่า ๓ ปี โดยผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรความปลอดภัยในที่อับอากาศไม่น้อยกว่า ๑๘ ชั่วโมง มีประสบการณ์งานอับอากาศไม่น้อยกว่า ๓ ปี และเคยเป็นวิทยากรในหัวข้อวิชาที่บรรยายไม่น้อยกว่า ๒๔ ชั่วโมง/ปี
(๔) สำเร็จการศึกษาเฉพาะทาง หรือผ่านการอบรมเฉพาะทางเกี่ยวกับหัวข้อที่บรรยาย และเคยเป็นวิทยากรในหัวข้อวิชาที่บรรยายไม่น้อยกว่า ๒๔ ชั่วโมง/ปี
วิทยากรต้องเข้าอบรมเพิ่มเติมความรู้ที่เกี่ยวข้อง ไม่น้อยกว่า ๖ ชั่วโมง/ปี
ประเด็นที่ ๕ : นายจ้างมีหน้าที่อะไรบ้าง?
เอกสารที่ต้องเก็บไว้ให้ตรวจ – ให้จัดทำทะเบียนรายชื่อผู้ที่ผ่านฝึกอบรม-วันที่-เวลา พร้อมรายชื่อวิทยากร
เอกสารที่ต้องแจ้งอธิบดีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย – ให้จัดทำรายงานผลการฝึกอบรม ตามแบบรายงานผลแล้ว แจ้งฯ ภายใน ๓๐ วันนับแต่เสร็จสิ้นการอบรม
ประเด็นที่ ๖ : ผู้ที่เคยผ่านการอบรมจากหลักสูตรเดิมต้องทำอย่างไร?
หลักสูตรเดิม คือ หลักสูตรตามประกาศกรมฯ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ (๓๑ ม.ค. ๔๘) หรือประกาศกรมฯ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ ๒๕๔๙ (๒๙ ก.ย. ๔๙) และฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๑
ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรเดิม ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ถือว่าผู้นั้น ผ่านการฝึกอบรมตามประกาศนี้ แต่ต้องเข้ารับการอบรม “หลักสูตรทบทวนฯ” ให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วันก่อนครบกำหนด ๕ ปีนับแต่วันผ่านการฝึกอบรม แต่ถ้าเกิน ๕ ปีแล้ว ต้องเข้ารับการอบรม “หลักสูตรทบทวนฯ” ให้แล้วเสร็จภายใน ๙๐ วันนับแต่วันประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้
บทความและหลักสูตรที่น่าสนใจ
- หลักสูตร การฝึกอบรมผู้อนุญาต การทำงานในที่อับอากาศ
- หลักเกณฑ์การจัดฝึดอบรมอับอากาศตามกฎหมายใหม่ 2564
- การอบรมความปลอดภัยพนักงานเข้าทำงานใหม่
- อัพเดทกฎกระทรวงการทำงาน นั่งร้าน-ค้ำยัน 2564
- หลักสูตร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับบริหาร
- ความปลอดภัยในการทำงาน สำหรับพนักงานเข้าทำงานใหม่ อุบัติเหตุต้องเป็นศูนย์
- การตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน การตรวจวัดสิ่งแวดล้อมประจำปี คืออะไร
- หลักสูตร การฝึกอบรมผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ
- หลักสูตร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับหัวหน้างาน