หน้าที่ของ จป.เทคนิค อยากอบรม จป เทคนิคเริ่มต้นอย่างไร

จป เทคนิค คือใคร ?

จป เทคนิค หรือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค หมายถึง ลูกจ้างที่นายจ้างแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค เพื่อปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย full time ตามเวลาที่กำหนด ไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชม. การที่จะเป็น จป เทคนิคได้นั้นจะต้องผ่านการฝึกอบรม จป เทคนิค ตามหลักสูตรที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกำหนด

การเป็น จป เทคนิค จะต้องมีประสบการณ์หรือผ่านการเป็น จป หัวหน้า มาแล้วหากพูดให้เข้าใจง่ายๆหมายความว่าจะต้องมีเลขทะเบียน จป หัวหน้างาน หรือผ่านการขึ้นทะเบียน จป หัวหน้างานมาก่อนถึงจะทำการอบรมเพื่ออัพเกรดตัวเองไปเป็น จป เทคนิค ได้หากใครที่ไม่ได้มีประสบการณ์จป หัวหน้างาน ก็ยังไม่หมดหวังเพราะกฎหมายระบุว่าหากคุณไม่ได้เป็น จป หัวหน้างาน ก็จะต้องจบไม่น้อยกว่า ป.ตรี สาขาใดก็ได้เพียงเท่านี้ก็สามารถอบรม จป เทคนิค ได้เรียบร้อย

ทำไมหลายคนถึงอย่างเป็น จป เทคนิค

มีมากมายหลายเหตุผลที่ จป หัวหน้างาน หรือ คนที่จบ ป.ตรี อยากจะย้ายตัวเองมาสายงาน จป เทคนิค เหตุผลหลักๆน่าจะเป็นเรื่องของเงินเดือน และลักษณะงานที่ออกแนวลุยๆ จปเทคนิค หรือ จป เทคนิคขั้นสูง ส่วนใหญ่นอกจากจะทำเอกสารต่างๆแล้ว จป เทคนิคหลายคนมีประสบการณ์หน้างานสูงมากยิ่งเป็น จป สายก่อสร้างก็จะได้พบเจอกับความวุ่นวายทั้ง คน อุปกรณ์ และ สภาพแวดล้อม ที่จะต้องทำการควบคุมทั้ง 3 อย่างนี้ให้เกิดความปลอดภัย จึงเป็นที่มาของ จป เทคนิค หลายๆคนมีเงินเดือนสูงเพราะผ่านการแก้ไขปัญหาต่างๆมาอย่างโชกโชน

จป เทคนิค มีหน้าที่ความรับผิดชอบ

  1. ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฏหมายความปลอดภัย
  2. ดำเนินการจัดทำรายงานการประสบอันตราย
  3. รวบรวมสถิติจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะการประสบอันตราย
  4. ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยอื่นๆ ตามที่นายจ้างมอบหมาย
  5. ให้ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับความปลอดภัย
  6. วิเคราะห์งานเพื่อบ่งชี้อันตราย

จป.เทคนิค ขั้นสูง มีหน้าที่ความรับผิดชอบ

  1. ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัย
  2. รวบรวมสถิติวิเคราะห์ข้อมูล ทำรายงานและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบอันตราย
  3. วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตราย
  4. วิเคราะห์แผนงานโครงการมาตรการ
  5. ตรวจประเมินตามแผน
  6. ตรวจสอบหาสาเหตุและวิเคราะห์การประสบอันตราย
  7. แนะนำ ฝึกสอน อบรมลูกจ้าง
  8. ให้ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับความปลอดภัย
  9. ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยอื่นๆ ตามที่นายจ้างมอบหมาย

หากใครที่สนใจอยากเรียนต่อ และ พัฒนาทักษะด้านความปลอดภัยในการทำงาน สามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตรอบรม จป ระดับต่างๆ ได้ที่เว็บไซต์ safesiri.com ซึ่งมีข้อมูลหลักสูตรที่หลากหลายและครอบคลุมทุกระดับ ตั้งแต่ จป หัวหน้างาน, จป เทคนิค, จป เทคนิคขั้นสูง จนถึง จป บริหาร เพื่อให้คุณสามารถเลือกเรียนได้ตามความต้องการ และ ความเหมาะสมกับสายงานในองค์กร