ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น หมายความว่า บุคคลซึ่งที่หน้าที่ใช้สัญญาณมือหรือสัญญาณสื่อสารชนิดอื่นกับผู้บังคับปั้นจั่น
ปั้นจั่นหรือเครนถือเป็นสิ่งสําคัญในงานก่อสร้างตลอดจนงานอุตสาหกรรมหลากชนิดทั้งในโรงงานผลิต-ประกอบรถยนต์ธุรกิจขนส่งคลังสินค้าท่าเรือเป็นต้นแต่สิ่งไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นมากขึ้นเป็นเงาตามตัวก็คือ อัตราการเกิดอุบัติเหตุจากการใช้ปั้นจั่นทําให้มีผู้เสียชีวิตพิการและบาดเจ็บเป็นจํานวนมากและบ่อยครั้งที่อุบัติเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นเพียงเพราะปัญหาด้านการสื่อสารระหว่างผู้ควบคุมปั้นจั่นและผู้ให้สัญญาณปั้นจั่น
ดังนั้นทางกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงได้กําหนดรูปภาพการใช้สัญญาณมือในการสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่นพ ๒๕๕๓ ซึ่งประกาศณวันที่ 22 กันยายนพศ ๒๕๕๓ (ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่29ตุลาคม๒๕๕๓) เพื่อให้ผู้ประกอบการนําไปติดไว้ที่จุดปฏิบัติงานในตําแหน่งที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนทั้งนี้ก็เพื่อลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการสื่อสารนั่นเอง
เครน เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ปั้นจั่น“
“เครน” คือ เครื่องจักรกลที่ใช้ยกสิ่งของหนัก ขึ้นลงตามแนวดิ่ง และเคลื่อนย้ายสิ่งของเหล่านั้น ในลักษณะแขวนลอยไปตามแนวราบ มี 2 แบบ
คือ เครนเคลื่อนที่ได้ (Mobile Cranes) และเครนเคลื่อนที่ไม่ได้ (Stationary Cranes)
เครนมี 3 ประเภท คือ
- เครนเหนือศรีษะ และเครนขาสูง (Overhead Crane and Gentry Crane)
- เครนหอสูง (Tower Crane)
- รถเครน เรือเครน (Mobile Crane)
เครนมี 2 แบบ คือ
- เครนชนิดเคลื่อนที่ (Mobile Cranes) หมายความว่า เครนที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ควบคุม และเครื่องต้นกำลังอยู่ในตัว ซึ่งติดตั้งอยู่บนยานที่ขับเคลื่อนในตัวเอง
- เครนชนิดอยู่กับที่ (Stationary Cranes) หมายความว่า เครนที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องต้นกำลังอยู่ในตัว ซึ่งติดตั้งอยู่บนหอสูง ขาตั้งหรือ บนล้อเลื่อน
- หยุดยกของฉุกเฉิน เหยียดแขนทั้งสองข้างออกไป ระดับหัวไหล่ ฝ่ามือคว่ำลงแล้วเหวี่ยงไป–มา ในแนวระดับไหล่อย่างรวดเร็วหยุดยกของฉุกเฉิน
- หยุดยกของ เหยียดแขนซ้ายออกไป ในระดับไหล่ แบบคว่ำฝ่ามือ แล้วเหวี่ยงไป–มา ในแนวระดับไหล่อย่างรวดเร็ว
- ให้หยุดและยึดเชือกลวดทั้งหมด กำมือทั้งสองเข้าหากันให้อยู่ในระดับเอว
- ให้ยกของขึ้นช้า ๆ ยกแขนคว่ำฝ่ามือให้ได้ระดับคาง แล้วใช้นิ้วชี้ของมืออีกข้างหนึ่งชี้ตรงกลางฝ่ามือแล้วหมุนช้าๆ
- ยกบูม เหยียดแขนขวาออกสุดแขน แล้วกำมือ ให้หัวแม่มือชี้ขึ้นด้านบน
- นอนบูม เหยียดแขนขวาออกสุดแขนแล้วกำมือให้หัวแม่มือชี้ลงพื้น
- ใช้รอกใหญ่ กำมือ ยกขึ้นเหนือศีรษะแล้วเคาะเบาๆ บนศีรษะตนเองหลายๆครั้งแล้วให้สัญญาณอื่นๆ ที่ต้องการ
- ใช้รอกเล็ก งอข้อศอกขึ้นกำมือระดับไหล่ โย้ไปข้างหน้าเล็กน้อยแล้วใช้มืออีกข้าง แตะที่ศอกจากนั้นให้สัญญาณอื่นๆ
- สวิงบูมไปด้านที่มือชี้ เหยียดแขนซ้ายหรือขวา ชี้ไปตามทิศทางที่ต้องการจะให้หมุนบูมไป
- เดินหน้า เหยียดฝ่ามือขวาตรงออกไปข้างหน้า ระดับไหล่ฝ่ามือตั้งตรงทำท่าผลัก ในทิศทางที่ต้องการให้รถเครนเคลื่อนที่
- เลื่อนรอกขึ้น ให้งอศอกขึ้นตั้งฉาก ชี้นิ้วชี้ขึ้นแล้วหมุนเป็นวงกลม
- เลื่อนรอกลง กางแขนออกเล็กน้อย ใช้นิ้วชี้ลงพื้น แล้วหมุนเป็นวงกลมกำมือทั้งสองคว่ำลง แล้วยกขึ้น
- ยกบูมขึ้นพร้อมกับเลื่อนรอกขึ้นเหยียดแขนออกสุด แบมือตั้งหัวแม่มือชี้ขึ้นแล้วกวักนิ้วทั้งสี่ไป–มา (ยกเว้นหัวแม่มือ)
- ยกบูมพร้อมกับเลื่อนรอกลงเหยียดแขนออกสุด แบมือ ให้หัวแม่มือชี้ลงแล้วกวักนิ้วทั้งสี่ไป–มา (ยกเว้นหัวแม่มือ)
- ยึดบูมกำมือทั้งสองแบบหงาย ยกขึ้นเสมอเอว แล้วเหยียดหัวแม่มือออกทั้งสองข้าง
- หดบูมกำมือทั้งสองคว่ำลง แล้วยกขึ้นเสมอเอว ให้หัวแม่มือทั้งสองข้างชี้เข้าหากัน