เกี่ยวกับ จป บริหาร คือใคร
ก่อนที่เราจะไปล้วงลึกเกี่ยวกับบทบาทของ จป บริหารนั้นมารู้จักกับหน้าที่ของ จป บริหาร และที่มากันก่อน
อย่างที่เราได้รู้กันว่าเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ชื่อย่อ คือ จป. กฎหมายประเทศไทยได้กำหนดให้มีทั้งหมด 5 ระดับ คือ
- จป หัวหน้างาน
- จป เทคนิค
- จป เทคนิคขั้นสูง
- จป บริหาร
- จป วิชาชีพ
ครั้งนี้เราจะมาพูดเฉพาะเรื่องของ จป บริหาร ก่อนจะได้มาเป็นตำแหน่งนี้ไม่ใช่อยู่ๆอยากจะเป็นก็เป็นได้เลยเพราะจะต้องได้รับการแต่งตั้งจากนายจ้างโดยมีหนังสือยืนยันว่าเป็นตำแหน่งระดับบริหารจริงๆเสียก่อน หลังจากนั้นเมื่อได้รับการแต่งตั้งเรียบร้อยแล้วตามกฎหมายระบุให้ผู้บริหารทุกคน กฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงานหรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ.2565 นายจ้างจะต้องส่งผู้บริหารเหล่านี้ไปอบรมหลักสูตร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร หรือ จป บริหาร ซึ่งใช้เวลาอบรมทั้งหมด 12 ชั่วโมง ประมาณ 2 วัน จากนั้นเมื่ออบรมเสร็จสิ้นแล้วก็นำวุฒิบัตรไปทำการขึ้นทะเบียนกับทางกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในพื้นที่ของตนเองให้เรียบร้อยเป็นอันจบไป 1 กระบวนการเบื้องต้น ยังมีอีกอย่าพึ่งดีใจ
หลังจากที่เราอบรม จป บริหาร และ ขึ้นทะเบียน จป บริหาร กับทางราชการแล้วนั้นเราจะได้เลขทะเบียนของเรามา 1 ขุด นั้นหมายความว่าเราได้เป็น จป บริหาร อย่างเป็นทางการจริงๆตามที่กฎหมายกำหนดเรียบร้อยแล้ว
ที่นี่มาดูในส่วนของภาระหน้าที่ที่ จป บริหาร จะต้องปฏิบัติว่ามีอะไรบ้างนั้นทางกฎหมายก็ได้ระบุมาให้เรียบร้อยทั้งหมด 4 ข้อ
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร มีหน้าที่ดังต่อไปนี้
- กำกับดูแลเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานทุกระดับซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาของตน
- เสนอแผนงานหรือโครงการด้านความปลอดภัยในการทำงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อนายจ้าง
- ส่งเสริม สนับสนุนและติดตามการดำเนินงานเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน ให้เป็นไปตามแผนงานหรือโครงการเพื่อให้มีการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานที่เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการ
- กำกับดูแลและติดตามให้มีการแก้ไขข้อบกพร่องเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้างตามที่ได้รับรายงานหรือตามข้อเสนอแนะของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน คณะกรรมการความปลอดภัยหรือหน่วยงานความปลอดภัย
ปฏิเสธไม่ได้ว่าการที่องค์กร หรือ จป ระดับต่างๆจะทำอะไรหรือเสนอแนะอะไรนั้นคนที่มีอำนาจในการชี้ขาดว่าจะอนุมัติหรือไม่ มีความเห็นฟ้องหรือไม่ในการขับเคลื่อนความปลอดภัยต่างๆคือ ผู้บริหาร หรือ จป บริหาร ถ้าหากไม่เห็นด้วยหรือไม่ให้ความสำคัญ ลูกน้องและพนักงานก็คงจะไม่กล้าที่จะพลักดันด้านความปลอดภัยในพื้นที่การทำงานเพราะกลัวไปขัดใจผู้บริหารของตนเองก็จะพาลเงินเดือนไม่ขึ้นหรือโบนัสน้อย หนักกว่านั้นอาจถูกมองว่ากลายเป็นคนกระด้างกระเดื่องเลยก็เป็นได้ หลายครั้งที่ จป.หัวหน้างาน หรือลูกน้องของเรานั้นจะนำเสนออะไรหรือพูดอะไรก็ต้องคอยสังเหตุอารมณ์ของ จป.บริหาร ก่อนเพื่อจะได้ให้สิ่งที่ตั้งใจนำเสนอนั้นผ่านได้อย่างไม่มีอุปสรรคด้านความแปรปรวนทางอารมณ์ของผู้อนุมัติ
สิ่งที่ จป บริหาร จะต้องเผชิญอีกมุมหนึ่งคือทุกๆการอนุมัตินั้นหลายครั้งต้องใช้งบประมาณในการขับเคลื่อนด้านความปลอดภัยในการทำงานเช่นกันหากเจ้าของบริษัทไม่เห็นด้วยหรือโครงการด้านความปอลดภัยนั้นใช้งบเยอะมากก็อาจจะถูกตีตกได้เช่นกันดังนั้นทุกสิ่งอย่างในการขับเคลื่อนด้านความปลอดภัยในองค์กรเราจึงจะต้องอาศัยนโยบายของบริษัทว่าองค์นั้นให้ความสำคัญมากน้อยเพียงเราเพื่อให้พนักงานทุกคนอันเป็นที่รักของเรานั้นได้กลับบ้านไปหาครอบครัวอย่างปลอดภัยและไม่มีอุบัติเหตุจากการทำงานเกิดขึ้นในองค์กรของเรา