การอบรมการทำงานบนที่สูง สามารถลดความเสี่ยงได้อย่างแน่นอน
เมื่อพูดถึงคำว่า ‘ที่สูง’ เชื่อสิ ไม่ใครก็ใครเป็นต้องมีอาการขาสั่นกันบ้าง บางคนอาจจะถึงกับแพนิคหรือเกิดอาการตระหนกและหวาดกลัวอย่างรุนแรงชนิดที่เห็นแล้วก็จะเกิดมีอาการสั่นสะท้านขึ้นมาทันทีทันใด นี่ก็เป็นเพราะที่สูง มันเป็นที่ที่ค่อนข้างอันตราย หากเกิดความพลาดพลั้งก็สามารถถึงแก่ชีวิตได้ คนทุกคนจึงรู้เป็นทุนอยู่แล้วว่า เมื่อใดก็ตามที่อยู่บนที่สูงจะต้องระมัดระวังมากๆ อย่าประมาทเลินเล่อหรือล้อเล่นกับที่สูงเด็ดขาด ขนาดเราๆ ท่านๆ ยังมีความรู้สึกกลัวและรู้ว่าจะต้องไม่ประมาท แล้วคนที่จะต้องทำงานบนที่สุงล่ะ เขาก็คงจะรู้สึกไม่ต่างกัน
การทำงานบนที่สูงที่กล่าวถึง หมายถึง การทำงานในพื้นที่ต่างระดับที่มีความสูงจากพื้นดิน หรือพื้นอาคารตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไป ซึ่งการทำงานในพื้นที่เช่นนี้จะต้องมีความปลอดภัยขั้นสูง เพราะเป็นงานที่เสี่ยงอันตราย อุบัติเหตุที่มักจะเกิด ได้แก่ ลื่น สะดุด ตกบันได พลัดตกจากที่สูง วัตถุตกลงมากระทบ ความเสี่ยงนี้จะพบได้ในงานอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ งานก่อสร้าง งานติดตั้งนั่งร้าน งานติดตั้งและซ่อมบำรุง งานโรยตัวทำความสะอาดเช็ดกระจกบนตึกสูง เป็นต้น
จะเห็นแล้วว่า การทำงานบนที่สูงมีความเสี่ยงต่อชีวิตไม่น้อย ดังนั้น ถ้าจะต้องทำงานในพื้นที่เสี่ยงแบบนั้น ก็ควรจะเข้ารับการอบรมการทำงานบนที่สูง ซึ่งในการอบรมจะให้ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน ดังนี้ การทำงานบนที่สูงเกิน 2 เมตรขึ้นไปจะต้องมีการป้องกันการตกหล่นและมีการติดตั้งนั่งร้าน, การทำงานบนที่สูงเกิน 4 เมตรขึ้นไป ผู้ปฏิบัติงานจะต้องสวมใส่เข็มขัดนิรภัยหรือสายช่วยชีวิต แล้วต้องมีตาข่ายนิรภัยรองเบื้องล่างและมีราวกันตก, ช่องเปิดหรือปล่องต่างๆ ควรต้องมีฝาปิดหรือรั้วกั้นความสูงไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร, การทำงานบนที่ลาดชันเกิน 15 องศา จะต้องมีการติดตั้งนั่งร้าน, อุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้บนที่สูงจะต้องมีการผูกยึดไม่ให้ตกลงมาด้านล่าง, การใช้บันไดแบบเคลื่อนย้ายได้ มุมบันไดที่อยู่ตรงข้ามกับผนังที่พิงจะต้องวางทำมุม 75 องศา, การใช้ปั้นจั่นหรือเครนจะต้องมีแผ่นเหล็กรองขาช้าง เพื่อป้องกันการวางไม่ได้ระนาบหรืออ่อนตัว โดยคนขับและผู้ให้สัญญาณปั้นจั่นหรือเครนจะต้องผ่านการอบรมและปั้นจั่นหรือเครนจะต้องผ่านการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่บำรุงรักษาที่เกี่ยวข้อง ก่อนจะนำไปใช้งานในเขตหวงห้ามทุกครั้ง
นอกนี้ก็ยังมีข้อกำหนดหรือกฏในการทำงานบนที่สูงที่ผู้เข้าอบรมจำเป็นต้องรู้ ซึ่งได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายและมีคุณสมบัติในการทำงานบนที่สูง, ผู้ปฏิบัติงานจะต้องสวมใส่เครื่องแต่งกายรัดกุมและเรียบร้อย, ผู้ปฏิบัติงานจะต้องเลือกจุดยึดที่แข็งแรงสามารถรองรับแรงกระแทกเมื่อเกิดการตกได้, ผู้ปฏิบัติงานจะต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลเสมอ ไม่ว่าจะถุงมือที่ปราศจากน้ำมัน รองเท้านิรภัย เข็มขัดนิรภัยชนิดเต็มตัวและสายช่วยชีวิต แล้วเตรียมแผนการช่วยเหลือพร้อมอุปกรณ์ช่วยเหลือด้วยเสมอ ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ปฏิบัติงานควรจะตรวจสอบสถานที่ทำงานเรื่องอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากการตกจากที่สูง ซึ่งเป็นอุปกรณ์ติดตั้งถาวรและเรื่องการกำหนดระยะเวลาการทำงานบนที่สูงที่แน่นอนกับเรื่องการตรวจสอบความพร้อมใช้งานของพื้นที่ทำงานบนที่สูงเกี่ยวกับอุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่ควรจะตรวจสอบเป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน
อีกสิ่งหนึ่งที่ผู้เข้าอบรมจะต้องรู้และควรประเมินตนเอง นั่นก็คือ ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องโรคที่ไม่สามารถปฏิบัติงานบนที่สูง ซึ่งเป็นข้อมูลอย่างเป็นทางการอันได้แก่ โรคลมชักหรืออาการชัก โรควูบหมดสติชั่วคราว ภาวะใจสั่นหวิว โรคการเคลื่อนไหวผิดปกติหรือสูญเสียการทรงตัวที่ยังควบคุมอาการไม่ได้ ข้อมูลเหล่านี้สำคัญมาก เพราะมันข้องเกี่ยวโดยตรงกับความปลอดภัยในการทำงาน หากมีอาการหรือเป็นโรคดังกล่าวก็ไม่สมควรจะทำงานด้านนี้ แต่ถ้าไม่มีอาการและไม่เป็นโรคนั้นๆ ก็สามารถทำงานได้
ความรู้ต่างๆ ที่ได้กล่าวข้างต้นขอให้เชื่อได้เลยว่าจะได้รับข้อมูลความรู้นั้นในการอบรมและหลังจากอบรมแล้ว การทำงานบนที่สูงก็มีอัตราของความเสี่ยงลดลงแบบ 100% ขอเพียงแค่ผู้เข้าอบรมนำไปปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอเท่านั้นเอง