การอบรมการทำงานบนที่สูงก็เพื่อป้องกันอันตรายและเรียนรู้วิธีแก้ไขปัญหา

อบรมการทำงานบนที่สูงเพื่อ ช่วยในการป้องกันอันตรายและแก้ไขปัญหาในการทำงาน

มนุษย์เป็นสัตว์โลกที่พิเศษ เนื่องจากสามารถแก้ปัญหาได้นานาประการ ต่อให้เจออันตรายหรือปัญหามากมาย มนุษย์ก็สามารถจะแก้ไขได้ ที่พูดแบบนี้ก็เพราะจะบอกว่า เมื่อใดก็ตามที่พบกับปัญหา จงค้นคว้าหาหนทางแก้ให้ได้ ทุกปัญหามีทางออกเสมอ ปัญหาเกี่ยวกับการทำงานก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่หลายๆ คนพบเจอไม่น้อย บางคนปวดหัวบ่อยๆ แทบจะทุกวี่ทุกวัน แต่สำหรับคนที่ทำงานบนที่สูงจะต้องเรียกว่าแค่ก้าวเข้ายังพื้นที่ทำงานปัญหาก็ติดตามเป็นเงาตามตัวแล้วแถมยังมีอันตรายปะปนอีกด้วย แล้วปัญหาที่ได้พบเจอจะบรรเทา ถ้าคนทำงานบนที่สูงเข้ารับการอบรม เพราะในการอบรมจะสอนเรื่องการป้องกันอันตรายและให้เรียนรู้ถึงวิธีแก้ไขปัญหาตต่างๆ

ยกตัวอย่างตามนี้ เช่น ก่อนจะขึ้นทำงานควรเตรียมความพร้อมด้วย หมวกนิรภัย สายรัดคาง แว่นตานิรภัย สายรัดเต็มตัว แต่งกายให้รัดกุม ถุงมือ ถุงใส่อุปกรณ์ เชือกผูกรัดเครื่องมือ รองเท้านิรภัย จากนั้นก็ต้องตรวจสอบอุปกรณ์ป้องกันการตก อาทิ ตรวจเช็กการแตกร้าว ความเสนียหายจากการไหม้ การบิดเบี้ยวผิดรูป การเปื่อยหรือฉีกขาด การถูกตัดหรือเฉือน แล้วก็จะเป็นข้อห้ามเกี่ยวกับระบบป้องกันการตกส่วนบุคคล ซึ่งจะห้ามผู้ยึดกับสิ่งเหล่านี้ คือ เสาค้ำยันแนวทแยงมุม เสาค้ำยันแนวดิ่ง ท่อสาธารณูปโภค (ลม น้ำ แก๊ส) ระบบป้องกันอัคคีภัย วาล์วทุกชนิดและโครงสร้างที่ไม่แข็งแรง เป็นต้น

ต่อไปจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการลดอันตรายจากการทำงานบนพื้นผิวอาคารสูง ซึ่งจะสามารถลดอันตรายได้จาก การจัดทำแผนการดำเนินงานและอบรมความปลอดภัยเฉพาะงาน, การตรวจสอบและทดสอบอาคาร จุดยึดและอุปกรณ์, การกำหนดกฏและข้อบังคับความปลอดภัยในการทำงานและให้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด, ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีสภาพร่างกายแข็งแรงพร้อมสำหรับการทำงานบนที่สูง นอกจากนี้ก็จะเพิ่มเติมและย้ำแผนการป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานบนพื้นผิวอาคารสูง โดยเริ่มที่

ข้อแรก การกำจัดอันตรายจากการทำงานบนที่สูง ซึ่งเป็นข้อที่สำคัญที่สุด คือ ปรับปรุงด้านวิศวกรรม เพื่อย้ายงานจากที่สูงลงมาทำด้านล่างและออกแบบวิธีการทำงานให้สามารถทำงานด้านล่างได้

ข้อที่สอง การควบคุมอันตรายเชิงรับ เช่น ให้ติดตั้งอุปกรณ์ปิดคลุมจุดที่อันตราย ให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทำงานบนที่สูง และจัดทำแผนช่วยเหลือกรณีเกิดอุบัติเหตุตกจากที่สูง

ข้อที่สาม การควบคุมอันตรายเชิงป้องกัน ได้แก่ จัดเตรียมอุปกรณ์ยับยั้งการตกให้ผู้ปฏิบัติงานสวมใส่ และจัดทำแผนช่วยเหลือฉุกฉินพร้อมซ้อมการช่วยชีวิตตามมาตรฐานสากล

ข้อที่สี่ ควบคุมดูแลพื้นที่ ที่มีการทำงานบนที่สูง อย่างเช่น สร้างวัฒนธรรมองค์กรให้ตระหนักถึงอันตรายจากการทำงานบนที่สูง กำหนดขอบเขตของการทำงานบนที่สูงให้ชัดเจน และตรวจสอบกับควบคุมการทำงานบนที่สูงอย่างใกล้ชิด

ข้อที่สุดท้าย การยับยั้งการตกจากที่สูง โดยการใช้อุปกรณ์ป้องกันการตกต่างๆ และหัวหน้างานควรจะตรวจสอบการปฏิบัติงานเป็นระยะ

ยิ่งไปกว่านั้น การคำนวณระยะตก ก็ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากการเลือกอุปกรณ์กันตกจะมีปัจจัยเหล่านี้เกี่ยวข้องด้วย ดังนี้ ความยาวของเชือกช่วยชีวิตที่จะใช้, ระยะที่อุปกรณ์ดูดซับแรงยืดออก, ความสูงของผู้ปฏิบัติงาน และ Safety Factor ระยะ 3 ฟุต (1 เมตร) ในการคำนวนก็จะใช้ ความยาวของเชือกช่วยชีวิต บวก ระยะที่อุปกรณ์ดูซับแรงยืดออก บวก ความสูงของผู้ปฏิบัติงาน บวก Safety Factor คำตอบที่ได้จะเป็นตัวเลขความสูงที่สามารถใช้กับอุปกรณ์กันตกนี้ได้

เท่าที่นำมาบอกกล่าวนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของข้อมูลที่อยากจะให้มองเห็นถึงความสำคัญของการอบรมการทำงานบนที่สูง ซึ่งเหตุผลก็เพื่อป้องกันอันตรายและเรียนรู้วิธีแก้ไขปัญหา เพราะหากไม่ได้เข้ารับการอบรมอาจจะรู้ไม่ละเอียดเท่าที่ควรแถมอาจจะเจอกับปัญหาเฉพาะหน้าที่ไม่เคยเจอมาก่อนก็ได้ แต่ในการอบรมวิทยากรจะเป็นผู้ที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมามาก ฉะนั้น ปัญหาต่างๆ ก็ต้องผ่านมานักต่อนักแล้ว เราอาจจะไม่ตกใจเลย เมื่อเจอกับปัญหาหรืออันตรายที่เพิ่งจะเคยเจอจริงๆ ทว่า ถ้าเคยผ่านการอบรมมาแล้วก็เท่ากับมีประสบการณ์ภาคทฤษฎีมาแล้ว พอพบเจอของจริงอาจจะมีสะดุดเล็กน้อย แล้วพอตั้งสติได้ก็จะสามารถแก้ไขปัญหานั้นๆ ได้แน่นอน นี่ไม่ได้โม้นะ มันเป็นแบบนี้จริงๆ มีหลายต่อหลายรุ่นที่ได้เข้าอบรมก็มักจะเป็นกันแบบนี้ แต่ทุกคนก็ผ่านมันไปได้  คอนเฟิร์มจ้ะ

บทความและหลักสูตรที่น่าสนใจ