บทบาทหน้าที่ของ จป หัวหน้างาน จป บริหาร
จป.หัวหน้างาน หรือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับหัวหน้างาน
หมายถึง ลูกจ้างระดับหัวหน้างาน ซึ่งนายจ้างแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการตามกฎหมายโดยนายจ้างจะต้องส่งหัวหน้างานในองค์กรได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานสำหรับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยฯระดับหัวหน้างาน
จป. หัวหน้างานจะต้องผ่านการ อบรม จป หัวหน้างาน ตามที่กฎหมายกำหนด 2 วัน และ เมื่อผ่านการอบรมแล้วจะต้องทำการขึ้นทะเบียนในระบบราชการกับกรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน
บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในระดับหัวหน้างาน
- กำกับดูแลลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบให้ปฏิบัติตามคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
- วิเคราะห์งานในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อค้นหาความเสี่ยงหรืออันตรายเบื้องต้น จากการทำงานโดยอาจร่วมดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูงหรือระดับวิชาชีพ
- จัดทำคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยร่วมดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูงหรือระดับวิชาชีพ เพื่อเสนอคณะกรรมการความปลอดภัยหรือนายจ้าง แล้วแต่กรณีและทบทวนคู่มือดังกล่าวตามที่นายจ้างกำหนด โดยนายจ้างต้องกำหนดให้มีการทบทวนอย่างน้อยทุกหกเดือน
- สอนวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องแก่ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน
- ตรวจสอบสภาพการทำงานของเครื่องจักรเครื่องมือและอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยก่อนลงมือปฏิบัติงานประจำวัน
- กำกับดูแลการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลของลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
- รายงานการประสบอันตราย การเจ็บป่วยหรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจาก การทำงานของลูกจ้างต่อนายจ้างและแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูงหรือระดับวิชาชีพ สำหรับสถานประกอบกิจการที่มีหน่วยงานความปลอดภัยให้แจ้งต่อหน่วยงานความปลอดภัยทันทีที่เกิดเหตุ
- ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วยหรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญ อันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างร่วมกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูงหรือระดับวิชาชีพและรายงานผลการตรวจสอบ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อนายจ้าง เพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
- ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมความปลอดภัยในการทำงาน
- ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างหรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารมอบหมาย
แผนการทำงานของ จป.หัวหน้างาน ประจำวัน
โดยส่วนใหญ่ จป.หัวหน้างานจะถูกมอบหมายให้ดูแลลูกน้องใต้บังคับบัญชากำกับการทำงานของลูกน้องให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย จป.หัวหน้างานจะต้องคอยตรวจสอบและค้นหาอันตรายต่างๆในหน่วยงานของตนเองอยู่เสมอรวมไปถึงการวิเคราะห์ความเสี่ยงอันตรายประเมินความเสี่ยงในการทำงานทุกกิจกรรมที่อยู่ในหน้าที่รับผิดชอบของตนเองเครื่องใช้เครื่องมือประเมินความเสี่ยงเช่น JSA Job Safety Analysis เพื่อหามาตรการป้องกันอันตรายและความเสี่ยงดังกล่าว
กิจการประเภทใดที่ต้องมี จป.หัวหน้างาน จป.บริหาร ?
บัญชี 1
- อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการทำเหมืองตามกฎหมายว่าด้วยแร่
- อุตสาหกรรมเกี่ยวกับกิจการปิโตรเลียมตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม
- อุตสาหกรรมเกี่ยวกับปิโตรเคมี
- อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม
- อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการแยกก๊าซธรรมชาติ
บัญชี 2
- อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์
- อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร
- อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม
- อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากยาสูบ
- อุตสาหกรรมสิ่งทอ
- อุตสาหกรรมเสื้อผ้าหรือเครื่องแต่งกาย
- อุตสาหกรรมเครื่องหนัง
- อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากไม้
- อุตสาหกรรมกระดาษหรือผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากกระดาษ
- อุตสาหกรรมการผลิตสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์
- อุตสาหกรรมเภสัชภัณฑ์หรือเวชภัณฑ์ทางการแพทย์
- อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง
- อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก
- อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแร่อโลหะ
- อุตสาหกรรมโลหะหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโลหะ
- อุตสาหกรรมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
- อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
- อุตสาหกรรมเครื่องจักรหรือเครื่องมือกล
- อุตสาหกรรมยานพาหนะ ชิ้นส่วนยานพาหนะ หรืออุปกรณ์เสริมสำหรับยานพาหนะ
- อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์
- อุตสาหกรรมเครื่องประดับ
- อุตสาหกรรมเครื่องดนตรี
- อุตสาหกรรมอุปกรณ์กีฬาออกกำลังกาย
- อุตสาหกรรมของเล่น
- อุตสาหกรรมเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์
- อุตสาหกรรมการผลิต การจัดส่ง หรือการจ่ายไฟฟ้า
- อุตสาหกรรมการผลิตหรือการบรรจุก๊าซ
- อุตสาหกรรมการผลิตถ่านโค้ก
- อุตสาหกรรมการผลิต การเก็บ หรือการจำหน่ายไอน้ำ
- อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์หรือการเพาะปลูก
- สถานีบริการตามกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
- คลังน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง
- การให้บริการบำบัดน้ำเสียหรือกำจัดของเสียตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
- อุตสาหกรรมการนำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่
- อุตสาหกรรมการแต่งแร่ การขุดแร่รายย่อย หรือการร่อนแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่
- การก่อสร้าง การดัดแปลง การซ่อมแซม หรือการรื้อถอนอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
- อุตสาหกรรมการขนส่ง
- การบริการการเดินอากาศตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ
- กิจการคลังสินค้า กิจการไซโล หรือกิจการห้องเย็นตามกฎหมายว่าด้วยคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น
- กิจการโทรคมนาคมตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
- การติดตั้ง การซ่อม หรือการซ่อมบำรุงเครื่องจักร
- โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
- กิจการนิติบุคคลอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
- ห้างสรรพสินค้า ธุรกิจค้าปลีก หรือธุรกิจค้าส่ง
- ศูนย์การจัดประชุมและการแสดงสินค้า
- โรงพยาบาล
- การทดสอบและวิเคราะห์การปฏิบัติการทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ หรือวิศวกรรม
- การขายและการบำรุงรักษายานยนต์หรือการซ่อมยานยนต์
- สวนสัตว์หรือสวนสนุก
บัญชี 3
- ธุรกิจสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
- ธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
- สหกรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์
- การประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิตหรือการประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย
- โรงรับจำนำตามกฎหมายว่าด้วยโรงรับจำนำ
- โรงถ่ายทำภาพยนต์หรือละคร
- สวนพฤกษศาสตร์
- สนามกีฬาหรือการนันทนาการ
- สถานที่มีอาหาร สุรา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย โดยจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง
- สำนักงานบริหารของสถานประกอบกิจการตามบัญชี 1 และบัญชี 2
บทบาทหน้าที่ของ จป บริหาร มีอะไรบ้าง
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับบริหารมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
- กำกับดูแลเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานทุกระดับซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาของตน
- เสนอแผนงานหรือโครงการด้านความปลอดภัยในการทำงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อนายจ้าง
- ส่งเสริม สนับสนุนและติดตามการดำเนินงานเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน ให้เป็นไปตามแผนงานหรือโครงการเพื่อให้มีการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานที่เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการ
- กำกับดูแลและติดตามให้มีการแก้ไขข้อบกพร่องเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้างตามที่ได้รับรายงานหรือตามข้อเสนอแนะของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน คณะกรรมการความปลอดภัยหรือหน่วยงานความปลอดภัย
สรุป:
จป บริหาร นั้นมีหน้าที่ที่จะคอยช่วยผลักดันให้การทำงานด้านความปลอดภัยในองค์กรนั้นมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นคอยให้การสนับสนุนลูกน้องในทุกๆด้านที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงาน เช่นกิจกรรมความปลอดภัย หรือการปรับปรุงแก้ไขต่างๆที่เป็นอันตราย การอนุมัติงบประมาณเพื่อให้ทีมงานได้แก้ไขปัญหาหรือปรับปรุงด้านวิศวกรรมหรือการฝึกอบรมความปลอดภัยต่างๆเป็นต้น
บริการแนะนำเผื่อคุณสนใจ
ดูหลักสูตรทั้งหมด
อบรมความปลอดภัยฯ มากกว่า 100+ หลักสูตร
สินค้า PPE
อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
ตรวจรับรองวิศวกรรม
ตรวจวิศวกรรมโรงงานโดยวิศวกรมืออาชีพ