รายละเอียด : หลักสูตร จป เทคนิค Safety Officer Technical level

index-pic-demo-post

กฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 ข้อ 43 ระบุให้นายจ้างหรือผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรมต้องดำเนินการฝึกอบรม เพื่อให้ลูกจ้างมีคุณสมบัติเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานใน ระดับเทคนิค

โดยหลักสูตรการฝึกอบรม คุณสมบัติของวิทยากร และการดำเนินการฝึกอบรมของนายจ้างหรือผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรมต้องเป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนด

คุณสมบัติผู้เข้าฝึกอบรม

ระยะเวลาฝึกอบรม

กำหนดการฝึกอบรม

เวลา
รายละเอียด
วันที่ 1
08.00 – 08.30
ลงทะเบียน
08.30 – 09.00
แนะนำหลักสูตร / ทดสอบก่อนการอบรม
09.00 – 12.00
หมวดวิชาที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานและบทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับเทคนิค (3 ชั่วโมง)
– ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานบทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค
– หลักการบริหารจัดการความปลอดภัยในการทำงาน
12.00 – 13.00
พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 16.30
หมวดวิชาที่ 2 กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (3 ชั่วโมง) สาระสำคัญของกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(ก) การบริหารกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของกระทรวงแรงงาน
(ข) สาระสำคัญของกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานและการนำกฎหมายไปสู่การปฏิบัติ
วันที่ 2
08.30 – 09.00
ลงทะเบียน
09.00 – 12.00
หมวดวิชาที่ 3 การประเมินอันตรายจากการทำงาน (6 ชั่วโมง)
(ก) เทคนิคการชี้บ่งอันตราย
(ข) การประเมินความเสี่ยง
12.00 – 13.00
พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 16.30
หมวดวิชาที่ 3 (ต่อ)
(ก) การประเมินความเสี่ยง (ต่อ)
(ข) การจัดทำแผนการดำเนินงานเพื่อลดความเสี่ยงและควบคุมอันตราย
16.30 – 16.45
ทดสอบหลังการอบรม / มอบวุฒิบัตร
วันที่ 3
08.30 – 09.00
ลงทะเบียน
09.00 – 12.00
หมวดวิชาที่ 4 การตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วยจากการทำงาน และการปรับปรุงสภาพการทำงาน (6 ชั่วโมง)
(ก) การตรวจความปลอดภัย
(ค) การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย
(ง) การจัดทำคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงาน
12.00 – 13.00
พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 16.30
หมวดวิชาที่ 4 (ต่อ)
(จ) การสอบสวน การวิเคราะห์ การรายงานอุบัติเหตุ และการเจ็บป่วยจากการทำงาน
(ฉ) การปรับปรุงสภาพการทำงาน
วันที่ 4
08.30 – 09.00
ลงทะเบียน
09.00 – 12.00
หมวดวิชาที่ 5 การป้องกันและการควบคุมอันตราย (3 ชั่วโมง)
(ก) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากเครื่องจักร
(ข) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากไฟฟ้า
(ค) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บวัสดุ
(ง) การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ
(จ) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(ช) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสารเคมี
(ซ) การป้องกันและควบคุมปัญหาด้านการยศาสตร์
(ฌ) การป้องกันและควบคุมอันตรายในงานก่อสร้าง
(ญ) อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล (PPE)
12.00 – 13.00
พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 16.30
หมวดวิชาที่ 6 การฝึกปฏิบัติ (9 ชั่วโมง)
(ก) การฝึกปฏิบัติการตรวจความปลอดภัยตามข้อกำหนดกฎหมาย
(ข) การฝึกปฏิบัติการชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยง และการจัดทำแผนการดำเนินงานเพื่อลดความเสี่ยงและควบคุมอันตราย
วันที่ 5
08.30 – 09.00
ลงทะเบียน
09.00 – 12.00
หมวดวิชาที่ 6 การฝึกปฏิบัติ (ต่อ)
(ก) การตรวจความปลอดภัย
(ค) การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย
(ง) การจัดทำคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงาน
12.00 – 13.00
พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 16.30
หมวดวิชาที่ 6 (ต่อ)
(จ) การสอบสวน การวิเคราะห์ การรายงานอุบัติเหตุ และการเจ็บป่วยจากการทำงาน
(ฉ) การปรับปรุงสภาพการทำงาน
(ช) การรวบรวมสถิติ การจัดทำรายงานด้านความปลอดภัยในการทำงานและเสนอแนะต่อนายจ้าง
16.30 – 16.45
ทดสอบหลังการอบรม /มอบวุฒิบัตร

* หมายเหตุ : พักเบรก 10.30 – 10.45 น. และ 14.30 – 14.45 น.