หลักการและเหตุผล
ใน ปี 2559 มีลูกจ้างประสบอันตรายจากการทำงาน จำนวน 90,990 ราย ซึ่งการประสบอันตรายนั้นมีสาเหตุจากยานพาหนะเป็นจำนวน 3,173 ครั้ง ถือเป็น 1 ใน 10 ของสาเหตุหลักที่ทำให้ลูกจ้างประสบอันตราย (สำนักงานกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงานม, 2559) และจากสถิติการประสบอันตรายข้างต้นพบว่าปัจจัยที่อาจทำให้เกิดอันตรายจากการใช้งานรถยกนั้น ได้แก่
1. การปรับงานที่สูงเกินมาตรฐาน และวางชิ้นงานไม่สมดุล
2. พื้นทางเดินรถขรุขระ มีสิ่งของวางกีดขวาง
3. หมุนและขับรถด้วยความเร็ว โดยเฉพาะในพื้นที่คับแคบ
4. ขับรถโดยชิ้นงานบดบังวิสัยทัศน์ในการขับขี่ เช่น ชิ้นงานสูง หรือการขับขี่ในทางลาดชัน
5. การฝ่าฝืนกฎระเบียบโดยใช้รถยกเป็นรถโดยสาร
6. การใช้งานรถยกผิดประเภท เช่น ใช้แทนนั่งร้านหรือบันไดในการขึ้นที่สูง
7. ไม่ปฏิบัติตามกฎความปลอดภัย ฯ
เพื่อเป็นการป้องกันและลดการประสบอันตรายที่จะเกิดกับลูกจ้างและผู้ที่ปฏิบัติงาน ภาครัฐจึงได้ออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องสำหรับให้ผู้ที่ใช้งานรถยก ได้ปฏิบัติตาม ดังนี้ กฎกระทรวง กําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ํา พ.ศ. ๒๕๕๒ มีสาระสำคัญคือ “รถยก” หมายความว่า รถที่ติดตั้ง อุปกรณ์ใช้สําหรับการยกหรือเคลื่อนย้ายสิ่งของ และส่วนท่ี ๔ ข้อ ๓๖ นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างท่ีผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรท่ีอธิบดีประกาศกําหนด ทําหน้าที่เป็นผู้ขับรถยก
ดังนั้นเพื่อปฏิบัติให้สอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนด และลดการประสบอันตรายภายในองค์กร การจัดอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจและสร้างทักษะการปฏิบัติงาน การขับขี่รถยกอย่างปลอดภัย และการบำรุงรักษา ให้กับพนักงานและผู้ที่เกี่ยวข้องจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับทุกหน่วยงานที่มีการนำรถยกเข้ามาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการยกเคลื่อนย้ายสิ่งของ
วัตถุประสงค์
1) เพื่อเพิ่มทักษะและสร้างความมั่นใจให้กับผู้เข้าร่วมอบรมในการสอนงานด้านความปลอดภัย
2) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถ
3) เพื่อให้ผู้ที่เข้าอบรม
4) เพื่อให้องค์กร
5) เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่จะเกิดจากการใช้รถยก
คุณสมบัติผู้เข้าอบรม
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานอย่างน้อย 1 ปี
จำนวนผู้เข้าอบรม/รุ่น จำนวน 1-10 ท่าน/รุ่น
วิธีการฝึกอบรม บรรยาย / กรณีศึกษา / ฝึกปฏิบัติ
วิธีการประเมินผลและเกณฑ์การวัดผล
- ระยะเวลาเข้ารับการฝึกอบรม 100% จำนวน 12 ชั่วโมง
- มีแบบทดสอบก่อน และหลังการฝึกอบรม
- ทดสอบภาคปฏิบัติหลังฝึกอบรม
สิ่งที่จะได้รับหลังการอบรม วุฒิบัตรผ่านการอบรม
กำหนดการฝึกอบรม หลักสูตร ผู้สอนด้านความปลอดภัยฯตาม พรบ.ความปลอดภัย 2554
เวลา | รายละเอียด |
---|---|
วันที่ 1 | |
08.30-09.00 น. | ลงทะเบียน
ทำแบบทดสอบก่อนการฝึกอบรม |
09.00-10.30 น. | ภาคทฤษฎี 1) การนำเสนอหัวข้อหลัก ด้าน “ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน” ให้เข้าใจง่าย |
10.30-10.45 น. | พักเบรค |
10.45-12.00 น. | 2) การนำเสนอหัวข้อหลัก ด้าน “ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน” ให้เข้าใจง่าย (ต่อ) |
12.00-13.00 น. | พักรับประทานอาหาร |
13.00-14.30 น. | 3) เทคนิคการสอนและนำเสนอให้เนื้อหาเกิดความต่อเนื่อง 4) เทคนิคการนำสื่อประกอบการบรรยายให้เกิดความน่าสนใจ |
14.30-14.45 น. | พักเบรค |
14.45-16.00 น. | 5) การวางแผนการสอนอย่างมืออาชีพ / จับกลุ่ม Work Shop |
วันที่ 2 | |
08.30-09.00 น. | ลงทะเบียน |
09.00-10.30 น. | ภาคทฤษฎี
6) เทคนิคการสอนโดยใช้อุปกรณ์จริงประกอบการบรรยาย |
10.30-10.45 น. | พักเบรค |
10.45-12.00 น. | 7) ฝึกบรรยายจริงตามหัวข้อของแต่ละบุคคล (สอบ) |
12.00-13.00 น. | พักรับประทานอาหาร |
13.00-16.00 น. | 7) ฝึกบรรยายจริงตามหัวข้อของแต่ละบุคคล (สอบ) -ต่อ- ตอบข้อซักถาม |
บทความและหลักสูตรที่น่าสนใจ
- หลักสูตร การขับขี่รถยกอย่างปลอดภัย และการบำรุงรักษา
- หลักสูตร การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยด้วยเครื่องมือ JSA
- หลักสูตร การขับขี่รถยกอย่างปลอดภัย และการบำรุงรักษา 12 ชั่วโมง
- หลักสูตร การฝึกอบรมผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุของปั้นจั่น และผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่นชนิดปั้นจั่นหอสูง รถ เรือปั้นจั่น
- หลักสูตร ความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับไฟฟ้าสําหรับลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้า
- หลักสูตร ทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น หลักสูตร 1 วัน
- หลักสูตร ทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น หลักสูตร 3 ชั่วโมง
- หลักสูตร การฝึกอบรมผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ