หลักสูตร การทำงานบนที่สูง เสาส่งสัญญาณ Tower Climber

Course for working at heights, transmission towers

หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยได้มีการพัฒนาและปรับเปลี่ยนระบบสัญญาณโทรศัพย์จากระบบแอนะล็อกไปสู่สัญญาณดิจิทัลนับจากปี 2529 จนถึงปัจจุบัน ผลจากการปรับเปลี่ยนและพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่งนั้น ส่งผลให้เกิดโครงการขยายเสาส่งสัญญาณเป็นจำนวนมากไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ในกลุ่มธุรกิจผู้ให้บริการ ซึ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ ส่งผลให้เกิดการจ้างแรงงานผู้รับเหมาเข้าไปปฏิบัติงาน ในด้านต่างๆอันได้แก่ การปรับปรุงสภาพพื้นที่, การก่อสร้าง และการติดตั้งอุปกรณ์บนเสาสัญญาญที่มีความสูงมาก เป็นต้น จะเห็นได้ว่าการปฏิบัติงานของผู้รับเหมานั้นเป็นการปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยงและมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะงานติดตั้งหรือแก้ไขอุปกรณ์บนเสาส่งสัญญาณ ผู้ปฏิบัติงานมีโอกาสพลัดตกจากที่สูงเสียชีวิตได้ ทั้งนี้เนื่องมาจากผู้ปฏิบัติงานมีเวลาจำกัดสำหรับดำเนินการด้านอุปกรณ์ รวมไปถึงสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะภูมิภาค

สอดคล้องกับ สถิติสาเหตุของการประสบอันตรายของพนักงานในปี 2558 พบว่าพนักงานเกิดอุบัติเหตุจาก วัสดุหรือสิ่งของตัด/ทิ่มแทง  จำนวน  22,329 คน, วัสดุหรือสิ่งของพังทลาย จำนวน 15,669 คน, วัสดุหรือสิ่งของกระแทก จำนวน 13,354 คน, วัตถุสิ่งของหรือสารเคมีกระเด็น จำนวน 12,357, วัตถุหรือสิ่งของหนีบ จำนวน 7,329 คน, ตกจากที่สูง จำนวน 6,080 คน และ หกล้มลื่นล้ม จำนวน 5,129 คน ตามลำดับ (กองทุนเงินทดแทนสํานักงานประกันสังคมกระทรวงแรงงาน, 2558) จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุดังที่กล่าวข้างต้นนี้ พบว่า อันตรายที่เกิดจากการตกจากที่สูง เป็น 1 ใน 6 ของลักษณะอันตรายที่จำเป็นต้องให้ความสำคัญในการพิจารณาบริหารจัดการเพื่อลดความสูญเสีย ซึ่งการบริหารจัดการดังกล่าวสามารถพิจารณาแนวทางการดำเนินการได้จาก มาตรฐานสากลต่างๆ เช่น Occupational Safety and Health Administration  (OSHA ), American National Standards Institute (ANSI) และ กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชันจากวัสดุกระเด็น ตกหล่น และพังทลาย และจากการตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ พ.ศ. 2564 เป็นต้น

ดังนั้นงานติดตั้งอุปกรณ์ หรืองานซ่อมบำรุงอุปกรณ์บนเสาส่งสัญญาณ ถือเป็นหนึ่งในการทำงานบนที่สูงที่มีความเสี่ยงและต้องใช้ลักษณะการปฏิบัติงานเฉพาะด้านในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องปลอดภัยตามมาตรฐานสากลหรือตามที่กฎหมายกำหนด กิจการหรือสถานประกอบกิจการที่มีพนักงานทำงานบนที่สูงเสาส่งสัญญาณ ควรพิจารณาจัดให้มีการอบรมหลักสูตรการทำงานบนที่สูง เสาส่งสัญญาณ (Tower Climber) ดังกล่าวนี้

วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้และทักษะใน การทำงานบนที่สูงเสาส่งสัญญาณ

2) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้และเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองในการทำงานบนที่สูงเสาส่งสัญญาณ

3) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจวิธีการกู้ภัยคนตกจากที่สูงได้อย่างถูกต้อง

4) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถประยุกต์ใช้วิธีการขึ้นลงเสาส่งสัญญาณด้วยวิธีต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับลักษณะหน้างาน

5) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้และเข้าใจ วิธีการตรวจสอบ (Inspection) อุปกรณ์เกี่ยวกับการทำงานบนที่สูง และ อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลได้อย่างถูกวิธีตามหลักมาตรฐานสากล

คุณสมบัติผู้เข้าอบรม

– หัวหน้างาน, พนักงาน ที่ปฏิบติงานเกี่ยวข้องกับเสาส่งสัญญาณ หรือผู้ที่สนใจ 

– สุขภาพร่างกายแข็งแรงสามารถฝึกภาคปฏิบัติได้

จำนวนผู้เข้าอบรม/รุ่น จำนวน 1-30 ท่าน/รุ่น
วิธีการฝึกอบรม บรรยาย / กรณีศึกษา / ฝึกภาคปฏิบัติ

วิธีการประเมินผลและเกณฑ์การวัดผล
- ระยะเวลาเข้ารับการฝึกอบรม 100% จำนวน 8 ชั่วโมง
- แบบทดสอบก่อน และหลังการฝึกอบรม
- ทดสอบภาคปฏิบัติ

สิ่งที่จะได้รับหลังการอบรม วุฒิบัตรผ่านการอบรม

กำหนดการฝึกอบรม หลักสูตร การทำงานบนที่สูง เสาส่งสัญญาณ (Tower Climber)

เวลา
รายละเอียด
08.00-09.00 น.
ลงทะเบียน ทำแบบทดสอบก่อนการฝึกอบรม (Pre Test)
09.00-10.30 น.
ภาคทฤษฎี
มาตรฐานการทำงานบนที่สูงและข้อกฎหมาย
– คำจำกัดความการทำงานบนที่สูง
– อันตรายและสถิติอุบัติเหตุจากการทำงาน
– ข้อกำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง
– บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในการทำงานบนที่สูง
– อันตรายและสถิติอุบัติเหตุจากการทำงาน
– ระบบยับยั้งการตกจากที่สูงและการควบคุมความเสี่ยงการทำงานเสาส่งสัญญาณ
10.30-10.45 น.
พักเบรค
10.45-12.00 น.
เรียนเกี่ยวกับระบบป้องกันการตกและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
– การสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล (PPE)
– การป้องกันการตกและวัสดุร่วงหล่น (Prevention of Falling & Dropping)
– อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูงและเทคนิคการใช้งาน
– เทคนิคการขึ้นลงเสาส่งสัญญาณ
– เทคนิคการตรวจสอบและการเลือกใช้งานอุปกรณ์ และเทคนิคการทำงานด้วยวิธีต่างๆ เทคนิคการใช้อุปกรณ์การทำงานบนที่สูงเสาส่งสัญญาณ
ทำแบบทดสอบหลังฝึกอบรม (Post Test)
12.00-13.00 น.
พักรับประทานอาหาร
13.00-17.00 น.
ภาคปฏิบัติ
การฝึกภาคปฏิบัติตามหลักมาตรฐานสากล
– Personal Fall Protection Equipment for Work at Height (PFPE)
– Basic Knot
– Working at Height for Fall Protection System (FF=1)
– Positioning Working
– Fall Arrester System
– Lifeline System and Anchor
– Restraint Technique
– Emergency Rescue Plan

ค้นหาหลักสูตรอบรม

เราพร้อมช่วยเหลือคุณเสมอ

โทร 065 – 441 – 9324

support 3