หลักการและเหตุผล
สถิติการเกิดอุบัติเหตุในโรงงานอุตสาหกรรม ปี ๒๕๖๐ พบว่า มีโรงงานอุตสาหกรรมเกิดอุบัติเหตุ จำนวน ๑๔๕ ครั้ง แบ่งได้เป็นอุบัติเหตุที่เกิดจากอัคคีภัย จำนวน ๑๐๕ ครั้ง, การระเบิด จำนวน ๕ ครั้ง, สารเคมีรั่วไหล จำนวน ๑๕ ครั้ง, อุบัติเหตุเกี่ยวกับเครื่องจักร จำนวน ๑๔ ครั้งและ อื่นๆ จำนวน ๘ ครั้ง (กรมโรงงานอุตสาหกรรม โดยกองส่งเสริมเทคโนโลยีความปลอดภัยโรงงาน, ๒๕๖๐) จากสถิติดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการเกิดอัคคีภัยถือเป็นอันตรายลำดับต้นๆที่เกิดขึ้น ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากหลายสาเหตุ เช่นไฟฟ้าลัดวงจร, ประกายไฟจากงาน ตัด งานเชื่อม เป็นต้น ดังนั้นสถานประกอบกิจการที่มีความเสี่ยง จึงกำหนดกฎข้อบังคับด้านความปลอดภัยเรื่องการขออนุญาตทำงาน ที่มีประกายไฟ ในกิจกรรมงานต่างๆ เช่นงานตัด งานเชื่อม งานเจีย เป็นต้น เพื่อใช้เป็นอีกหนึ่งวิธีในการป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหนึ่งในหัวข้อที่สำคัญในการขออนุญาตเข้าปฏิบัติงานนั้นคือ พื้นที่ปฏิบัติงานดังกล่าวจะต้องมีผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการเฝ้าระวังไฟปฏิบัติงานตลอดเวลา จนกว่างานจะแล้วเสร็จ
และอีกหนึ่งตัวอย่างวิธีการบริหารจัดการป้องกันอันตรายจากอัคคีภัยคือ การปฏิบัติตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. ๒๕๕๑ ส่วนที่ ๒ การป้องกันอัคคีภัย
ข้อ ๒๕ ห้ามนายจ้างเก็บวัตถุไวไฟหรือวัตถุระเบิดไว้ในอาคารซึ่งอยู่ในระหว่างการก่อสร้างและที่พักอาศัยของลูกจ้างในเขตก่อสร้าง เว้นแต่เก็บไว้ในที่ซึ่งปลอดภัยเท่าที่จำเป็นแก่การใช้งานประจำวันเท่านั้น
ข้อ ๒๖ ให้นายจ้างดูแลมิให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในบริเวณที่มีการกักเก็บวัตถุไวไฟ หรือวัตถุระเบิด และจัดทำป้าย “อันตราย” “ห้ามสูบบุหรี่” “ห้ามทำให้เกิดประกายไฟ” หรือ “ห้ามพกพาอุปกรณ์สำหรับจุดไฟหรือติดไฟ” หรือป้ายซึ่งมีข้อความอื่นที่มีความหมายในทำนองเดียวกัน ตามสภาพหรือคุณสมบัติของวัตถุไวไฟหรือวัตถุระเบิดไว้ให้เห็นได้ชัดเจน ณ บริเวณนั้น
ดังนั้นเพื่อป้องกันอันตรายจากการเกิดอัคคีภัย หน่วยงานหรือสถานประกอบกิจการ ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับประกายไฟในพื้นที่เสี่ยง จึงจำเป็นต้องฝึกอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักให้กับพนักงาน ในเรื่องบทบาทหน้าที่และการจัดการกรณีเกิดอัคคีภัยในพื้นที่ปฏิบัติงาน รวมถึงการใช้งานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยที่ถูกต้องเหมาะสม
วัตถุประสงค์
1) เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความเข้าใจเกี่ยวบาทหน้าที่ในการเฝ้าระวังไฟ
2) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในระบบการขออนุญาตทำงานที่่ก่อให้เกิดความร้อนและประกายไฟ
3) เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถวางแผนตรวจสอบและเฝ้าระวังทั้งก่อน ขณะทำ และหลังเสร็จสิ้นการทำงานในพื้นที่ได้ ทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีเหตุเพลิงไหม้
4) เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถใช้อุปกรณ์ในการระงับเหตุได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน
คุณสมบัติผู้เข้าอบรม
หัวหน้างาน ผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับประกายไฟหรือสะเก็ดไฟ เช่น งานตัด, งานเชื่อม, งานเจีย หรือผู้ที่สนใจ
จำนวนผู้เข้าอบรม/รุ่น จำนวน 1-30 ท่าน/รุ่น
วิธีการฝึกอบรม บรรยาย / กรณีศึกษา / ฝึกภาคปฏิบัติ
วิธีการประเมินผลและเกณฑ์การวัดผล - ระยะเวลาเข้ารับการฝึกอบรม 100% จำนวน 6 ชั่วโมง - แบบทดสอบก่อน และหลังการฝึกอบรม
สิ่งที่จะได้รับหลังการอบรม วุฒิบัตรผ่านการอบรม
กำหนดการฝึกอบรม หลักสูตร ผู้เฝ้าระวังไฟ (Fire Watch Man)
เวลา | รายละเอียด |
---|---|
วันที่ 1 | |
08.30-09.00 น. | ลงทะเบียน ทำแบบทดสอบก่อนการฝึกอบรม |
09.00-10.30 น. | ภาคทฤษฎี (1) คุณสมบัติและหน้าที่ของผู้เฝ้าระวังไฟ (2) ความปลอดภัยในงานเชื่อม ตัด เจียร |
10.30-10.45 น. | พักเบรค |
10.45-12.00 น. | (2) ความปลอดภัยในงานเชื่อม ตัด เจียร (ต่อ) (3) การป้องกันอัคคีภัยจากงานประกายไฟ |
12.00-13.00 น. | พักรับประทานอาหาร |
13.00-14.30 น. | ภาคทฤษฎี (4) อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment,PPE) (5) ป้ายสัญลักษณ์ความปลอดภัย |
14.30-14.45 น. | พักเบรค |
14.45-16.00 น. | (6) ขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุกรณีฉุกเฉิน (7) ประเภท องค์ประกอบ การเกิดและการดับไฟ |
วันที่ 2 | |
08.30-09.00 น. | ลงทะเบียน |
09.00-10.30 น. | ภาคทฤษฎี (8) อุปกรณ์ดับเพลิงอื่นๆ และวิธีการใช้เครื่องดับเพลิง (9) ระบบใบอนุญาตทำงานประกายไฟ และใบอนุญาตอื่นๆ |
10.30-10.45 น. | พักเบรก |
10.45-12.00 น. | (10) การตรวจสอบอากาศในการทำงาน การตรวจสอบอุปกรณ์ เครื่องจักร และบริเวณการทำงาน |
12.00-13.00 น. | พักรับประทานอาหาร |
13.00-16.30 น. | (11) การฝึกภาคปฏิบัติการในการใช้เครื่องมือวัดแก๊ส การตรวจสอบอุปกรณ์ทำงาน การเฝ้าระวังประกายไฟ และการฝึกใช้ถังดับเพลิง ทำแบบทดสอบหลังเรียน |