บทความโดย: อาจารย์ จิตตรา ศรีสงกราน
ค่ามาตรฐาน ACGIH คืออะไร
ACGIH – Threshold Limit Values คือ ค่ามาตรฐานของสารเคมีในบรรยากาศการทำงานซึ่งกำหนดโดยองค์กร ACGIH โดยแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้
- TLV-TWA (Threshold Limit Value – Time-weighted Average) คือ ค่าเฉลี่ยระดับสารเคมีในบรรยากาศการทำงาน ที่คนทำงานในลักษณะปกติ คือทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน และ 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แทบทุกคนสามารถทำงานสัมผัสสารเคมีนั้นได้ซ้ำๆ ในทุกๆ วันตลอดช่วงอายุการทำงานโดยไม่เกิดผลเสียต่อสุขภาพ หากค่าเฉลี่ยระดับสารเคมีในบรรยากาศการทำงานไม่เกินค่ามาตรฐานที่กำหนดนี้
- TLV-STEL (Threshold Limit Value – Short – term Exposure Limit) คือ ค่าเฉลี่ยระดับสารเคมีในบรรยากาศการทำงานในช่วงเวลา 15 นาที ที่คนทำงานจะต้องสัมผัสไม่เกินระดับนี้เลย ตลอดช่วงวันของการทำงาน แม้ว่าค่าเฉลี่ยระดับสารเคมีในบรรยากาศการทำงานในเวลา 8 ชั่วโมง จะไม่เกินค่า TLV – TWA ก็ตาม ค่ามาตรฐาน TLV – STEL เป็นค่าระดับสารเคมีในบรรยากาศการทำงานที่เชื่อว่าคนทำงานสามารถทำงานสัมผัสได้ในระยะสั้น โดยไม่เกิดผลกระทบดังนี้
2. การทำลายเนื้อเยื่อที่มีผลอย่างเรื้อรังหรือถาวร (Chronic or irreversible tissue damage)
3. อาการพิษเฉียบพลัน (Dose – rate – dependent toxic effects)
4. อาการง่วงซึมที่มากเพียงพอจะเพิ่มโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุ (Narcosis of sufficient degree to increase the likelihood of accidental injury), ลดความสามารถในการช่วยเหลือตนเองเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน (Impaired self – rescue), หรือลดประสิทธิภาพการทำงานลงอย่างชัดเจน
- TLV – C (Threshold Limit Value – Ceiling) คือ ค่าเพดาน หมายความว่าคนทำงานจะต้องไม่สัมผัสสารเคมีสูงเกินระดับนี้เลยตลอดช่วงเวลาทำงาน
ACGIH TLVs เพียงแค่ค่าเดียวก็ทำเอามึนเหมือนกัน แต่ เราลองมาเพิ่ม อีกสัก 2 ค่า นั้นก็คือ ACGIH BEIs และ ACGIH Carcinogenicity งันเราไปต่อกันเลยคะ
ACGIH BEIs
ACGIH – Biological Exposure Indices คือ มาตรฐานตัวบ่งชี้ทางชีวภาพสำหรับประเมินการสัมผัสสารเคมีในคนทำงาน เป็นค่ามาตรฐานที่แนะนำโดยองค์กร ACGIH โดยค่ามาตรฐานนี้จะมีข้อกำหนดของตัวอย่างทางชีวภาพที่ใช้ส่งตรวจ คือ เลือด, ปัสสาวะ หรือลมหายใจออก ซึ่งต้องเก็บตัวอย่างทางชีวภาพจากคนทำงานให้ถูกชนิด รวมถึงมีข้อกำหนดในเรื่องเวลาเก็บตัวอย่างคือ
– หลังเลิกกะ
– หลังสัปดาห์การทำงาน
– ก่อนเข้ากะ
– ก่อนเข้ากะสุดท้ายของสัปดาห์การทำงาน
– ระหว่างกะ
– เพิ่มขึ้นระหว่างกะ
– เวลาใดก็ได้
– ขึ้นกับดุลยพินิจของผู้สั่งการตรวจ
ที่สำคัญ ไม่เพียงเพราะช่วงเวลาที่ถูกกำหนดว่าจะต้องเก็บตามช่วงแล้ว ค่ามาตรฐานบางตัวยังมีสัญลักษณ์พิเศษหนึ่งสัญลักษณ์หรือหลายสัญลักษณ์อีกด้วยเรามาดูกัน
- B หรือ Background หมายถึง พบในคนทั่วไป
- Ns หรือ Nonspecific หมายถึง ไม่จำเพาะ
- Nq หรือ Nonquantitative หมายถึง ไม่ใช่แบบเชิงปริมาณ
- Sq หรือ Semi-quantitative หมายถึง เป็นแบบกึ่งปริมาณ
ACGIH Carcinogenicity
คือ ค่าบ่งชี้การก่อมะเร็งของสารเคมี/กิจกรรมกำหนดโดยองค์กร ACGIH แบ่งเป็น 5 ระดับ ดังนี้
- A1 คือ ยืนยันว่าเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์
- A2 คือ สงสัยจะเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์
- A3 คือ ยืนยันว่าเป็นสารก่อมะเร็งในสัตว์ทดลอง แต่ไม่ทราบว่าเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์หรือไม่
- A4 คือ ไม่สามารถจัดกลุ่มว่าเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ได้
- A5 คือ ไม่น่าสงสัยว่าจะเป้นสารก่อมะเร็งในมนุษย์
นี่เป็นเพียงการสรุปจากข้อมูลวิชาการให้มีความเข้าใจง่ายมากขึ้น แต่ทุกท่านเห็นแล้วใช่มัยคะว่ามาตรฐาน ACGIH มีวัตถุประสงค์เพื่อบริหารจัดการปกป้องสุขภาพอนามัยของคนงานในภาคอุตสาหกรรม และยังนำมาใช้ปรับปรุงการทำงานเพื่อให้คนงานปลอดภัยจากโรคและการบาดเจ็บที่เกิดจากการทำงานอีกด้วย
นอกจากนี้ยังมีมาตรฐานต่างประเทศอีกอย่าง ที่น่าสนใจ เช่น ANSI American National Standards Institute