แผนฉุกเฉินในงานอับอากาศ

บทนำ

สถานที่ทำงานที่เกี่ยวข้องกับที่อับอากาศในปัจจุบัน นั้นสามารถพบได้มากไม่ว่าจะเป็น บ่อ หลุม ท่อ ถังน้ำมัน หรืออุโมงค์ เป็นต้น ซึ่งมีผู้ปฏิบัติงานจำนวนไม่น้อยที่ต้องเสียชีวิตจากการทำงานในสถานที่อับอากาศ เนื่องมาจากการปฏิบัติงานที่ไม่ถูกวิธี ดังนั้นเพื่อเป็นการลดอุบัติเหตุจากการทำงานในที่อับอากาศ นายจ้างจึงควรที่จะจัดให้มีบุคคลสำคัญ “4 ผู้” สำหรับการปฏิบัติงานในที่ อับอากาศ

Confined space จัดว่าเป็นที่ทำงานที่มีความเสี่ยงอันตรายสูงอาจทำให้ผู้ปฏิบัติงานเสียชีวิตอันเนืองมาจาก “บรรยากาศอันตราย” ที่อยู่ภายใน Confined space ซึ่งมีเพชฌฆาต 3 ตัว ที่ทำให้เสียชีวิตมากที่สุดตามลำดับ ได้แก่

1. การขาดออกซิเจน
2. สารไวไฟ
3. สารเคมีอันตรายหรือสารพิษ

โดยกฎหมายไดกำ หนดไว้ว่า “บรรยากาศอันตราย” คือ สภาพบรรยากาศการทำงานที่ อย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้ คือ

1. มีปริมาณออกซิเจนต่ำกว่า 19.5% และมากกว่า 23.5% โดยปริมาตร
2. มีปริมาณสารไวไฟมากกว่า 10% LEL
3. มีปริมาณสารเคมีอันตรายเกินกว่าค่า TLV หรือ PELของสารเคมีแต่ละชนิด

ดังนั้นการที่จะจัดการกับเพชฌฆาต 3 ตัว ให้ได้ นั่นก็คือ การนำหลักการระบายอากาศในที่อับอากาศ (Confined space ventilation) มาใช้ (ซึ่งก่อนหน้านี้จะต้องมีการตัดแยกพลังงาน สารเคมี สารไวไฟ หรือสารอันตราย หรือ Isolation system เรียบร้อยแล้ว) ซึ่งในกฎกระทรวงฯ อับอากาศ 2547 ได้กำหนดไว้ว่าจะต้องดำเนินการตรวจวัดสภาพอากาศทั้งก่อน และระหว่างทำงานใน Confined space และหากตรวจพบบรรยากาศอันตรายจะต้องทำการระบายอากาศ เพื่อให้บรรยากาศ อันตรายนั้นหมดไป

การปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศด้วยความปลอดภัย

1 ก่อนเข้าทำงานในสถานที่อับอากาศ
1.1 ตรวจสอบปริมาณออกซิเจน สารเคมีและแก๊สอื่นๆ เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีการขาดออกซิเจน การระเบิดหรือการเป็นพิษเกิดขึ้น
1.2 จัดให้มีใบอนุญาตทำงานในพื้นที่อับอากาศ
1.3 หากพบว่าสถานที่อับอากาศนั้นไม่อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย จะต้องทำการระบายอากาศจนกว่าจะอยู่ในสภาพที่ปลอดภัย
1.4 ผู้ปฏิบัติงานต้องทำความคุ้นเคยกับพื้นที่ทำงานนั้นเป็นอย่างดี รู้วิธีการออกจากสถานที่นั้นได้อย่างรวดเร็วเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
1.5 การวางแผนการทำงาน แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนเข้าใจรวมทั้ง จัดอบรมด้านความปลอดภัยอยู่เสมอ

2 ขณะทำงานในสถานที่อับอากาศ
2.1 ตรวจสภาพอากาศเป็นระยะและอาจต้องมีการระบายอากาศตลอดเวลาถ้าจำเป็น
2.2 ผู้ปฏิบัติงานต้องรู้สภาพอากาศขณะทำงานตลอดเวลา
2.3 จัดให้มีผู้ช่วยซึ่งผ่านการอบรมการช่วยเหลือผู้ประสบภัยเฝ้าอยู่ปากทางเข้าออกตลอดเวลาทำงาน และสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้ปฏิบัติงานข้างในได้ตลอดเวลา
2.4 ห้ามผู้ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าไปในสถานที่อับอากาศ
2.5 ห้ามสูบบุหรี่
2.6 จะต้องติดป้ายแจ้งข้อความเตือน “บริเวณอันตรายห้ามเข้าโดยไม่ได้รับอนุญาต” พร้อมจัดทำระบบ Lock Out/Tag Out ที่เครื่องจักรกล ระบบไฟฟ้า ฯลฯ เพื่อป้องกันบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานเข้ามารบกวนหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขภายในพื้นที่อับอากาศ
2.7 หากจำเป็นต้องพ่นสีหรือมีน้ำมันชนิดระเหย หรือต้องทำให้เกิดความร้อนหรือประกายไฟ ต้องมีมาตรการป้องกันที่เหมาะสม
2.8 ผู้ปฏิบัติงานต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลตามสภาพของงานและต้องมีเครื่องดับเพลิงประจำอยู่ในบริเวณที่มีการปฏิบัติงาน
2.9 ปฏิบัติงานถูกต้องตามขั้นตอนการปฏิบัติ (ถ้ามี)
2.10 ในกรณีฉุกเฉิน ถ้ามีผู้ปฏิบัติงานคนใดคนหนึ่งเกิดบาดเจ็บหรือเป็นอันตรายในพื้นที่อับอากาศ ห้ามผู้ปฏิบัติงานคนอื่นเข้าไปช่วยเหลือหากไม่ได้รับการฝึกฝนมาหรือไม่มีอุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม เนื่องจากอาจเป็นอันตรายได้

บทความและหลักสูตรที่น่าสนใจ