หลักการและเหตุผล
นับจากปี 2546 – 2557 พบผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศจำนวน 14 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตจำนวน 45 ราย เกิดเหตุในโรงงานอุตสาหกรรม 10 ครั้ง และนอกโรงานอุตสาหกรรม 4 ครั้ง โดยมีสาเหตุหลักมาจาก (คณาธิศ เกิดคล้าย, 2557) (1) การขาดอากาศหายใจ คือ ในพื้นที่ดังกล่าวมีออกซิเจนต่ำกว่าร้อยละ 19.5 หรือมากกว่าร้อยละ 23.5 โดยปริมาตร (2) ได้รับก๊าซพิษ คือ ในพื้นที่ปฏิบัติงานมีก๊าซ ไอ ละอองที่ติดไฟหรือระเบิดได้ เกินร้อยละ 10 ของค่าความเข้มข้นขั้นต่ำของ สารเคมีแต่ละชนิดในอากาศที่อาจติดไฟหรือระเบิดได้ (lower flammable limit หรือ lower explosive limit) และ (3) มีค่าความเข้มข้นของสารเคมีแต่ละชนิดเกินมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด เป็นต้น ทั้งนี้สภาพแวดล้อมดังกล่าวสามารถพบได้ในพื้นที่ ที่มีทางเข้าออกจำกัด และมีการระบายอากาศไม่เพียงพอ จนทำให้ก๊าซออกซิเจนต่ำหรือสูงเกินกว่าที่มนุษย์จะสามารถดำรงชิวิตอยู่ได้ หรือเกิดจากการสะสมของก๊าซพิษและสารไวไฟ ซึ่งสภาพแวดล้อมดังกล่าวเรียกว่า พื้นที่อับอากาศ (Confined Spaces)
จากปัญหาดังกล่าว กิจการหรือสถานประกอบการ จำเป็นต้องพิจารณาให้ความสำคัญในการบริหารจัดการเพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับพนักงานเมื่อต้องเข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ โดยการบริหารจัดการนั้นสามารถพิจารณาได้จาก กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอานมัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. ๒๕๖๒ หมวด ๒ มาตรการความปลอดภัย ได้แก่ การบริหารจัดการด้านสภาพแวดล้อมพื้นที่อับอากาศ, การจัดหาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายและระงับเหตุฉุกเฉิน และการให้ความรู้กับผู้ที่ปฏิบัติงาน ในการให้ความรู้นั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เนื่องจากความรู้ความเข้าใจเป็นพื้นฐานของพฤติกรรมปลอดภัย ซึ่งการให้ความรู้นั้นสามารถพิจารณาได้จากประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. ๒๕๔๙ หมวด ๒ หลักสูตรการฝึกอบรม ข้อ ๙ หลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศได้แก่ หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ช่วยเหลือ สำหรับผู้ที่มีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือผู้ที่เข้าไปปฏิบัติงานโดยการติดต่อผู้ควบคุมงาน / ผู้อนุญาตเพื่อร้องขอความช่วยเหลือต่อไปกรณีฉุกเฉิน รวมถึงการตรวจสอบรายชื่อ ผู้ที่เข้าไปปฏิบัติงาน และเคลียพื้นที่ในบริเวณปฏิบัติงานอันได้แก่ ปิดทางเข้าออก ทำเครื่องหมายสัญลักษณ์ต่างๆ ฯ ทั้งนี้อาจเป็นหัวหน้างาน, พนักงานระดับปฏิบัติการ หรือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้ง
ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนดรวมถึง เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักให้กับหัวหน้างาน พนักงานระดับปฏิบัติการ หรือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้ง ฯ กิจการหรือสถานประกอบการ จึงจำเป็นต้องจัดให้มีการฝึกอบรมหลักสูตร การฝึกอบรมผู้ช่วยเหลือ การทำงานในที่อับอากาศ ดังกล่าวนี้ เมื่อพนักงานต้องเข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ
วัตถุประสงค์
1) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถบริหารจัดการกรณีเกิดเหตุอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานหรือเหตุฉุกเฉินในพื้นโดยรอบได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
2) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ ในบาทบาทหน้าที่ของตนตามที่กฎหมายกำหนด สำหรับ การทำงานในที่อับอากาศ
3) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถตรวจสอบเครื่องป้องกันอันตรายและอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
4) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถดำเนินการเรื่องเอกสารการทำงานในที่อับอากาศได้อย่างถูกต้อง
คุณสมบัติผู้เข้าฝึกอบรม
- พนักงานระดับ หัวหน้างาน หรือปฏิบัติการ ของหน่วยงาน ที่จะต้องเข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ หรือบุคคลที่สนใจ
- มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงไม่มีโรคประจำตัว
ระยะเวลาฝึกอบรม
- ระยะเวลาอบรม : 3 วัน (18 ชั่วโมง)
กำหนดการฝึกอบรม
เวลา | รายละเอียด |
---|---|
วันที่ 1 (Day 1) | |
08.30 – 09.00 | ลงทะเบียน ทดสอบก่อนการอบรม |
09.00 – 12.15 | ภาคทฤษฎี (1) กฎหมายความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง) (2) ความหมาย ชนิด ประเภทของที่อับอากาศ และอันตรายในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง) (3) การบ่งชี้อันตรายและการประเมินสภาพอันตราย การประเมินสภาพพื้นที่และงานและการเตรียมความพร้อมในการทํางานในที่ อับอากาศ (1 ชั่วโมง) |
12.15 – 13.15 | พักรับประทานอาหารกลางวัน |
13.15 – 16.45 | (4) วิธีการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศที่ถูกต้องและปลอดภัย (1 ชั่วโมง) (5) การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ ในที่อับอากาศและอุปกรณ์ช่วยเหลือชีวิตในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง) (6) ระบบการขออนุญาตทํางานในที่อับอากาศและการขอยกเลิกการอนุญาตทํางานในที่อับอากาศ (30 นาที) (7) บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ รวมถึงการสื่อสารระหว่างผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ (30 นาที) ตอบข้อซักถาม |
วันที่ 2 (Day 2) | |
08.30 – 09.00 | ลงทะเบียน |
09.00 – 12.15 | (8) เทคนิคการตรวจสภาพอากาศในพื้นที่อับอากาศ รวมถึงการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง) (9) เทคนิคการระบายอากาศและเครื่องมือการระบายอากาศในพื้นที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง) (10) อันตรายที่อาจเกิดขึ้นในกรณีฉุกเฉินและวิธีการหลีกเลี่ยง (1 ชั่วโมง) |
12.15 – 13.15 | พักรับประทานอาหารกลางวัน |
13.15 – 16.30 | (11) การช่วยเหลือและช่วยชีวิต (1 ชั่วโมง) (12) การปฐมพยาบาลและการช่วยเหลือเบื้องต้น รวมถึงการปฐมพยาบาลเพื่อช่วยเหลือผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น (CPR) (2 ชั่วโมง) |
วันที่ 3 (Day 3) | |
08.30 – 09.00 | ลงทะเบียน |
09.00 – 12.15 | (13) เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ รวมถึงการใช้และการตรวจสอบเครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง) (14) เทคนิคการระบายอากาศและเครื่องมือการระบายอากาศในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง) (15) การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศ (30 นาที) (16) การใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตในที่อับอากาศ (30 นาที) |
12.15 – 13.15 | พักรับประทานอาหารกลางวัน |
13.15 – 16.45 | (17) การช่วยเหลือและช่วยชีวิต (1 ชั่วโมง) (18) การปฐมพยาบาลและการช่วยเหลือเบื้องต้น รวมถึงการปฐมพยาบาลเพื่อช่วยเหลือผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น (CPR) (1 ชั่วโมง) (19) สถานการณ์การปฏิบัติงานในที่อับอากาศในสภาพปกติและสถานการณ์กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน (1 ชั่วโมง) ตอบข้อซักถาม – ทำแบบทดสอบหลังการฝึกอบรม<>/b |
* หมายเหตุ : พักเบรก 10.30 – 10.45 น. และ 14.45 – 15.00 น.
ค้นหาหลักสูตรอบรม
![support 3](https://www.safesiri.com/wp-content/uploads/2021/01/IMG_07541.png)