CPR and ECC Guidelines

การช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR : Cardiopulmonary resuscitation : CPR)

การช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR : Cardiopulmonary resuscitation) หรือ การกู้ชีวิต หรือการกู้ชีพ หมายถึง การปฏิบัติการเพื่อช่วยฟื้นการทำงานของระบบไหลเวียนเลือดที่หยุดทำงานอย่างกระทันหัน เพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นเองได้ตามปกติ โดยไม่เกิดความพิการของสมอง

ประวัติและวิวัฒนาการของการช่วยฟื้นคืนชีพ

1950 stephenson & et. นวดหัวใจแบบเปิด นวดหัวใจแบบเปิด
1956 Zoll & et. ใช้กระแสไฟแก้ไขภาวะ VF
1958 Safar & et. เสนอเทคนิคการเป่าปากช่วยหายใจ
1960 Kouwehowen & et. นวดหัวใจภายนอก
1966 ประชุม CPR conference 1,2,3,4
1983 first nation conference on pediatric resuscitation
2000 AHA the first international guidelines conference on CPR & ECC

วัตถุประสงค์ของการช่วยฟื้นคืนชีพ

1. เพิ่มออกซิเจนให้กับร่างกายและเนื้อเยื่อ เพิ่มออกซิเจนให้กับร่างกายและเนื้อเยื่อ
2. ป้องกันสมองตายโดยการทำให้โลหิตไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอ ป้องกันสมองตายโดยการทำให้โลหิตไปเลี้ยงสมองได้ เพียงพอ
3. คงไว้ซึ่งการไหลเวียนของโลหิตในขณะหัวใจหยุดเต้น เพื่อนำออกซิเจนไปสู่สมอง หัวใจและเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายคงไว้ซึ่งการไหลเวียนของโลหิตในขณะหัวใจหยุดเต้น เพื่อนำออกซิเจนไปสู่สมอง หัวใจและเนื้อเยื่อส่วนต่างๆ ของร่างกาย
4. ดูแลผู้ป่วยให้กลับสู่สภาวะปกติ หลังจากที่หัวใจกลับเต้นใหม่แล้ว ดูแลผู้ป่วยให้กลับสู่สภาวะปกติ หลังจากที่หัวใจกลับเต้นใหม่แล้ว

CPR เป็นการช่วยให้มีการไหลเวียนเลือดและการหายใจกลับฟื้นคืนมา ในระยะที่หัวใจและการหายใจหยุดอย่างกระทันหัน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระยะ และมี 9 ขั้นตอน เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นจึงเรียงลำดับ A B C D E F G H I ดังนี้

1. การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (Basic Cardiac Life Support : BCLS) เป็น การช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นเพื่อป้องกันไม่ให้มีการขาดเลือดและออกซิเจนไป เลี้ยงส่วนสำคัญของร่างกาย โดยเน้นหลักการช่วยเหลือเบื้องต้นเป็นขั้นตอนเริ่มตั้งแต่ Airway : A, Breathing : B, Circulation : C
2. การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง (Advanced Cardiac Life Support : ACLS) เป็นการ CPR ที่ประกอบด้วย BCLS ร่วมกับ
        D : Drug and Fluid คือ การให้ยาเพื่อช่วยระบบไหลเวียนเลือดและหัวใจ ตลอดจนการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำที่จำเป็น
        E : Endrotracheal tube และ Electrocardioglaphy และ Evaluation คือ การใช้เครื่องมือที่ช่วยการหายใจและระบบไหลเวียน เช่น การให้ออกซิเจน การใส่ท่อช่วยหายใจ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ECG หรือ EKG เพื่อวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ และติดตามภาวะผิดปกติของหัวใจ
        F : Fibrillation treatment คือการกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้า เพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นอย่างปกติ (Defibrillation)
3. การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นประคับประคองให้มีชีวิตยืนยาว (Prolonged Cardiac Life Support : PCLS) เป็น การรักษาพยาบาลเพื่อพยุงให้กลับสู่ภาวะปกติ เฝ้าระวังดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อให้ผู้ป่วยมีชีวิตยืนยาวขึ้น ป้องกันความพิการและฟื้นฟูการทำงานของระบบต่าง ๆ ประกอบด้วย
        G : Gauging คือ กรประเมินสภาพผู้ป่วยและการช่วยกู้ชีวิต
        H : Human mentation คือ การป้องกันความพิการถาวรของสมองจากการขาดออกซิเจน
        I : Intensive care คือ การดูแลอย่างใกล้ชิด รักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่องต่อไป ณ หน่วยงานที่มีความพร้อมในด้านอุปกรณ์ เครื่องมือ เช่น ใน ICU , CCU
การทำ CPR ขั้นพื้นฐาน ( BCLS )

เมื่อพบผู้ป่วยหมดสติหรือไม่เคลื่อนไหวต้องสำรวจขั้นพื้นฐานโดย
        1. ตรวจดูว่าผู้ป่วยหมดสติจริงหรือไม่ โดยการเขย่าตัวเบา ๆ ซึ่งอาจพูดว่า “คุณ ๆ ตื่น ๆ เป็นอะไรหรือเปล่า”
        2. เรียกขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น ๆ เพราะในการช่วยเหลือผู้ที่หยุดการหายใจหรือหัวใจหยุดเต้นในระยะอันสั้น ควรมีคน
            มาช่วยมากกว่า 1 คน เพื่อจะได้ช่วยติดต่อเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องมาช่วยเหลือต่อไป เช่น พูดว่า “ช่วยด้วย ๆ มีคนหมดสติ”
        3. จัดท่าผู้ป่วย จัดท่าผู้ป่วยให้นอนหงายราบบนพื้นแข็งเพื่อความสะดวกในการกดหน้าอกหรือนวด หัวใจ การทำ CPR จะ
             ต้องให้ผู้ป่วยนอนหงายหลังตรง ศีรษะจะต้องไม่สูงกว่าระดับหัวใจจึงจะทำ CPR ได้อย่างมีประสิทธิภาพในการสำรวจ และจัดท่าผู้ป่วยนี้จะต้องใช้เวลาไม่เกิน 10 วินาที

ภาวะแทรกซ้อนจากการทำ CPR

        1. กระดูกซี่โครงหัก
        2. มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอด
        3. ม้ามแตก
        4. ตับแตก
        5. สมองพิการจากการขาดออกซิเจนเป็นเวลานาน
        6. กระดูกสันหลังส่วนคอหักจากการแหงนคอผู้ป่วยมากเกินไป

สาเหตุของการทำ CPR ไม่ได้ผล

        1. วิธีการและขั้นตอนในการทำ CPR ไม่ถูกต้อง
        2. เริ่มลงมือทำ CPR ช้าเกินไป
        3. ตกเลือดอย่างรุนแรง หรือมีเลือดออกในช่องหัวใจ
        4. ปอดถูกทำลายอย่างรุนแรง
        5. เส้นเลือดไปเลี้ยงหัวใจถูกอุดกั้น หรือเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ
        6. ผู้ป่วยอยู่ในภาวะเสียน้ําและอิเล็คโตรลัยท์อย่างรุนแรงหรือมีการติดเชื้อในกระแสเลือด
        7. กระดูกซี่โครงและกระดูกหน้าอกหักจากการนวดหัวใจ ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อปอดอย่างรุนแรง

หยุดทำ CPR เมื่อไหร่ ? DNR ( Do not resuscitation )

       – ผู้ป่วยบางรายไม่ควรทำการกู้ชีพ ถือว่าเป็นเรื่องที่ยอมรับได้และอาจจะเหมาะสมกว่า ได้แก่ ประสงค์ทำพินัยกรรมชีวิต (Life will) คณะผู้รักษาควรปรึกษากับญาติ เพื่อหาข้อตกลงร่วมกันเพื่อลดปัญหาที่จะตามมาจากการสื่อสารที่ เข้าใจไม่ตรง กัน
        – กรณีผู้ป่วยระยะสุดท้าย คุณภาพชีวิตโดยทั่วไปไม่ดี เช่น มะเร็งระยะสุดท้าย อาจยืดชีวิตได้บ้างแต่ทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมาน ควรหาข้อตกลงระหว่างทีมผู้รักษา ผู้ป่วยและญาติ
        – คำสั่งการรักษาเพื่อจะจำกัดการรักษาบางอย่างหรือทุกชนิดเพื่อยืดชีวิต ควรเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างทีมผู้รักษา ผู้ป่วยและญาติ
        – DNR ไม่ได้หมายถึงการหยุดการดูแลผู้ป่วย แต่การดูแลทั่วไปยังดำเนินไป ยกเว้นการกู้ชีพในกรณีหัวใจหยุดเต้น

บทความและหลักสูตรที่น่าสนใจ