การให้สัญญาณมือเครน

Crane training practice exams (67)

ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น หมายความว่า บุคคลซึ่งที่หน้าที่ใช้สัญญาณมือหรือสัญญาณสื่อสารชนิดอื่นกับผู้บังคับปั้นจั่น 

อ้างอิงคำนิยามตาม กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2564

ปั้นจั่นหรือเครนถือเป็นสิ่งสําคัญในงานก่อสร้างตลอดจนงานอุตสาหกรรมหลากชนิดทั้งในโรงงานผลิต-ประกอบรถยนต์ธุรกิจขนส่งคลังสินค้าท่าเรือเป็นต้นแต่สิ่งไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นมากขึ้นเป็นเงาตามตัวก็คือ อัตราการเกิดอุบัติเหตุจากการใช้ปั้นจั่นทําให้มีผู้เสียชีวิตพิการและบาดเจ็บเป็นจํานวนมากและบ่อยครั้งที่อุบัติเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นเพียงเพราะปัญหาด้านการสื่อสารระหว่างผู้ควบคุมปั้นจั่นและผู้ให้สัญญาณปั้นจั่น

ดังนั้นทางกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงได้กําหนดรูปภาพการใช้สัญญาณมือในการสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่นพ ๒๕๕๓ ซึ่งประกาศณวันที่ 22 กันยายนพศ ๒๕๕๓ (ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่29ตุลาคม๒๕๕๓) เพื่อให้ผู้ประกอบการนําไปติดไว้ที่จุดปฏิบัติงานในตําแหน่งที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนทั้งนี้ก็เพื่อลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการสื่อสารนั่นเอง

เครน เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ปั้นจั่น“

“เครน” คือ เครื่องจักรกลที่ใช้ยกสิ่งของหนัก ขึ้นลงตามแนวดิ่ง และเคลื่อนย้ายสิ่งของเหล่านั้น ในลักษณะแขวนลอยไปตามแนวราบ มี 2 แบบ
คือ เครนเคลื่อนที่ได้ (Mobile Cranes) และเครนเคลื่อนที่ไม่ได้ (Stationary Cranes)

เครนมี 3 ประเภท คือ

  1. เครนเหนือศรีษะ และเครนขาสูง (Overhead Crane and Gentry Crane)
  2. เครนหอสูง (Tower Crane)
  3. รถเครน เรือเครน (Mobile Crane)

เครนมี 2 แบบ คือ

  1. เครนชนิดเคลื่อนที่ (Mobile Cranes) หมายความว่า เครนที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ควบคุม และเครื่องต้นกำลังอยู่ในตัว ซึ่งติดตั้งอยู่บนยานที่ขับเคลื่อนในตัวเอง
  1.  เครนชนิดอยู่กับที่ (Stationary Cranes) หมายความว่า เครนที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องต้นกำลังอยู่ในตัว ซึ่งติดตั้งอยู่บนหอสูง ขาตั้งหรือ บนล้อเลื่อน
  1. หยุดยกของฉุกเฉิน เหยียดแขนทั้งสองข้างออกไป ระดับหัวไหล่ ฝ่ามือคว่ำลงแล้วเหวี่ยงไป–มา ในแนวระดับไหล่อย่างรวดเร็วหยุดยกของฉุกเฉิน
  2.  หยุดยกของ เหยียดแขนซ้ายออกไป ในระดับไหล่ แบบคว่ำฝ่ามือ แล้วเหวี่ยงไป–มา ในแนวระดับไหล่อย่างรวดเร็ว
  3. ให้หยุดและยึดเชือกลวดทั้งหมด กำมือทั้งสองเข้าหากันให้อยู่ในระดับเอว
  4.  ให้ยกของขึ้นช้า ๆ ยกแขนคว่ำฝ่ามือให้ได้ระดับคาง แล้วใช้นิ้วชี้ของมืออีกข้างหนึ่งชี้ตรงกลางฝ่ามือแล้วหมุนช้าๆ
  5. ยกบูม เหยียดแขนขวาออกสุดแขน แล้วกำมือ ให้หัวแม่มือชี้ขึ้นด้านบน
  6. นอนบูม  เหยียดแขนขวาออกสุดแขนแล้วกำมือให้หัวแม่มือชี้ลงพื้น
  7. ใช้รอกใหญ่ กำมือ ยกขึ้นเหนือศีรษะแล้วเคาะเบาๆ บนศีรษะตนเองหลายๆครั้งแล้วให้สัญญาณอื่นๆ ที่ต้องการ
  8. ใช้รอกเล็ก งอข้อศอกขึ้นกำมือระดับไหล่ โย้ไปข้างหน้าเล็กน้อยแล้วใช้มืออีกข้าง แตะที่ศอกจากนั้นให้สัญญาณอื่นๆ
  9. สวิงบูมไปด้านที่มือชี้ เหยียดแขนซ้ายหรือขวา ชี้ไปตามทิศทางที่ต้องการจะให้หมุนบูมไป
  10.  เดินหน้า เหยียดฝ่ามือขวาตรงออกไปข้างหน้า ระดับไหล่ฝ่ามือตั้งตรงทำท่าผลัก ในทิศทางที่ต้องการให้รถเครนเคลื่อนที่
  11. เลื่อนรอกขึ้น ให้งอศอกขึ้นตั้งฉาก ชี้นิ้วชี้ขึ้นแล้วหมุนเป็นวงกลม
  12. เลื่อนรอกลง กางแขนออกเล็กน้อย ใช้นิ้วชี้ลงพื้น แล้วหมุนเป็นวงกลมกำมือทั้งสองคว่ำลง แล้วยกขึ้น
  13. ยกบูมขึ้นพร้อมกับเลื่อนรอกขึ้นเหยียดแขนออกสุด แบมือตั้งหัวแม่มือชี้ขึ้นแล้วกวักนิ้วทั้งสี่ไป–มา (ยกเว้นหัวแม่มือ)
  14. ยกบูมพร้อมกับเลื่อนรอกลงเหยียดแขนออกสุด แบมือ ให้หัวแม่มือชี้ลงแล้วกวักนิ้วทั้งสี่ไป–มา (ยกเว้นหัวแม่มือ)
  15. ยึดบูมกำมือทั้งสองแบบหงาย ยกขึ้นเสมอเอว แล้วเหยียดหัวแม่มือออกทั้งสองข้าง
  16. หดบูมกำมือทั้งสองคว่ำลง แล้วยกขึ้นเสมอเอว ให้หัวแม่มือทั้งสองข้างชี้เข้าหากัน