ปจ.1 ปจ.2 คืออะไร ปั้นจั่น คืออะไร

“ปั้นจั่น” หมายความว่า เครื่องจักรที่ใช้ยกสิ่งของขึ้นลงตามแนวดิ่ง และเคลื่อนย้ายสิ่งของเหล่านั้นในลักษณะแขวนลอยไปตามแนวราบ

“ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่” หมายความว่า ปั้นจั่นที่ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ควบคุม และเครื่องต้นกำลังอยู่ในตัว ซึ่งติดตั้งอยู่บนหอสูง ขาตั้ง หรือบนล้อเลื่อน

“ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่” หมายความว่า ปั้นจั่นที่ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ควบคุม และเครื่องต้นกำลังอยู่ในตัว ซึ่งติดอยู่บนยานพาหนะที่ขับเคลื่อนได้

ปจ.1 ปจ.2 คือ ปั้นจั่นหรือนิยมเรียกกันว่าเครน ปจ. นั้นย่อมาจาก ปั้นจั่น แต่ในกฎหมายไทยนั้นไม่สามารถจะใช้คำที่เป็นทับศัพท์ภาษาอังกฤษได้จึงได้นิยามเครนว่าปั้นจั่น 

ปั้นจั่น ปจ.1 จะยกตัวอย่างให้พอเห็นภาพว่ามีอะไรบ้างดังนี้

  1. ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ หรือ โอเวอร์เฮดเครน overhead crane
  2. ลิฟท์ขนส่ง
  3. ทาวเวอร์ เครน Tower crane
  4. รอกยกสิ่งของ

กฎหมายระบุว่าต้องทำการ ตรวจ ปจ.1 ตามที่กฎหมายกำหนดและให้วิศวกรเซ็นต์รับรองความปลอดภัยตามแบบตรวจ ปจ.1 ของกรมสวัสดิการฯ

ตัวอย่างชนิดของเครนอยู่กับที่

1. Over Head Crane Double Girder

2. Over Head Crane Single Girder

3. Low Head Craner Head Crane Single Girder

4. Mono Rail Crane

5. Single Leg Gantry Crane

6. Jib Crane

7. Gantry Crane

8. รอกโซ่ไฟฟ้า (Electric Chain Host)

Electric Chain Host

9. รอกโยก (Level Hoist)

Level Hoist

10. รอกโยก (Level Hoist)

Manual Chain Hoist

ปจ.2 คือ

ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ได้แก่ เช่น 

1.โมบายเครน
2.รถเฮี๊ยบ
3.เรือเครน
4.และอื่นๆที่คล้ายกันสามารถเคลื่อนที่ได้

ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่จะต้องได้รับการตรวจ ปจ.2 ตามกฎหมายกับหนดเช่นกันโดยความถี่ในการตรวจสอบสามารถดูได้จากตารางด้านล่าง

Mobile Crane
crane inspecting skip

กฎหมายระบุความถี่ในการตรวจปั้นจั่นไว้ดังนี้

1.ปั้นจั่นที่ใช้ในงานก่อสร้าง

  • พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ไม่เกิน 3 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 6 เดือน
  • พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด มากกว่า 3 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 3 เดือน

2.ปั้นจั่นที่ใช้ในงานอื่น ๆ

  • พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ตั้งแต่ 1 ตัน ไม่เกิน 3 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 1 ปี
  • พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด มากกว่า 3 ตัน ไม่เกิน 50 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 6 เดือน
  • พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด มากกว่า 50 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 3 เดือน

3.ปั้นจั่นที่ไม่มีพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ให้วิศวกรเป็นผู้กำหนดพิกัดยก

4.ปั้นจั่นที่หยุดการใช้งานตั้งแต่ 6 เดือนหรือซ่อมแซมที่มีผลต่อความปลอดภัย ให้ทดสอบใหม่ก่อนการใช้งาน

วิศวกรต้องทดสอบการรับน้ำหนักของปั้นจั่น ตามอายุการใช้งาน

1.ปั้นจั่นใหม่

  • ขนาดไม่เกิน 20 ตัน ให้ทดสอบการรับน้ำหนักที่ 1 เท่า แต่ไม่เกิน 1.25 เท่า
  • ขนาดมากกว่า 20 ตัน แต่ไม่เกิน 50 ตัน ให้ทดสอบการรับน้ำหนักเพิ่มอีก 5 ตันจากพิกัดยกอย่างปลอดภัย

2.ปั้นจั่นที่ใช้งานแล้ว

  • ให้ทดสอบการรับน้ำหนักที่ 1.25 เท่าของน้ำหนักที่ใช้งานจริงสูงสุด โดยไม่เกินพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด
  • กรณีที่ปั้นจั่นไม่มีพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ให้วิศวกรเป็นผู้กำหนดพิกัดยกในการทดสอบ

การตรวจสอบ และ การทดสอบสอบ อุปกรณ์ช่วยยกก็ต้องได้รับการตรวจสอบด้วยเช่นกันรวมไปถึงส่วนประกอบต่าง ๆ ของปั้นจั่น สลิงเหล็ก galvanize wire rope สลิงเส้นใยสังเคราะห์ synthetic sling ชุดโซ่ยก lifting chain อายโบลท์ eye bolt แช็คเคิล shackle แบบตัวดี, แบบโบว์และแบบใช้งานกับสลิงเส้นใยสังเคราะห์แบบแบน D shackle, Bow shackle and Webbing sling shackle เพลทแคลมป์ plate clamp ห่วงคล้องตะขอยกแบบเดี่ยว master link ห่วงคล้องตะขอยกแบบชุด master link assembly ฯลฯ เป็นต้น

บริการแนะนำเผื่อคุณสนใจ

ดูหลักสูตรทั้งหมด

อบรมความปลอดภัยในการทำงานมากกว่า 100+ หลักสูตร

สินค้า PPE

สินค้าอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

ตรวจรับรองวิศวกรรม

ตรวจสอบระบบวิศวกรรมในโรงงานโดยวิศวกรมืออาชีพ