หลักสูตร การปลูกฝังพฤติกรรมความปลอดภัย BBS

หลักการและเหตุผล

สถิติอุบัติเหตุ ในปี 2551 พบผู้ประสบอันตรายจากวัสดุหรือสิ่งของ จำนวน 82,068 คน, เครื่องจักร จำนวน 23,427 คน, เครื่องมือ จำนวน 22,249 คน, สภาพแวดล้อมเกี่ยวกับการทำงาน จำนวน 13,448 คน และยานพาหนะ จำนวน 8,855 คน ตามลำดับ

จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุดังกล่าวมีสาเหตุมาจาก 1) สาเหตุที่เกิดจากคน (Human Causes) มีจํานวนสูงที่สุด 88 เปอร์เซ็นต์ของการเกิดอุบัติเหตุ ตัวอย่างเช่น การทํางานที่ไม่ถูกต้อง ความพลั้งเผลอ ความประมาท การมีนิสัยชอบเสี่ยงในการทํางาน เป็นต้น 2) สาเหตุที่เกิดจากความผิดพลาดของเครื่องจักร (Mechanical failure) มีจํานวนเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ของการเกิดอุบัติเหตุตัวอย่าง เช่น ส่วนที่เป็นอันตรายของเครื่องจักรไม่มีเครื่องป้องกัน เครื่องจักรเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ชํารุดบกพร่อง รวมถึงการวางผังโรงงานไม่เหมาะสม สภาพแวดล้อมในการทํางานไม่ปลอดภัย เป็นต้น 3) สาเหตุที่เกิดจากชะตา (Acts of God) มีจํานวนเพียง 2 เปอร์เซ็นต์ของการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งเป็นสาเหตุที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาตินอกเหนือการควบคุม เช่น พายุ น้ําท่วม ฟ้าผ่า เป็นต้น (H.W. Heinrich, 1920) โดยสาเหตุดังกล่าวสามารถดำเนินการป้องกันได้ดังตัวอย่างนี้ 1) Education ให้ความรู้แก่บุคลากรทุกระดับชั้น ตั้งแต่ผู้บริหารไปจนถึงพนักงานระดับล่าง 2) Equipment อุปกรณ์ต้องมีพร้อมและได้มาตรฐาน 3) Enforcement มีกฎเกณฑ์ระเบียบบังคับ และสามารถควบคุมให้เกิดการปฏิบัติได้อย่างจริงจัง (วิฑูรย์ สิมะโชคดี)

ดังนั้นเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักให้กับพนักงาน กิจการหรือสถานประกอบการควรดำเนินการจัดฝึกอบรม หลักสูตร การปลูกฝังพฤติกรรมความปลอดภัย (BBS) ให้กับลูกจ้างเพื่อให้ ลูกจ้างเกิดความตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความปลอดภัยของตนเองให้ถูกต้องและเหมาะสม

วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในหลักการ จัดทำโครงการสร้าง Behavior Based Safety :BBS

2) เพื่อสร้างพฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัยให้กับผู้ที่เข้าร่วมอบรม

3) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้และเข้าใจหลักการพื้นฐานในการกำจัดพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัย

4) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจถึงความสำคัญในการสร้างพฤติกรรมปลอดภัย

คุณสมบัติผู้เข้าฝึกอบรม

ระยะเวลาฝึกอบรม

กำหนดการฝึกอบรม

เวลา
รายละเอียด
วันที่ 1 (Day 1)
08.30 – 09.00
ลงทะเบียน
ทดสอบก่อนการอบรม
09.00 – 12.15
ภาคทฤษฎี
(1) ความสำคัญของวัฒนธรรมความปลอดภัย และความหมายของพฤติกรรมเสี่ยง และ BBS

(2) โครงสร้างความปลอดภัย (Safety Base Structure)
(3) การกำจัดพฤติกรรมเสี่ยง (Behavior-Based Safety)
(4) ยุทธวิธีในการแก้ไขพฤติกรรม (Behavior Modification)
12.15 – 13.15
พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.15 – 16.30
ภาคทฤษฎี
(5) หลักการของ BBS (6) กรณีศึกษา

ภาคปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม
(7) การจัดทำโครงการ “การสร้าง Behavior Based Safety :BBS”

ตอบข้อซักถาม – ทำแบบทดสอบหลังการฝึกอบรม

* หมายเหตุ : พักเบรก 10.30 – 10.45 น. และ 14.45 – 15.00 น.

ค้นหาหลักสูตรอบรม

เราพร้อมช่วยเหลือคุณเสมอ

โทร 065 – 441 – 9324

เพิ่มเพื่อน

support 3