หลักสูตร การจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยิน

หลักการและเหตุผล

ในแต่ละปี พบว่าคนไทยป่วยโรคการสูญเสียการได้ยิน เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลราชวิถี เฉลี่ยกว่า 3,000 คนต่อปี ทั้งนี้มีสาเหตุมาจาก พันธุกรรม, การติดเชื้อ, อุบัติเหตุกระทบกระเทือนบริเวณศรีษะ, ประสาทหูเสื่อมเฉียบพลันโดยไม่ทราบสาเหตุ, การทำงานในพื้นเสียงดังเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงาน 8 ชั่วโมง ตั้งแต่ 85 เดซิเบลเอขึ้นไป และฤติกรรมเสี่ยง เป็นต้น (ไทยทริบูน, 2561) นอกจากการสูญเสียการได้ยินแล้วเสียงดังยังส่งผลเสียในด้านอื่นๆเช่น เกิดการรบกวน การพูดคุย และกลบเสียงสัญญาณต่างๆ, ทำให้ร่างกายและจิตใจเกิดการเปลี่ยนแปลง เป็นต้น

จากปัญหาดังกล่าว หน่วยงานหรือสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินกิจกรรมป้องกันและลดความสูญเสียการได้ยินของพนักงานได้โดย การจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยิน ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทํามาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2561 ข้อ ๒ ให้นายจ้างจัดทํามาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการเป็นลายลักษณ์อักษร ในกรณีที่สภาวะการทํางานในสถานประกอบกิจการมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลา การทํางานแปดชั่วโมงตั้งแต่แปดสิบห้าเดซิเบลเอขึ้นไป โดยอย่างน้อยต้องมีรายละเอียด ดังนี้

1. นโยบายอนุรักษ์การได้ยิน

2. การเฝ้าระวังเสียงดัง

– การสำรวจและตรวจวัดระดับเสียง

– การศึกษาระยะเวลาสัมผัสเสียงดัง

– การประเมินการสัมผัสเสียงดังของลูกจ้าง

3. การเฝ้าระวังการได้ยิน

4. หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้อง

5. การจัดทำและติดแผนผังแสดงระดับเสียง

6. การอบรมให้ความรู้

7. การประเมินและทบทวนการจัดการมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน

ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนดรวมถึง ป้องกันและลดปัญหาอันตรายจากเสียงดัง หน่วยงานหรือสถานประกอบกิจการ จึงจำเป็นต้องฝึกอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักให้กับพนักงาน ในเรื่องอันตรายจากเสียงดัง และการควบคุม ป้องกัน รวมถึงการใช้งานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยที่ถูกต้องเหมาะสม

วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้สถานประกอบกิจการปฏิบัติได้สอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนด
2) เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความเข้าใจเกี่ยวมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน

3) เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมตระหนักและให้ความสำคัญต่อการทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน

4) เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจอันตรายของเสียงดัง และการควบคุม ป้องกัน รวมถึงการใช้งานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

คุณสมบัติผู้เข้าอบรม

พนักงานที่ทำงานในบริเวณที่มีเสียงดังที่ได้รับเสียงเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงาน 8 ชั่วโมง ตั้งแต่ 85 เดซิเบลเอขึ้นไป และพนักงานที่เกี่ยวข้อง หรือผู้ที่สนใจ

จำนวนผู้เข้าอบรม/รุ่น จำนวน 1-40 ท่าน/รุ่น
วิธีการฝึกอบรม บรรยาย / กรณีศึกษา / กิจกรรม workshop

วิธีการประเมินผลและเกณฑ์การวัดผล -  ระยะเวลาเข้ารับการฝึกอบรม 100% จำนวน 6 ชั่วโมง -  แบบทดสอบก่อน และหลังการฝึกอบรม

สิ่งที่จะได้รับหลังการอบรม วุฒิบัตรผ่านการอบรม

กำหนดการฝึกอบรม หลักสูตร การจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยิน

เวลา
รายละเอียด
08.30-09.00 น.
ลงทะเบียน ทำแบบทดสอบก่อนการฝึกอบรม
09.00-10.30 น.
ภาคทฤษฎี
(1) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน
10.30-10.45 น.
พักเบรค
10.45-12.00 น.
(2) ความสำคัญของการทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน
12.00-13.00 น.
พักรับประทานอาหาร
13.00-14.30 น.
ภาคทฤษฎี
(3) อันตรายจากเสียงดัง
14.30-14.45 น.
พักเบรค
14.45-16.15 น.
ภาคทฤษฎี (ต่อ)
(4) การควบคุม ป้องกัน และการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
กิจกรรม workshop

ตอบข้อซักถาม – ทำแบบทดสอบหลังการฝึกอบรม

ค้นหาหลักสูตรอบรม

เราพร้อมช่วยเหลือคุณเสมอ

โทร 065 – 441 – 9324

เพิ่มเพื่อน

support 3