องค์ประกอบของไฟ การลุกติดไฟ Fire element

บทความโดย: อาจารย์ วิชิตชัย งามเลิศ

อัคคีภัย  หมายถึง ภัยหรือเหตุการณ์อันตราย อันเกิดจากไฟที่ขาดการควบคุมดูแล ทำให้เกิดการติดต่อลุกลามไปตามบริเวณที่มีเชื้อเพลิง เกิดการลุกไหม้ต่อเนื่อง สภาวะของไฟจะรุนแรงมากขึ้น ถ้าการลุกไหม้ที่มีเชื้อเพลิงหนุนเนื่อง หรือมีไอของเชื้อเพลิงถูกขับออกมามาก ความร้อนแรงก็จะมากยิ่งขึ้น สร้างความสูญเสียให้ทรัพย์สินและชีวิต

ย่อมเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันว่ามนุษย์เราได้มีความเกี่ยวข้องกับ “ไฟ” อยู่ตลอดเวลาในการดำรงณ์ชีวิตประจำวัน ไฟ (fire) ได้สร้างประโยชน์แก่มนุษย์อย่างมหาศาล ในทำนองเดียวกันไฟก็ได้ทำลายชีวิต และทรัพย์สินของมนุษย์อย่างเหลือคณานับเช่นกัน สาเหตุที่เกิดการสูญเสียส่วนใหญ่มักเกิดจากความประมาทที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ พลั้งเผลอ จงใจให้เกิด อีกส่วนหนึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  การเกิดเพลิงไหม้ในสถานประกอบกิจการ ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายต่ออาคารสถานที่อุปกรณ์การผลิต วัตถุดิบ สินค้า บุคลากร รวมถึงภาพพจน์ของสถานประกอบกิจการ ทำให้การผลิตหยุดชะงัก ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของนายจ้าง และภาพรวมของประเทศ การดำเนินการ เพื่อการป้องกันมิให้เกิดเพลิงไหม้ หรือการจัดการระงับเพลิงในขั้นต้น เพื่อป้องกันไม่ให้เพลิงไหม้ลุกลามใหญ่โตนั้นเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง บางโรงงานปัจจุบันจึงต้องมีทีมผู้เฝ้าระวังไฟเพื่อคอยสอดส่องเฝ้าระวังเพลิงไหม้ที่จะเกิดขึ้น  

องค์ประกอบของไฟ

ไฟจะเกิดได้ จะต้องอาศัยองค์ประกอบทั้งหมด 3 อย่าง เมื่อทั้งหมดรวมตัวกันแล้วจะเกิดเป็นไฟ เมื่อไหร่ที่เราปล่อยให้เปลวไฟลุกลามเกิน 5 นาที จนไม่สามารถควบคุมไฟนั้นไว้ได้ หรือใช้ถังดับเพลิงแล้วไม่สามารถควบคุมได้ เราจึงเรียกเหตุการณ์นั้นว่าอัคคีภัย ดังนั้นเราจึงอยากให้ท่านทำความรู้จัก องค์ประกอบของไฟ สิ่งที่จะทำให้เกิดเหตุเพลิงไหม้จนลุกลามและไม่สามารถควบคุมเพลิงได้ การที่เราจะทำให้เกิดไฟได้นั้น ต้องอาศัยองค์ประกอบทั้งหมด 3 อย่าง ได้แก่

เชื้อเพลิง (Fuel) ประกอบไปด้วยทั้งหมด 3 สถานะ

– ของแข็ง เช่น ไม้ กระดาษ พลาสติก ผ้า ยาง หรือวัสดุอื่นที่จับต้องได้ เป็นชิ้นเป็นอัน และสามารถใช้น้ำดับได้

– ของเหลว เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันพืช กาว น้ำมันเครื่อง เทียนไข เป็นต้น

– ก๊าซ เช่น ที่เรารู้จักกันดีก็คือ ก๊าซหุงต้ม เป็นสารจำพวกไฮโดรคาร์บอน ก๊าซไฮโดรเจนที่อัดลูกโป่งสวรรค์ และเป็นก๊าซที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างกรดกับโลหะ ก๊าซมีเทนที่เกิดจากการหมัก เช่น เกิดจากหลุมขยะ ท่อระบายน้ำ เป็นต้น ถ้าก๊าซไวไฟรั่ว ต้องรีบปิดหรือตัดต้นตอ ไม่ให้เกิดการรั่วไหลอีก และดูรอบๆ ว่ามีอะไรเป็นแหล่งติดไฟได้หรือไม่ ถ้ามีให้นำออกให้ห่าง พยายามเปิดประตูหน้าต่างให้ก๊าซเจือจางโดยเร็ว

ความร้อน (HEAT)

          ระยะที่  1  จุดวาบไฟ   FLASH POINT 

คือ  อุณหภูมิความร้อนที่เชื้อเพลิงได้รับสะสมจนถึงจุดที่เชื้อเพลิงคายไอ ออกมา

ระยะที่  2  จุดชวาล หรือ จุดติดไฟ  IGNI  POINT

คือ  อุณหภูมิ ความร้อน ที่เชื้อเพลิงได้รับสะสมจนถึงจุดที่ติดเป็นเปลวไฟขึ้นมา

ออกซิเจน (OXYGEN)  ในบรรยากาศ ปกติจะมีก๊าซอยู่หลายชนิด แต่หลักๆ แล้วหากแบ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ ในอากาศจะมีไนโตรเจนอยู่ 78% ออกซิเจนอยู่ประมาณ 21 % และอื่นๆ 1% แต่ปริมาณที่ออกซิเจนจะเป็นส่วนผสมเพียงพอที่ช่วยทำให้ติดไฟได้ จะมีตั้งแต่ 16%-21% ในค่าความเข้มข้นของอากาศ

          ดังนั้น เมื่อไหร่ที่องค์ประกอบทั้ง 3 อย่าง รวมตัวอย่างลงตัวกัน จึงทำให้เกิดเป็นไฟขึ้นมา แต่ถ้าหากมีอย่างใดอย่างหนึ่งมีน้อยกว่า ก็จะไม่สามารถทำให้เกิดเป็นไฟขึ้นมาได้  เพราะฉะนั้นหากเราต้องการจะดับไฟนั้นลง เพียงแค่ตัดองค์ประกอบของไฟ อย่างใดอย่างหนึ่งออก ก็จะสามารถดับไฟนั้นได้ แต่ถ้าเราไม่สามารถดับไฟนั้นได้ ก็จะทำให้เกิดปฎิกิริยาอย่างหนึ่งขึ้นมา ซึ่งเราเรียกปฎิกิริยานั้นว่า  ปฎิกิริยาลูกโซ่ (Chain Reaction)

ของการสันดาปกล่าว คือ เมื่อเชื้อเพลิงได้รับความร้อนจากการเกิดก๊าซหรือไอที่ผิวมากพอที่จะติดไฟได้  และมีออกซิเจนในอากาศไม่ต่ำกว่าร้อยละ 16  ไฟก็ติดขึ้น

โมเลกุลของเชื้อเพลิงจะแตกตัวเป็นโมเลกุลที่มีขนาดเล็กลงๆ จนแปลสภาพเป็นก๊าซแล้วลุกไหม้ต่อเนื่องกันไปเป็นลูกโซ่  ซึ่งสามารถแสดงองค์ประกอบของการเผาไหม้เป็นรูปแบบพีรามิดของไฟ แต่เมื่อปฏิกิริยาลูกโซ่ขาดตอนลงเมื่อใด  การสันดาปก็จะหยุดลงแต่ถ้าไม่สามารถหยุดได้ก็จะทำให้เกิดเป็นอัคคีภัยทันที 

“เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้แล้ว สิ่งที่สำคัญคือ ระบบดับเพลิง และระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ต้องสามารถทำงานได้ตามปกติ ซึ่งบางสถานที่ เกิดเหตุเพลิงไหม้ แต่ระบบไม่สามารถทำงานได้ พนักงานคนอื่นๆ ไม่ทราบ ทำให้รู้ตัวช้า รู้ตัวอีกทีก็เพลิงมาใกล้ตัวแล้ว ไม่สามารถหนีได้ทัน ฉะนั้นการตรวจสอบดูแลรักษาระบบเหล่านี้อยู่เป็นประจำเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง”