สัญลักษณ์ของถังดับเพลิงแบ่งตามประเภทของไฟ ตามข้อกำหนดมาตรฐานสากล (มาตรฐาน NFPA 10)
ก่อนเลือกซื้อถังดับเพลิง และ ติดตั้งถังดับเพลิง เรามาดุกันก่อนว่าถังดับเพลิงแต่ละชนิดนั้นมีคุณสมบัติอย่างไร ถังดับเพลิงแต่ละประเภทจะต้องใช้ให้ถูกต้องกับประเภทของไฟด้วยถึงจะสามารถดับเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
![](https://www.safesiri.com/wp-content/uploads/2024/11/NPFA-LOGO.jpg)
สมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติ National Fire Protection Association (NFPA)
NFPA 10 ได้แบ่งประเภทของไฟออกเป็น 5 ประเภทเพื่อง่ายต่อการจัดการ
![](https://www.safesiri.com/wp-content/uploads/2024/11/ประเภทของไฟ-ไฟมีกี่ประเภท-1024x551.jpg)
NFPA 10 ได้แยกประเภทของไฟเพื่อเป็นแนวทางลดความเสี่ยง และ ผลกระทบจากไฟไหม้ และ อันตราย อื่นๆที่มีผลต่อไฟแต่ละประเภท ปัจจุบัน NFPA 10 ได้เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางทั่วโลก และ มีการนํามาใช้โดยอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อความปลอดภัย และ การปฏิบัติตามข้อกำหนด มาตรฐาน NFPA 10 ที่กำหนดสำหรับถังดับเพลิงแบบมือถือ
- ประเภท A คือ เพลิงที่ไหม้ที่เกิดจากเชื้อเพลิงของแข็ง เช่น ไม้ ผ้า กระดาษ ปอ นุ่น ยาง พลาสติก
- ประเภท B คือ เพลิงที่ไหม้ในของเหลวติดไฟและก๊าซติดไฟ เช่น น้ำมัน ก๊าซหุงต้ม จาระบี
- ประเภท C คือ เพลิงที่ไหม้จากอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร
- ประเภท D คือ ประเภทวัตถุของแข็งหรือโลหะไวไฟ เช่น ไตตาเนียม แมกนีเซียมสำหรับแมกนีเซียมห้ามใช้น้ำดับเด็ดขาด ต้องใช้เกลือแกงหรือทราย
- ประเภท K คือ เพลิงไหม้ที่เกิดจากน้ำมันที่ใช้ประกอบอาหาร ไขมันสัตว์
![](https://www.safesiri.com/wp-content/uploads/2024/11/ชนิดถังดับเพลิงต่างๆ.jpg)
รู้จักกับ : ประเภทของถังดับเพลิง
การใช้ถังดับเพลิงเราจะต้องเลือกใช้ให้ถูกกับประเภทของไฟด้วย ซึ่งถังดับเพลิงมีหลายประเภทที่ออกแบบมาเพื่อดับไฟชนิดต่างๆ เช่น
- ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง (Dry Chemical) สามารถดับไฟได้เกือบทุกประเภท A B C ยกเว้น CLASS K ราคาถูก หาซื้อง่าย แต่มีข้อเสียคือเมื่อฉีดออกมาจะฟุ้งกระจาย และเมื่อเราทำการฉีดแล้วจะฉีดจนหมดหรือไม่หมดถัง แรงดันจะตก ไม่สามารถใช้งานได้อีก ต้องส่งอัดบรรจุใหม่ทันที
- ถังดับเพลิงชนิดน้ำยาเหลวระเหย สามารถดับไฟได้เกือบทุกประเภท A B C ยกเว้น CLASS K ราคาถูกกว่าฮาโรตรอน หาซื้อง่าย เมื่อฉีดใช้งานจะไม่ทิ้งคราบสกปรก ไม่ทำลายอุปกรณ์ไฟฟ้าเสียหาย และไม่ทำให้สกปรกในบริเวณ ที่ใช้งาน ถังสีเขียว เหมาะกับ พื้นที่ที่เน้นความสะอาด เช่นอาคาร สำนักงาน โรงพยาบาล ห้องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
- ถังดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) สารเคมีภายในบรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซที่ฉีดออกมาจะเป็นไอเย็นจัด คล้ายน้ำแข็งแห้ง ลดความร้อนของไฟได้ ไม่ทิ้งคราบสกปรก สามารถดับไฟได้ประเภท B C เหมาะสำหรับ การใช้งานในห้องเครื่องจักร Line การผลิต อุตสาหกรรมอาหาร ถังสีแดง ปลายกระบอกฉีดจะใหญ่เป็นพิเศษ
- ถังดับเพลิงชนิดโฟม สารเคมีภายในบรรจุโฟม เมื่อฉีดออกมาจะเป็นฟองโฟมคลุมผิวเชื้อเพลิงที่ลุกไหม้ จึงสามารถดับไฟได้ประเภท A B แต่ไม่สามารถนำไปดับไฟประเภท C ได้เพราะเป็นสื่อนำไฟฟ้า เหมาะสำหรับภาคอุตสาหกรรม ดับเชื้อเพลิงประเภททินเนอร์ และสารระเหยติดไฟ
- ถังดับเพลิงแสตนเลส ชนิดสูตรเคมีน้ำ เป็นสารทดแทนสารฮาล่อน 1211 ได้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Non-CFC) ดับไฟ Class A B C และ K ได้ ผ่านการทดสอบและรับรองประสิทธิภาพในการดับเพลิง Fire Rating 10A20B สำหรับขนาด 10ปอนด์ และ 10A40B สำหรับขนาด 15ปอนด์ โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (TISTR) ไม่บดบังทัศนวิสัยขณะฉีดใช้งาน เนื่องจากไม่เป็นฝุ่นละออง ปลอดภัยสำหรับฉีดใช้งานกับอุปกรณ์ ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
![](https://www.safesiri.com/wp-content/uploads/2024/11/วิธีการใช้ถังดับเพลิง-1024x740.jpg)
ข้อแนะนำ : วิธีการใช้งานถังดับเพลิง อย่างปลอดภัย
- เข้าไปทางเหนือลมโดยห่างจากฐานของไฟประมาณ 2 – 3 เมตร สามารถดับเพลิงได้ทั้งไฟชนิด A , B , C และ K ระดับความาสามารถในการดับเพลิงสูง
- ดึงสลักหรือลวดที่รั้งวาล์วออก
- ยกหัวฉีดปากกลวยชี้ไปที่ฐานของไฟ ( ทำมุมประมาณ 45 องศา )
- บีบไกเพื่อเปิดวาล์วให้ก๊าซพุ่งออกมา
- ให้ฉีดไปตามทางยาวไปที่ฐานของไฟ และกราดหัวฉีดไปช้า ๆ
- ดับให้สนิทจนแน่ใจแล้ว จึงฉีดต่อไปข้างหน้า
ในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้วางอยู่ในระดับต่างกัน ให้ฉีดจากข้างล่างไปหาข้างบน และถ้าน้ำมันรั่วไหลให้ฉีดจากปลายทางที่รั่วไหลไปยังจุดที่รั่วไหล และเหตุเพลิงไหม้ที่เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ ต้องรีบตัดกระแสไฟฟ้าก่อน เพื่อป้องกันมิให้เกิดการลุกไหม้ขึ้นมาอีกได้
![](https://www.safesiri.com/wp-content/uploads/2024/11/ฉีดไปที่ฐานของไฟ.jpg)
วิธีการตรวจสอบถังดับเพลิง ให้พร้อมใช้งาน
การตรวจสอบถังดับเพลิงให้พร้อมใช้งานมีความสำคัญเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมต่อเหตุเพลิงไหม้ และความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน หรือ อาคาร บ้านเรือน การตรวจสอบถังดับเพลิงควรตรวจสอบอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าถังดับเพลิงจะสามารถใช้งานได้ทันทีเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
![](https://www.safesiri.com/wp-content/uploads/2024/11/วิธีการตรวจสอบแรงดันถังดับเพลิง.jpg)
- ดูที่เข็มในมาตรวัด (Pressure Gauge) ของถังดับเพลิง เครื่องดับเพลิงที่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานได้ เข็มจะชี้ที่ช่องสีเขียว (สังเกตตามรูปที่ 7) แต่ถ้าเข็มเอียงมาทางซ้ายแสดงว่าแรงดันไม่มี ต้องรีบนำไปเติมแรงดันทันที (ตรวจสอบเป็นประจำทุกเดือน)
- ตรวจ สายฉีด หัวฉีด อย่าให้มีผงอุดตัน
- (ตรวจสอบเป็นประจำทุกเดือน)
- ถ้าไฟไหม้ หรือกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง ให้ส่งไปตรวจสอบและบรรจุใหม่
- สภาพบรรจุของถังดับเพลิงต้องไม่บุบ หรือบวม และไม่ขึ้นสนิม
- อายุการใช้งาน ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง (ถังสีแดง) มีอายุประมาณ 5 ปี ชนิดฮาโลตรอนวัน (ถังสีเขียว) และชนิดก๊าซ CO2 มีอายุประมาณ 10 ปี
- ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง (ถังสีแดง) หากมีการใช้งานแล้ว ต้องนำไปเติมสารเคมีใหม่ทุกครั้ง2.ตรวจ สายฉีด หัวฉีด อย่าให้มีผงอุดตัน เป็นประจำทุกเดือน
สรุป
เราควรตรวจสอบให้ดีก่อนจะทำการซื้อถังดับเพลิงมาไว้ใช้งาน จะต้องเือกถังดับเพลิงให้เหมาะกับประเภทของความเสี่ยงของเพลิงตามที่ NFPA 10 กำหนด เพื่อที่จะได้สามารถดับไไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมไปถึง หากเกิดเหตุเพลิงไหม้ก็ควรเลือกใช้ถังดับเพลิงให้ถูกต้อง และ นายจ้างควรให้ลูกจ้างได้รับการฝึกอบรมดับเพลิงเพื่อให้พนักงานได้ใช้งานถังดับเพลิงได้อย่างถูกต้อง
บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์ Copyright © All Right Reserved
* ห้ามมิให้คัดลอก ทำซ้ำ ดัดแปลง หรือ เผยแพร่เนื้อหา รูปภาพ ในบทความนี้ในเชิงพาณิชย์ โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากทางเรา
** หากต้องการคัดลอกเนื้อหาบทความ โปรดให้เครดิตเรา และ ใส่ลิงก์กลับมาที่หน้านี้