การฝึกอบรมการป้องกันและระงับอัคคีภัย

กฎกระทรวง “กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัย
เกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ 2555”

            กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ.2555  มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2556 ได้กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีระบบป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการตามกฎกระทรวงฉบับนี้และสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 10 ขึ้นไปให้นายจ้างจัดให้มีแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย  ประกอบด้วย

  1. การตรวจตรา
  2. การอบรม
  3. การรณรงค์
  4. ป้องกันอัคคีภัย
  5. การดับเพลิง
  6. การอพยพหนีไฟ
  7. และการบรรเทาทุกข์

ข้อ 27 ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของจำนวนลูกจ้างในแต่ละหน่วยงานของสถานประกอบกิจการรับการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้น โดยให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตจากกรมสวัสดิการฯ เป็นผู้ดำเนินการฝึกอบรม

ข้อ 30 ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างทุกคนฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟพร้อมกันอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ ให้ลูกจ้างของนายจ้างทุกรายที่ทำงานอยู่ในอาคารเดียวกันและในวันและเวลาเดียวกันทำกำรฝึกซ้อมพร้อมกัน และก่อนกำรฝึกซ้อมไม่น้อยกว่า 30 วัน ให้นายจ้างส่งแผนการฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ รวมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับการฝึกซ้อมต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย เพื่อให้ความเห็นชอบ

เป้าหมายในการป้องกันและระงับอัคคีภัย

ลด 4 อย่าง
1. อัตราการเสียชีวิต 2. จำนวนผู้ได้รับผลกระทบ
3. ความสูญเสียทางเศรษฐกิจ
4. สาธารณูปโภคที่สำคัญ และบริการสาธารณะพื้นฐาน

เพิ่ม 3 อย่าง
1. แผนยุทธศาสตร์การลดความเสี่ยงระดับชาติ และระดับท้องถิ่น
2. การให้ความช่วยเหลือระหว่างประเทศ
3. การเข้าถึงข้อมูล การแจ้งเตือนล่วงหน้า และข้อมูลความเสี่ยง

เปลี่ยน 3 อย่าง
1. เปลี่ยนความสูญเสีย เป็นเน้นที่ความเสี่ยง
2. เปลี่ยนวิธีการจัดการภัย เป็นการจัดการความเสี่ยง
3. เปลี่ยนวิธีคิดที่ว่าทำอะไร เป็นทำอย่างไร