การจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยิน
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2561
นายจ้างต้องจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยิน (HCP) ในสถานประกอบกิจการ หรือ โรงงาน ต้องจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษรและลงนามโดยผู้บริหารระดับสูง เช่น จป.บริหาร โดยข้อความนโยบายต้องมุ่งเน้นถึงความมุ่งมั่นในการป้องกันอันตรายจากเสียงดัง และ ควบคุม ลด หรือขจัดอันตรายจากเสียงดังที่เป็นอันตรายต่างๆกับพนักงานอันเนื่องมาจากการรับสัมผัสเสียงดังขณะทำงาน อีกทั้งต้องระบุถึงนโยบายการเฝ้าระวังการสูญเสียการได้ยินอันเนื่องมากจากเสียงดัง กรณีที่สภาวะการทำงานในสถานประกอบกิจการมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ย ตลอดระยะเวลาการทำงาน 8 ชั่วโมงตั้งแต่ 85 เดซิเบลเอขึ้นไป เพื่อแก้ไขปัญหาเสียงดังและลดอันตรายและผลกระทบที่จะมีต่อพนักงานและสภาพแวดล้อมภายในสถานประกอบการ
สถานประกอบการต้องจัดหลักสูตร การอบรม โครงการณ์อนุรักษ์การได้ยินให้แก่พนักงาน ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเสียงดัง โดยวัตถุประสงค์ของการจัดอบรมดังนี้
วัตถุประสงค์ของการจัดอบรม โครงการอนุรักษ์การได้ยิน
1.เข้าใจถึงความรู้เกี่ยวกับโครงการอนุรักษ์การได้ยิน
2.เข้าใจถึงความสำคัญของการทดสอบ สมรรถภาพการได้ยิน
3.เข้าใจถึงอันตรายของเสียงดัง
4.เข้าใจและสามารถอธิบายถึงการควบคุมป้องกันอันตรายจากเสียดัง
5.เข้าใจถึงการใช้อุปกรณ์คุมครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
เมื่อไหร่ที่ต้องทำโครงการอนุรักษ์การได้ยิน
2.เมื่อพบว่าพนักงานมีสมรรถภาพการได้ยินผิดปกติโดยหูข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างมีการเปลี่ยนแปลงของสมรรถภาพการได้ยินเมื่อเทียบกับค่าพื้นฐาน (Baseline audiogram) ตั้งแต่ 15 เดซิเบลขึ้นไป
องค์ประกอบของโครงการอนุรักษ์การได้ยินมีอะไรบ้าง
- นโยบายการอนุกรักษ์การได้ยิน สถานประกอบการใดที่ต้องทำโครงการอนุรักษ์การได้ยิน “ต้อง” กำหนดนโยบายการอนุรักษ์การได้ยิน เพื่อแสดงความมุ่งมั่นในการดำเนิน โครงการและการแก้ไขปัญหาด้าน มลพิษทางเสียง
2. การเฝ้าระวังเสียงดัง (Noise Monitoring)
1.สำรวจและตรวจวัดระดับเสียง
2.ศึกษาระยะเวลา สัมผัสเสียง
3. ประเมินการสัมผัสเสียง
4. แจ้งผลให้ลูกจ้างทราบ
3. การเฝ้าระวังการได้ยิน (Hearing Monitoring)
1.ทดสอบสมรรถภาพการได้ยินแก่ลูกจ้าง
2.แจ้งผลให้ลูกจ้างทราบ
3.ทดสอบสมรรถภาพการได้ยินซ้ำ
1. นายจ้างมีหน้าที่สำคัญที่ทำให้โครงการน้ีเกิดข้ึนและดำเนินต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.ผู้สนับสนุนในการดําเนินโครงการ ได้แก่ แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ พยาบาล อาชีวอนามัย เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย วิศวกรโรงงาน นักสุขศาสตร์ อุตสาหกรรม เจ้าหน้าที่บุคคล เป็นต้น
3.ลูกจํา้งทุกคนตอ้งมีความรู้และตระหนักในอนัตรายที่จะเกิดข้ึนในพ้ืนที่ที่มี เสียงดงั พรอ้มท้งัตอ้งใหค้วามร่วมมือในการปฏิบตัิตามคาแนะนาดว้ย
อันตรายจากเสียงดัง
กลไกการได้ยินเสียงของมนุษย์
ลักษณะของการสูญเสียการได้ยิน
1.การสูญเสียการได้ยินแบบฉับพลัน
2.การสูญเสียการได้ยินแบบค่อยเป็นค่อยไป อุตสาหกรรมเสี่ยง เช่น อุตสาหกรรมหล่อหลอมโลหะหรืออลูมิเนียม อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมเครื่องเรือน เป็นต้น