หลักสูตร การป้องกันอันตรายด้วยระบบล็อคนิรภัยและป้ายเตือน Lock Out Tag Out

หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันพลังงานในรูปแบบต่างๆถูกนำมาใช้ประโยชน์ในภาคเกษตรกรรม และภาคอุตสาหกรรม อย่างแพร่หลาย อาทิเช่น พลังงานไฟฟ้า สารเคมี เครื่องกล ความร้อน ลม การแผ่รังสี แรงดันน้ำ แรงเคลื่อนไฟฟ้า แรงที่เกิดจากการเคลื่อนไหว และแรงโน้มถ่วง ฯ ซึ่งในการใช้ประโยชน์นั้นหากนำมาใช้ไม่ถูกวิธี ไม่มีการป้องกันพลังงานเหล่านี้อาจส่งผลทำให้เกิดอันตราย ต่อผู้ใช้งานได้เช่นกัน

และเพื่อเป็นการป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้พลังงานในรูปแบบต่างๆ หน่วยงานภาครัฐจึงได้กำหนดให้มีพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน  พ.ศ. 2554 สำหรับบังคับใช้ โดยกำหนดให้หน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ที่อยู่ภายใต้ข้อกำหนดของกฎหมาย ต้องดำเนินการป้องกันและวางแผนเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ตามกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 2558 หมวด ๒ บริภัณฑ์ไฟฟ้าและเครื่องกําเนิดไฟฟ้า ข้อ ๑๕ ให้นายจ้างจัดให้มีการใช้กุญแจป้องกันการสับสวิตช์เชื่อมต่อวงจร หรือจัดให้มีระบบ ระวังป้องกันมิให้เกิดการสับสวิตช์เชื่อมต่อวงจรตลอดเวลาที่ลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้าทํางาน ติดตั้ง ตรวจสอบ ซ่อมแซม หรือซ่อมบํารุงระบบไฟฟ้าหรือบริภัณฑ์ไฟฟ้า และให้ติดป้ายแสดง เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ห้ามสับสวิตช์เชื่อมต่อวงจรไว้ด้วย

ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนด และเพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน กิจการหรือสถานประกอบกิจการควรดำเนินการจัดฝึกอบรม หลักสูตร การป้องกันอันตรายด้วยระบบล็อคนิรภัยและป้ายเตือน (Lock Out Tag Out)  ให้กับผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับพลังงานในรูปแบบต่างๆ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานไม่ถูกต้องตามมาตรฐานความปลอดภัย รวมถึงเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานทราบถึงความสำคัญในบทบาทหน้าที่ของต้นเองเมื่อต้องปฏิบัติงานลักษณะดังกล่าว

วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ข้อกำหนด/มาตรฐานความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง

2) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ถึงอันตรายที่เกิดจากพลังงานประเภทต่างๆในขณะซ่อมบำรุงเครื่องจักร

3) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจหลักการควบคุมการปฏิบัติงาน และป้องกันอันตรายในขณะซ่อมบำรุงเครื่องจักร

4) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถใช้อุปกรณ์ควบคุมด้วยระบบ Lockout/Tagout ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5) เพื่อให้ผู้เขาอบรมสามารถช่วยเหลือตนเองและเพื่อนร่วมงานได้กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

คุณสมบัติผู้เข้าฝึกอบรม

ระยะเวลาฝึกอบรม

กำหนดการฝึกอบรม

เวลา
รายละเอียด
วันที่ 1 (Day 1)
08.30 – 09.00
ลงทะเบียน
ทดสอบก่อนการอบรม
09.00 – 12.15
ภาคทฤษฎี
(1) กฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวของกับระบบ Lock Out/Tag Out (LOTO)
(2) ความรู้เกี่ยวกับแหล่งพลังงานอันตราย
(3) หลักการควบคุมแหล่งพลังงาน และขั้นตอนการปฏิบัติระบบล็อกและระบบป้ายเตือน
12.15 – 13.15
พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.15 – 16.30
ภาคปฎิบัติ
(4) องค์ประกอบที่สำคัญของระบบล็อกและระบบป้ายเตือน
(5) การอบรมพนักงานที่เกี่ยวข้อง
(6) การประยุกต์ใช้ระบบ Lockout&Tagout เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน
(7) การป้องกันอันตรายจากระบบพลังงานต่างๆ

ทำแบบทดสอบหลังการฝึกอบรม

* หมายเหตุ : พักเบรก 10.30 – 10.45 น. และ 14.45 – 15.00 น.

ค้นหาหลักสูตรอบรม

เราพร้อมช่วยเหลือคุณเสมอ

โทร 065 – 441 – 9324

เพิ่มเพื่อน

support 3