ออฟฟิศซินโดรม โรคที่มาจากการทำงาน
ในชีวิตประจำวันของคนเรานั้น การทำงานถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของเราไปเรียบร้อยแล้ว เพราะมันเป็นสิ่งที่ช่วยขับเคลื่อนให้คนเราต้องทำ เพื่อที่จะได้รายได้มาใช้จ่ายภายในบ้านนั่นเอง ซึ่งการทำงานของคนเรานั้น ถึงแม้มันจะทำให้เราสามารถมีชีวิตที่ดีต่อไปได้ แต่ผลเสียที่ตามมาก็ไม่ใช่ย่อย ๆ เลยทีเดียว และหนึ่งในข้อเสียที่ตามมาจากการทำงานได้ นั่นก็คือ ออฟฟิศซินโดรม
ออฟฟิศซินโดรม คือ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด รวมถึงอาการปวดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อและเอ็น ซึ่งเป็นโรคที่คนยุคใหม่จะเป็นกันมากอยู่พอควร เพราะด้วยพฤติกรรมการทำงานของเราในปัจจุบัน มักจะไม่ค่อยเน้นการเคลื่อนไหว หรือออกแรงเหมือนแต่ก่อน และมาเป็นนั่งหน้าคอมพิวเตอร์ หรือก้มดูมือถือเป็นเวลานานแทนนั่นเอง
ซึ่งสาเหตุของออฟฟิศซินโดรมนั้น ก็มีอยู่หลากหลายสาเหตุ เช่น
- ท่าทางการทำงาน เช่น ลักษณะท่านั่งทำงาน การวางมือ ศอก บนโต๊ะทำงานที่ไม่ถูกต้อง
- การบาดเจ็บจากงานซ้ำ ๆ หรือระยะเวลาในการทำงานที่มากเกินไป ทำให้ร่างกายเกิดการล้า
- สิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น ลักษณะโต๊ะทำงาน หน้าจอคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
ซึ่งอาการของออฟฟิศซินโดรม ก็เรียกได้ว่าเป็นผลข้างเคียงที่ไม่ใช่เล่น ๆ ดังนี้
- เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด โดยเฉพาะปวดบริเวณคอ บ่า สะบัก ซึ่งบางครั้งอาจส่งผลทำให้เกิดอาการของระบบประสาทอัตโนมัติร่วมด้วย เช่น เหงื่อออก ตาพร่ามัว เป็นต้น
- การอักเสบของเส้นเอ็นบริเวณข้อศอก ข้อมือ นิ้วมือ เช่น การอักเสบของเอ็นโคนนิ้วโป้ง นิ้วล็อค เป็นต้น
- การกดทับปลายประสาท ทำให้เกิดอาการชา รวมถึงอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ
นอกจากนี้ เรายังสามารถประเมินความเสี่ยงของเราเองได้อีกด้วยว่า แนวโน้มที่เราเป็นออฟฟิศ ซินโดรมมีมากเพียงใด ดังนี้
- นั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ อย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อวัน
- ระหว่างทำงาน จะมีความรู้สึกปวดเมื่อยบริเวณต้นคอ ไหล่ หลัง เอว อยู่เสมอ จนถึงกับต้องกินยาแก้ปวด หรือไปนวดเลยทีเดียว
- มีความรู้สึกตาพร่ามัว ระหว่างทำงานเป็นบางครั้ง
ซึ่งถ้าหากเราพบอาการดังต่อไปนี้ ก็หมายความว่าเรามีโอกาสที่จะเป็นออฟฟิศซินโดรมแล้วนั่นเอง
เพราะฉะนั้น เมื่อเรารู้อย่างนี้แล้ว สิ่งหนึ่งที่เราควรจะรู้เหมือนกัน นั่นก็คือ วิธีการป้องกันออฟฟิศ- ซินโดรมที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นได้นั่นเอง ซึ่งวิธีนั้นก็ง่ายแสนง่าย ดังนี้
- ออกกำลังกายหรือยืดกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ
- ปรับสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม โดยเฉพาะพื้นที่ทำงานของ
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน คอยยืดเหยียดกล้ามเนื้อระหว่างทำงาน คอยเปลี่ยนอิริยาบถเพื่อให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลาย
- ควรพักสายตาอย่างน้อยทุก ๆ 10 นาที หากต้องทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
- เข้ารับการทำกายภาพบำบัด ฝังเข็ม หรือนวด เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นออฟฟิศซินโดรม
โดยเฉพาะในการออกกำลังกาย ก็เป็นสิ่งที่จำช่วยทำให้เราสามารถปลอดภัยจากออฟฟิศซินโดรมได้แล้ว โดยมีวิธีการดังนี้
- ออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ ที่จะช่วยทำให้การหมุนเวียนโลหิตมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยทำให้เกิดความยืดหยุ่นที่กล้ามเนื้อของเราได้ดีนั่นเอง
- ออกกำลังกายแบบเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ซึ่งจะช่วยทำให้เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของเรา รวมถึงเสริมสร้างกล้ามเนื้อส่วนแกนกลางลำตัวได้อีกด้วย
- ออกกำลังกายแบบยืดเหยียด ที่จะช่วยยืดและบริหารกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ และทำให้ข้อต่อเคลื่อนไหวได้เป็นปกติ รวมถึงยังลดอาการเมื่อยล้าและตึวของกล้ามเนื้อได้อีกด้วย
- หากออกกำลังกายตามนี้แล้ว ยังมีอาการที่ไม่ดีขึ้น สิ่งที่ควรจะทำอย่างยิ่ง คือ ควรเข้ามาพบแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัด โดยเฉพาะแพทย์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู ในกรณีที่เป็นออฟฟิศซินโดรม
ซึ่งในส่วนของการรักษาอาการนี้ของแพทย์นั้น จะได้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู นักกายภาพบำบัด เพื่อที่จะมุ่งเน้นการรักษาโรคนี้โดยเฉพาะ โดยจะเริ่มจากการวิเคราะห์หาสาเหตุอาการ และเริ่มวางแผนการรักษาแบบบูรณาการ ทั้งการใช้ยา กายภาพบำบัด เพื่อทำการรักษาอย่างใกล้ชิดและเต็มรูปแบบ
ซึ่งในส่วนของอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จะใช้เพื่อแก้ไขอาการของโรคออฟฟิศซินโดรม ก็มีอยู่มากมาย เช่น
- เครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นเครื่องมือในการปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มากระตุ้นระบบประสาท ซึ่งจะช่วยทำให้ลดอาการปวด อาการชา และการอักเสบ ได้ดี
- คลื่นกระแทกช็อคเวฟ ซึ่งจะช่วยทำให้เกิดคลื่นกระแทกบนกล้ามเนื้อที่มีอาการปวด ซึ่งนอกจากจะลดอาการปวดแล้ว ยังช่วยในการกระตุ้นเนื้อเยื่อให้มีการซ่อมแซมและสร้างเสริมบริเวณที่ปวดชได้อีกด้วย
นอกจากนี้ยังมี การรักษาโดยใช้ความเย็นจัด ซึ่งจะช่วยทำให้เกิดการกระตุ้นกล้ามเนื้อด้วยความเย็นจัดถึง -110 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 3 นาที นั่นเอง
ดังนั้นแล้วเราจะเห็นได้ว่าออฟฟิศซินโดรมเป็นโรคที่เกิดมาจากการทำงานอย่างต่อเนื่องและเกิดจากอารอยู่ในอิริยาบถเดิมๆเป็นเวลานานซึงจะส่งผลทำให้ร่างกายเกิดอาการปวดเมื่อยและยังไปทำให้ระบบในร่างกายบางส่วนมีปัญหาทั้งอาการพร่ามัวนิ้วล็อคเพราะฉะนั้นแล้วในยุคใหม่จึงได้มีการบำบัดรักษาอาการดังกล่าวนี้อย่างมากมายและช่วยทำให้อาการของออฟฟิศซินโดรมสามารถทุเลาได้อย่างชะงักนักแต่ถึงกระนั้นการปฏิบัติตัวของเราก็เป็นสิ่งสำคัญเหมือนกันดังนั้นเราจึงควรที่จะปฏิบัติตัวตามวิธีการป้องกันโรคนี้เพื่อทำให้เราจะได้ไม่มีอาการของออฟฟิศซินโดรมขึ้นมานั่นเอง