Home » อากาศ ปริมาณออกซิเจนในอากาศที่ระดับต่างๆ

อากาศ ปริมาณออกซิเจนในอากาศที่ระดับต่างๆ

by Bonnie Parker
527 views
1.อากาศ ปริมาณออกซิเจนในอากาศที่ระดับต่างๆ

อากาศ คืออะไร oxygen

ปริมาณออกซิเจนในอากาศ แค่ไหนถึงอันตราย

โดยปกติแล้ว อากาศที่เราหายใจเข้าไปนั้น ประกอบด้วยออกซิเจนประมาณ 21% และไนโตนเจนประมาณ 79% และปริมาณออกซิเจนที่สภาพเหมาะสมที่คนเราสามารถอยู่ได้อย่างสบาย จะต้องมีออกซิเจนอยู่ประมาณ 19.5-23.5% แต่ถ้าปริมาณออกซิเจนในอากาศลดลงเหลือ 15-17% จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเกิดขึ้น นั่นก็คือ อาการของภาวะพร่องออกซิเจน (Hypoxia) ซึ่งนายแพทย์สุระ เจตน์วาทีแพทย์เวชศาสตร์การบิน ผู้เชี่ยวชาญด้านการกู้ชีพชั้นสูง และการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศ ให้ข้อมูลว่าปริมาณออกซิเจนที่อยู่ในช่วง 12-15% ถือว่ามีความเสี่ยงต่อร่างกายมนุษย์แล้ว ถ้าเหลือ 12% ถือว่าอันตรายและถ้าต่ำถึง 8% เมื่อไรจะเสียชีวิตได้ภายใน 8 นาที

ภาวะพร่องออกซิเจน อาการเป็นอย่างไร

2 ภาวะพร่องออกซิเจน อาการเป็นอย่างไร

– รู้สึกหายใจไม่เต็มอิ่ม หายใจลำบากขึ้น หายใจถี่ขึ้น ไอ
– หัวใจเต้นเร็วขึ้น
– การรับรู้ตัวลดลง สับสน มึนงง ซึม
– วิงเวียน ปวดศีรษะเนื่องจากหลอดเลือดสมองขยายตัว
– คลื่นไส้ อาเจียน
– ผิวหนังซีด หรือเขียวคล้ำ
– รู้สึกกระสับกระส่าย กระวนกระวาย
– รู้สึกร้อนๆ หนาวๆ วูบวาบตามตัว มีเหงื่อออกมาก
– การทำงานของกล้ามเนื้อไม่ประสานกัน
– มือเท้าชา
– ตาพร่ามัว ลานสายตาแคบลง
– เพ้อ หมดสติ ชัก

ปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของภาวะพร่องออกซิเจน

ในแต่ละคนอาจเกิดอาการพร่องออกซิเจนได้แตกต่างกัน ระยะเวลาที่เริ่มเป็นและความรุนแรงก็ต่างกันขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น

– ระดับความสูงในบริเวณที่อยู่ ยิ่งอยู่ในพื้นที่สูงมาก ความกดบรรยากาศและความหนาแน่นของอากาศจะยิ่งลดลงตามระดับความสูง
– ระยะเวลาที่อยู่ในระดับความสูงนั้น หากอยู่นานก็มีโอกาสป่วยได้ง่ายกว่า
– ความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกาย หากเป็นเด็ก คนชรา หรือผู้ที่มีโรคประจาตัว ก็อาจเกิดอาการได้เร็วและรุนแรงกว่านักกีฬา หรือคนที่แข็งแรง
– ภาวะทางจิตใจ ความวิตกกังวลจะทำให้เราหายใจสั้นและถี่ขึ้น ทำให้สมองได้ออกซิเจนน้อยลงอย่างไรก็ตาม ออกซิเจนอาจค่อยๆ ลดลงโดยที่เราไม่รู้ตัว ดังนั้นถ้าสังเกตตัวเองว่าเริ่มรู้สึกหายใจลำบากหรือมึนงง ก็เป็นสัญญาณเตือนได้ว่าเราควรรีบออกมาจากบริเวณนั้น เพื่อป้องกันการเกิดภาวะพร่องออกซิเจนที่รุนแรงได้

เกณฑ์การแบ่งความรุนแรงของภาวะเลือดพร่องออกซิเจน

สามารถแบ่งความรุนแรงของผู้ป่วยได้ 3 ระดับ คือ

– Mild Hypoxemia : ภาวะที่ระดับออกซิเจนในเลือดแดง (PaO2) อยู่ระหว่าง 60-80 มิลลิเมตรปรอท
– Moderate Hypoxemia : ภาวะที่ระดับออกซิเจนในเลือดแดง (PaO2) อยู่ระหว่าง 40-60 มิลลิเมตรปรอท
– Severe Hypoxemia : ภาวะที่ระดับออกซิเจนในเลือดแดง (PaO2) น้อยกว่า 40 มิลลิเมตรปรอท

ทั้งนี้ในผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี จะมีระดับออกซิเจนในเลือดแดงลดต่าลง 1 มิลลิเมตรปรอท ต่ออายุที่เพิ่มขึ้นทุก 1 ปี

ภาวะพร่องออกซิเจน รักษาได้อย่างไร

เมื่อเกิดภาวะนี้ขึ้นต้องรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด โดยแพทย์จะรักษาด้วยการให้ออกซิเจนผ่านทางหน้ากากออกซิเจนหรือสายให้ออกซิเจนทางจมูก เพื่อเพิ่มออกซิเจนในเลือด ป้องกันไม่ให้เซลล์และอวัยวะสำคัญถูกทำลายทั้งนี้จะต้องให้ออกซิเจนในระดับต่ำที่สุดที่จะเพียงพอเพื่อที่จะรักษาระดับออกซิเจนในเลือด เพราะถ้าหากให้ออกซิเจนเกินความต้องการ จะเกิดภาวะพิษจากออกซิเจนได้เช่นกัน

ระดับของออกซิเจนในการทํางานในที่อับอากาศ

3 ระดับของออกซิเจนในการทํางานในที่อับอากาศ

  • 23.5 % ออกซิเจนสูงสุดที่อนุญาตทํางานได้
  • 21% ออกซิเจนปกติ
  • 19.5 % ออกซิเจนต่ำสุดที่อนุ ญาตทํางานได้
  • 16 % หายใจเร็ว หัวใจเต้นแรง
  • 14 % อ่อนล้า
  • 12% หมดสติ
  • 6% หายใจลำบาก,ตาย

บทความและหลักสูตรที่น่าสนใจ

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์บทความ ที่เขียนขึ้นเพื่อเพิ่มความเข้าใจในความปลอดภัยในการทำงาน ด้วยข้อมูลที่เข้าถึงและเข้าใจได้ง่าย คุณจะได้รับข้อมูลใหม่ทุกวันเพื่อความมั่นใจในการทำงานของคุณ

บทความแนะนำ

Copyright @2023 – All Right Reserved. Designed and Developed by arpitaagarwal.net