ผู้อนุญาต ในงานอับอากาศ (Approve) มีหน้าที่อะไร
ผู้อนุญาต หมายถึง ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งจากนายจ้างให้เป็นผู้มีอำนาจในการพิจารณาอนุมัติในการออกหนังสือขออนุญาตทำงานในที่อับอากาศและผ่านการฝึกอบรมที่อับอากาศตามหลักสูตรอบรมที่อับอากาศที่กฎหมายกำหนด
ส่วนมากมักเป็นเจ้าของพื้นที่นั้นมีความรู้เกี่ยวกับสถานที่ พื้นที่ อุปกรณ์ที่อยู่ในพื้นที่ อันตรายต่างๆที่อยู่ในพื้นที่ที่ตนเองรับผิดชอบ
ผู้อนุญาตในการทำงานที่อับอากาศจะทำหน้าที่ในการตรวจสอบถึงมาตรการต่าง ๆ ตรวจสอบความปลอดภัยของพื้นที่ ความพร้อมทุก ๆ ส่วนรวมไปถึงผู้ปฏิบัติงานที่จะมาขออนุญาตเข้าทำงานว่ามีมาตรการและทุกๆอย่างที่กล่าวมาในข้างต้นนั้นมั่นใจได้ว่ามีความปลอดภัย ยกตัวอย่าง เช่น อาจจะเป็นผู้จัดการฝ่ายผลิต หรือ หัวหน้าระดับสูง หัวหน้ากะ หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการ เป็นต้น
ผู้อนุญาตจะต้องดูให้ละเอียดว่าผู้ปฏิบัติงานที่ขออนุญาตได้มีการผ่านการอบรมที่อับอากาศครบตามกฎหมายแล้วหรือไม่ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานที่จะเข้าไปปฏิบัติมากน้อยเพียงไรก่อนที่จะทำการอนุญาต ตรวจสอบอุปกรณ์ PPE ผู้ปฏิบัติงานจะต้องสวมใส่ตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน
หลักสูตรอบรมการทำงานในสถานที่อับอากาศ
อบรมที่อับอากาศ
4 ผู้ ตามกฎหมาย
หลักสูตรอินเฮ้าส์เทรนนิ่งจัดฝึกอบรมในองค์กรเรียนรู้เทคนิคการทำงานในที่อับอากาศอย่างมืออาชีพ
ผู้อนุญาต โดยมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. ได้รับมอบหมายจากนายจ้างในการ ออกหนังสือขออนุญาตการทำงานในที่
อับอากาศ ตามที่กฎหมายกำหนด
2. มีอำนาจในการพิจารณาอนุมัติ ให้มีการทำงานในที่อับอากาศ
3. เป็นผู้พิจารณาร่วมกับผู้ขออนุญาตทำงานในที่อับอากาศในการวางแผนการ
ปฏิบัติงานและมาตรการป้องกันอันตราย
4. ต้องทราบลักษณะงานที่เป็นอันตรายในการทำงานในที่อับอากาศ รวมทั้งผลของ
การได้รับอันตรายในการทำงานในที่อับอากาศที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน
5. เป็นผู้เตรียมการในการตัดแยกระบบทุกระบบ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน
ในที่อับอากาศ
6. จัดเตรียมให้มีการระบายอากาศ จนมั่นใจได้ว่า อยู่ในระดับที่สามารถ
ทำงานได้อย่างปลอดภัย
7. ต้องตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน
8. รับผิดชอบในการสื่อสารไปยังแผนกที่เกี่ยวข้องภายในพื้นที่โรงงานเพื่อ
ให้รับทราบถึงการปฏิบัติงาน
9. ก่อนเริ่มปฏิบัติงานจะต้องตรวจสอบให้มั่นใจว่าได้มีการเตรียมการปฏิบัติ
งานให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตทำงาน
10. ตรวจสอบให้มั่นใจว่าในระหว่างการทำงานในที่อับอากาศทุกฝ่ายที่
เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยที่กำหนดไว้ร่วมกัน
11. เมื่องานเสร็จสมบูณร์จะต้องตรวจสอบความเรียบร้อยของพื้นที่ปฏิบัติงาน
12. เป็นผู้เซ็นต์อนุมัติในการสิ้นสุดการทำงานตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตการทำงาน
ผู้ควบคุมงาน โดยมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) เป็นผู้ขออนุญาตให้มีการทำงานในที่อับอากาศ
(2) จัดทำแผนการปฏิบัติงานและการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานและแผนช่วยเหลือผู้ปฏิบัติงานในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน และปิดประกาศหรือแจ้งให้ลูกจ้างทราบเป็นลายลักษณ์อักษร
(3) ทราบลักษณะอันตรายรวมทั้งผลของอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน
(4) เป็นผู้ตรวจสอบบรรยากาศให้เหมาะสมก่อนที่จะอนุญาตเข้าทำงานในที่อับอากาศ
(5) ชี้แจงซักซ้อมหน้าที่รับผิดชอบ วิธีปฏิบัติงาน และวิธีการป้องกันอันตรายให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้
(6) ตรวจสอบขั้นตอนการทำงานให้มีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องตลอดการทำงาน
(7) ต้องมั่นใจว่าอุปกรณ์ที่นำมาใช้ต้องมีความเหมาะสมและทำงานได้อย่างถูกต้อง
(8) ควบคุมดูแลให้ลูกจ้างใช้เครื่องป้องกันอันตรายและอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลและให้ตรวจตราอุปกรณ์ดังกล่าวให้อยู่ในสภาพที่จะใช้งาน
(9) ต้องมั่นใจว่าพื้นที่ทำงานต้องมีเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องที่ได้รับอนุญาตอยู่ในพื้นที่ทำงานเท่านั้น
(10) ตรวจสอบให้มั่นใจว่ามีแผนฉุกเฉินและทีมช่วยเหลือพร้อม ปฏิบัติงานได้ตลอดเวลา
(11) สั่งให้หยุดการทำงานไว้ชั่วคราว ในกรณีที่มีเหตุที่ก่อให้เกิด อันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานจนกว่าเหตุนั้นจะหมดไป และหากจำเป็นอาจขอให้ผู้อนุญาตยกเลิกการอนุญาตนั้น
(12) เป็นผู้ขออนุญาตสิ้นสุดการทำงาน และตรวจสอบการทำงานเมื่องานนั้นเสร็จสมบูรณ์แล้ว
ผู้ช่วยเหลือหรือผู้เฝ้าระวัง โดยมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) ต้องรู้อันตรายที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการเข้าไปทำงานในที่อับอากาศ
(2) กำหนดรูปแบบการสื่อสารกับผู้ทำงานในที่อับอากาศให้เข้าใจง่ายที่สุด
(3) ซักซ้อมความเข้าใจร่วมกันกับผู้ปฏิบัติงานถึงวิธีการสื่อสาร การให้สัญญาณ ทั้งในกรณีเหตุการณ์ปกติ และฉุกเฉิน
(4) เป็นผู้มีความชำนาญในการตรวจวัดสภาพอากาศทั้งก่อน ขณะปฏิบัติงานให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย
(5) เฝ้าระวังสังเกตพฤติกรรมที่เปลี่ยนของผู้ปฏิบัติงาน
(6) ควบคุมให้ผู้ที่ผ่านเข้าไปทำงานเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
(7) ดำเนินตามขั้นตอนการปฏิบัติงานในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
(8) ต้องทราบหลักการและวิธีการในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในกรณีฉุกเฉิน
(9) ต้องมั่นใจว่าอุปกรณ์ที่ใช้ช่วยเหลือมีความพร้อม และเพียงพอรวมทั้งมีความปลอดภัยในการใช้งาน
(10) มีทักษะความชำนาญในการใช้อุปกรณ์ช่วยชีวิตเป็นอย่างดี
(11) คอยเฝ้าดูแลทางเข้าออกที่อับอากาศโดยให้สามารถติดต่อสื่อสารกับผู้ปฏิบัติงานได้ตลอดเวลา
ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ โดยมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) ต้องทราบถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างเข้าไปทำงาน รวมทั้งการเข้าสู่ร่างกายของสารพิษอาการแสดงและผลกระทบต่อร่างกายที่เกิดขึ้นเมื่อมีการสัมผัสอันตรายระหว่างการทำงานในที่อับอากาศ
(2) ต้องทราบถึงขีดความสามารถของร่างกายตนเองว่าสามารถทำงานในที่อับอากาศได้หรือไม่
(3) ต้องทำความเข้าใจและซักซ้อมรายะเอียดดังต่อไปนี้อย่างน้อย
ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยตามที่กำหนดไว้ วิธีการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ต้องนำเข้าไปปฏิบัติงาน วิธีการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล เช่น หมวกนิรภัย ถุงมือ เป็นต้น
วิธีการสื่อสาร เช่น การใช้สัญญาณการขอความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน
(4) ปฏิบัติตามขั้นตอนการทำงานที่ระบุในใบอนุญาตเข้าทำงานในที่อับอากาศอย่างเคร่งครัด
(5) ต้องสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่กำหนดไว้ตลอดการปฏิบัติงาน
(6) ต้องเพิ่มความระมัดระวังเมื่อมีสถานการณ์ที่เป็นผิดปกติเกิดขึ้น
(7) ต้องเรียนรู้วิธีการช่วยเหลือตัวเองเบื้องต้นเมื่อพบว่าเริ่มมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกาย
(8) ฝึกทักษะความชำนาญในการให้สัญญาณกลับไปยังผู้เฝ้าระวัง เพื่อขอความช่วยเหลือเมื่อพบว่าร่างกายมีอาการผิดปกติหรือเมื่อเกิดสถานการณ์ที่อาจเป็นอันตราย
(9) ทราบวิธีการอพยพออกจากที่อับอากาศอย่างปลอดภัยและอพยพได้ทันทีเมื่อผู้ควบคุมงานหรือผู้ช่วยเหลือให้สัญญาณ
(10) แจ้งผลการปฏิบัติงานทุกครั้งเมื่อการปฏิบัติงานนั้นเสร็จสมบูรณ์