จป หัวหน้างาน จป บริหาร คือใคร

จป คือใคร

บทบาทหน้าที่ของ จป หัวหน้างาน จป บริหาร

จป.หัวหน้างาน หรือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับหัวหน้างาน

หมายถึง ลูกจ้างระดับหัวหน้างาน ซึ่งนายจ้างแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการตามกฎหมายโดยนายจ้างจะต้องส่งหัวหน้างานในองค์กรได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานสำหรับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยฯระดับหัวหน้างาน

จป. หัวหน้างานจะต้องผ่านการ อบรม จป หัวหน้างาน ตามที่กฎหมายกำหนด 2 วัน และ เมื่อผ่านการอบรมแล้วจะต้องทำการขึ้นทะเบียนในระบบราชการกับกรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน

หลักเกณฑ์วิธีการขึ้นทะเบียน จป หัวหน้างาน

บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในระดับหัวหน้างาน

  1. กำกับดูแลลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบให้ปฏิบัติตามคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
  2. วิเคราะห์งานในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อค้นหาความเสี่ยงหรืออันตรายเบื้องต้น จากการทำงานโดยอาจร่วมดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูงหรือระดับวิชาชีพ
  3. จัดทำคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยร่วมดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูงหรือระดับวิชาชีพ เพื่อเสนอคณะกรรมการความปลอดภัยหรือนายจ้าง แล้วแต่กรณีและทบทวนคู่มือดังกล่าวตามที่นายจ้างกำหนด โดยนายจ้างต้องกำหนดให้มีการทบทวนอย่างน้อยทุกหกเดือน
  4. สอนวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องแก่ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน
  5. ตรวจสอบสภาพการทำงานของเครื่องจักรเครื่องมือและอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยก่อนลงมือปฏิบัติงานประจำวัน
  6. กำกับดูแลการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลของลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
  7. รายงานการประสบอันตราย การเจ็บป่วยหรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจาก การทำงานของลูกจ้างต่อนายจ้างและแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูงหรือระดับวิชาชีพ สำหรับสถานประกอบกิจการที่มีหน่วยงานความปลอดภัยให้แจ้งต่อหน่วยงานความปลอดภัยทันทีที่เกิดเหตุ
  8. ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วยหรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญ อันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างร่วมกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูงหรือระดับวิชาชีพและรายงานผลการตรวจสอบ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อนายจ้าง เพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
  9. ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมความปลอดภัยในการทำงาน
  10. ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างหรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารมอบหมาย

แผนการทำงานของ จป.หัวหน้างาน ประจำวัน

โดยส่วนใหญ่ จป.หัวหน้างานจะถูกมอบหมายให้ดูแลลูกน้องใต้บังคับบัญชากำกับการทำงานของลูกน้องให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย จป.หัวหน้างานจะต้องคอยตรวจสอบและค้นหาอันตรายต่างๆในหน่วยงานของตนเองอยู่เสมอรวมไปถึงการวิเคราะห์ความเสี่ยงอันตรายประเมินความเสี่ยงในการทำงานทุกกิจกรรมที่อยู่ในหน้าที่รับผิดชอบของตนเองเครื่องใช้เครื่องมือประเมินความเสี่ยงเช่น JSA Job Safety Analysis เพื่อหามาตรการป้องกันอันตรายและความเสี่ยงดังกล่าว

กิจการประเภทใดที่ต้องมี จป.หัวหน้างาน จป.บริหาร ?

บัญชีท้าย กฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565

บัญชี 1

  1. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการทำเหมืองตามกฎหมายว่าด้วยแร่
  2. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับกิจการปิโตรเลียมตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม
  3. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับปิโตรเคมี
  4. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม
  5. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการแยกก๊าซธรรมชาติ

บัญชี 2

  1. อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์
  2. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร
  3. อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม
  4. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากยาสูบ
  5. อุตสาหกรรมสิ่งทอ
  6. อุตสาหกรรมเสื้อผ้าหรือเครื่องแต่งกาย
  7. อุตสาหกรรมเครื่องหนัง
  8. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากไม้
  9. อุตสาหกรรมกระดาษหรือผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากกระดาษ
  10. อุตสาหกรรมการผลิตสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์
  11. อุตสาหกรรมเภสัชภัณฑ์หรือเวชภัณฑ์ทางการแพทย์
  12. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง
  13. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก
  14. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแร่อโลหะ
  15. อุตสาหกรรมโลหะหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโลหะ
  16. อุตสาหกรรมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
  17. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
  18. อุตสาหกรรมเครื่องจักรหรือเครื่องมือกล
  19. อุตสาหกรรมยานพาหนะ ชิ้นส่วนยานพาหนะ หรืออุปกรณ์เสริมสำหรับยานพาหนะ
  20. อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์
  21. อุตสาหกรรมเครื่องประดับ
  22. อุตสาหกรรมเครื่องดนตรี
  23. อุตสาหกรรมอุปกรณ์กีฬาออกกำลังกาย
  24. อุตสาหกรรมของเล่น
  25. อุตสาหกรรมเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์
  26. อุตสาหกรรมการผลิต การจัดส่ง หรือการจ่ายไฟฟ้า
  27. อุตสาหกรรมการผลิตหรือการบรรจุก๊าซ
  28. อุตสาหกรรมการผลิตถ่านโค้ก
  29. อุตสาหกรรมการผลิต การเก็บ หรือการจำหน่ายไอน้ำ
  30. อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์หรือการเพาะปลูก
  31. สถานีบริการตามกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
  32. คลังน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง
  33. การให้บริการบำบัดน้ำเสียหรือกำจัดของเสียตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
  34. อุตสาหกรรมการนำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่
  35. อุตสาหกรรมการแต่งแร่ การขุดแร่รายย่อย หรือการร่อนแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่
  36. การก่อสร้าง การดัดแปลง การซ่อมแซม หรือการรื้อถอนอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
  37. อุตสาหกรรมการขนส่ง
  38. การบริการการเดินอากาศตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ
  39. กิจการคลังสินค้า กิจการไซโล หรือกิจการห้องเย็นตามกฎหมายว่าด้วยคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น
  40. กิจการโทรคมนาคมตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
  41. การติดตั้ง การซ่อม หรือการซ่อมบำรุงเครื่องจักร
  42. โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
  43. กิจการนิติบุคคลอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
  44. ห้างสรรพสินค้า ธุรกิจค้าปลีก หรือธุรกิจค้าส่ง
  45. ศูนย์การจัดประชุมและการแสดงสินค้า
  46. โรงพยาบาล
  47. การทดสอบและวิเคราะห์การปฏิบัติการทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ หรือวิศวกรรม
  48. การขายและการบำรุงรักษายานยนต์หรือการซ่อมยานยนต์
  49. สวนสัตว์หรือสวนสนุก

บัญชี 3

  1. ธุรกิจสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
  2. ธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
  3. สหกรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์
  4. การประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิตหรือการประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย
  5. โรงรับจำนำตามกฎหมายว่าด้วยโรงรับจำนำ
  6. โรงถ่ายทำภาพยนต์หรือละคร
  7. สวนพฤกษศาสตร์
  8. สนามกีฬาหรือการนันทนาการ
  9. สถานที่มีอาหาร สุรา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย โดยจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง
  10. สำนักงานบริหารของสถานประกอบกิจการตามบัญชี 1 และบัญชี 2

บทบาทหน้าที่ของ จป บริหาร มีอะไรบ้าง

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับบริหารมีหน้าที่ดังต่อไปนี้

  1. กำกับดูแลเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานทุกระดับซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาของตน
  2. เสนอแผนงานหรือโครงการด้านความปลอดภัยในการทำงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อนายจ้าง
  3. ส่งเสริม สนับสนุนและติดตามการดำเนินงานเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน ให้เป็นไปตามแผนงานหรือโครงการเพื่อให้มีการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานที่เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการ
  4. กำกับดูแลและติดตามให้มีการแก้ไขข้อบกพร่องเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้างตามที่ได้รับรายงานหรือตามข้อเสนอแนะของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน คณะกรรมการความปลอดภัยหรือหน่วยงานความปลอดภัย

สรุป:
จป บริหาร นั้นมีหน้าที่ที่จะคอยช่วยผลักดันให้การทำงานด้านความปลอดภัยในองค์กรนั้นมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นคอยให้การสนับสนุนลูกน้องในทุกๆด้านที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงาน เช่นกิจกรรมความปลอดภัย หรือการปรับปรุงแก้ไขต่างๆที่เป็นอันตราย การอนุมัติงบประมาณเพื่อให้ทีมงานได้แก้ไขปัญหาหรือปรับปรุงด้านวิศวกรรมหรือการฝึกอบรมความปลอดภัยต่างๆเป็นต้น

บริการแนะนำเผื่อคุณสนใจ

ดูหลักสูตรทั้งหมด

อบรมความปลอดภัยฯ มากกว่า 100+ หลักสูตร

สินค้า PPE

อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

ตรวจรับรองวิศวกรรม

ตรวจวิศวกรรมโรงงานโดยวิศวกรมืออาชีพ

มาตรฐานด้านระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001:2015

(Quality Management System: QMS) การประกันคุณภาพ มั่นใจได้ว่ากระบวนการต่างๆของเรานั้นมีมาตรฐาน ได้รับการควบคุม และ สามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน

สมัครอบรมได้แล้ววันนี้โทร 091 - 887 - 5136

เพิ่มเพื่อน
support 3