หลักสูตร ความปลอดภัยในการใช้งานรถขุด รถแบคโฮ

หลักการและเหตุผล

สถิติประกันสังคมในปี พ.ศ. 2551 มีจำนวนผู้ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน จำแนกตามสิ่งที่ทำให้ประสบอันตรายสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ วัตถุหรือสิ่งของ จำนวน 82,068 คน, เครื่องจักร จำนวน 23,427 คน, เครื่องมือ จำนวน 22,249 คน, สภาพแวดล้อมเกี่ยวกับการทำงาน จำนวน 13,448 คน และ ยานพาหนะ จำนวน 8,855 คน ตามลำดับ (สถิติประกันสังคม, 2551) จากสถิติดังกล่าวพบว่า อันตรายจากเครื่องจักรเป็น สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุในลำดับที่สอง ที่ก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งทางตรงและทางอ้อมมากมาย ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล ค่าเงินทดแทน ค่าทำขวัญ ค่าทำศพ เวลาทำงาน ขวัญกำลังใจ เป็นต้น ทั้งนี้ในการเกิดอุบัติเหตุดังกล่าวมักมีสาเหตุมาจาก เครื่องจักรไม่มีการ์ดนิรภัย, การถอดการ์ดนิรภัยออกจากตัวเครื่องจักร, การปล่อยปละละเลย, ผู้ปฏิบัติงานไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบความปลอดภัย หรือพนักงานขาดทักษะและความรู้ ทั้งนี้

จากปัญหา สาเหตุ รวมถึงความสูญเสียดังที่กล่าวข้างต้นนี้ รถขุดถือเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่เป็นเครื่องจักร ตามนิยาม เครื่องจักร (machinery) หมายถึง สิ่งที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนหลายชิ้น สำหรับก่อกำเนิดพลังงาน เปลี่ยนหรือแปรสภาพพลังงาน หรือส่งพลังงาน ทั้งนี้ ด้วยกำลังน้ำ ไอน้ำ หรือพลังลม แก๊ส ไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน และหมายความถึง เครื่องอุปกรณ์ ไฟลวีล ปุลเล่ สายพาน เพลา เกียร์ หรือสิ่งอื่นที่ทำงานสัมพันธ์กันและรวมถึงเครื่องมือกลด้วย ดังนั้นกิจการหรือสถานประกอบการ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเรื่องการบริหารจัดการเพื่อลดอันตรายและความเสี่ยง ซึ่งกิจการหรือสถานประกอบการสามารถอ้างอิงหลักการบริการจัดการต่างๆ ได้จาก กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2564 ซึ่งกล่าวถึงบาทบาทหน้าที่ของนายจ้างในการกำกับดูแลลูกจ้างรวมถึงการดำเนินการป้องกันต่างๆ หรือ ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง ชนิดและประเภทเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานก่อสร้างที่ต้องตรวจรับรองประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ข้อ ๓ นายจ้างต้องจัดให้มีการตรวจรับรองประจําปีเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทํางาน ก่อสร้างให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีและปลอดภัย ตามชนิดและประเภท (๕) เครื่องจักรที่ใช้ในงานขุด งานเจาะ หรืองานอุโมงค์ ได้แก่ เครื่องอัดลม (Air Compressor) เครื่องเจาะหิน (Drilling Rock Machine) เครื่องเจาะอุโมงค์ (Tunnel Boring Machine) เครื่องดันท่อ (Pipe Jacking Machine) แบ็กโฮ (Backhoe) แดร็กไลน์ (Dragline) รถตักหน้า-ขุดหลัง (Front-End Loader) 

ดังนั้นเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานกับรถขุด รวมถึงเพื่อให้สอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนด กิจการหรือสถานประกอบกิจการควรดำเนินการจัดฝึกอบรม หลักสูตร ความปลอดภัยในการใช้งานรถขุด (รถแบคโฮ) ให้กับลูกจ้างที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับเครื่องจักรทั้งนี้เพื่อให้ ลูกจ้างได้รับทราบและปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อปฏิบัติในการทำงานต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจองค์ประกอบและอุปกรณ์ทั่วไปของรถขุด

2) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจการขับการควบคุมรถขุดขั้นพื้นฐานและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้

3) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจการขับและควบคุมรถขุดตามประเภทงาน

4) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัยและเข้าใจสัญญาณมือ

5) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมแก้ปัญหาเฉพาะหน้าขณะปฏิบัติงานขุดได้

คุณสมบัติผู้เข้าอบรม

หัวหน้างาน, พนักงานขับรถขุด หรือผู้ที่สนใจ

จำนวนผู้เข้าอบรม/รุ่น จำนวน 1-30 ท่าน/รุ่น
วิธีการฝึกอบรม บรรยาย / กรณีศึกษา / ฝึกภาคปฏิบัติ

วิธีการประเมินผลและเกณฑ์การวัดผล
- ระยะเวลาเข้ารับการฝึกอบรม 100% จำนวน 6 ชั่วโมง
- ทดสอบปฏิบัติ

สิ่งที่จะได้รับหลังการอบรม วุฒิบัตรผ่านการอบรม

กำหนดการฝึกอบรม หลักสูตร ความปลอดภัยในการใช้งานรถขุด (รถแบคโฮ)

เวลา
รายละเอียด
08.30-09.00 น.
ลงทะเบียน ทำแบบทดสอบก่อนการฝึกอบรม
09.00-10.30 น.
ภาคทฤษฎี
(1) พื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับรถขุด

(2) การขับและควบคุมรถขุดขั้นพื้นฐาน
10.30-10.45 น.
พักเบรค
10.45-12.00 น.
(2) การขับและควบคุมรถขุดขั้นพื้นฐาน -ต่อ-
12.00-13.00 น.
พักรับประทานอาหาร
13.00-14.30 น.
ภาคทฤษฎี
(3) การขับและควบคุมรถขุดตามประเภทงาน
(4) ความปลอดภัยในการใช้งานรถขุด
14.30-14.45 น.
พักเบรค
14.45-16.00 น.
ภาคปฏิบัติ
(5) การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

ตอบข้อซักถาม – ทำแบบทดสอบหลังการฝึกอบรม

ค้นหาหลักสูตรอบรม

เราพร้อมช่วยเหลือคุณเสมอ

โทร 065 – 441 – 9324

เพิ่มเพื่อน

support 3