ด้วยสถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ได้แพร่ระบาดระลอกใหม่ กระจายไปในหลายเขตพื้นที่ของประเทศ และพบผู้ติดชื้เอเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละวัน โดยเฉพาะในกลุ่มแรงงานต่างด้าวจนรัฐบาลได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินออกไปอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งยกระดับ การบังคับใช้มาตรการป้องกันโรค กำหนดพื้นที่ควบคุมที่จำเป็นต้องมีมาตรการเข้มข้นเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรค ทำให้การดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของภาครัฐและภาคเอกชน เช่น การสอบ การฝึกอบรม หรือการกระทำกิจกรรมใด ๆ ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมากต้องดำเนินการ
ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นมาตรการป้องกันโรคด้วยการรักษาเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) เพื่อให้การดำเนินการฝึกอบรมในด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานสอดคล้องกับมาตรการป้องกันโรคดังกล่าว
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงกำหนดแนวทางการฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ให้นายจ้าง บุคคล นิติบุคคล ผู้ให้บริการฝึกอบรมตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน ปฏิบัติดังต่อไปนี้
๑. ให้นายจ้าง บุคคล นิติบุคคล ผู้ให้บริการฝึกอบรม หลักสูตรฝึกอบรมตามกฎหมายว่าด้วย ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ดังต่อไปนี้ ดำเนินการจัดฝึกอบรมด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
(๑) การฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๕๔
(๒) หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคชั้นสูง หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร หลักสูตรการอบรมคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ และหลักสูตรหัวหน้าหน่วยงานความปลอดภัย
(๓) หลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการ ด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. ๒๕๖๒
(๔) หลักสูตรการฝีกอบรมความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าสำหรับลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้า ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. ๒๕๕๘
(๕) หลักสูตรการอบรมการดับเพลิงขั้นต้น ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. ๒๕๕๕
๒. ในการฝึกอบรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้ผู้จัดการฝึกอบรมปฏิบัติ ดังนี้
(๑) การแจ้งกำหนดการก่อนดำเนินการจัดอบรมต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอริบตีมอบหมายตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ในแต่ละหลักสูตร
(๒) จัดให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าอบรมตามระยะเวลาและหัวข้อวิชาตามหลักสูตรที่กฎหมายกำหนดไว้
(๓) จัดให้มีเอกสารประกอบการอบรมตามรายละเอียดเนื้อหาที่กำหนดไว้ในแต่ละหลักสูตร
(๔) จัดวิทยากรและจำนวนวิทยากรตามคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
(๕) จัดให้มีผู้เข้าอบรมภาคทฤษฎีต่อการอบรมหนึ่งครั้งเท่ากับหนึ่งห้องอบรมไม่เกินหกสิบคน และภาคปฏิบัติไม่เกินสิบห้าคน
ต่อวิทยากรหนึ่งคน หรือเป็นจำนวนตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ในแต่ละหลักสูตร
(๖) มีมาตรการควบคุมและตรวจสอบการเข้าอบรมเต็มเวลาตลอดหลักสูตรที่อบรม
(๗) มีการวัดผลและประเมินผลผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรที่อบรมตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้
(๘) จัดให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถซักถาม-โต้ตอบ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
(๙) จัดให้มีการบันทึกเสียง หรือทั้งเสียงและภาพของผู้เข้ารับการอบรมทุกคนตลอดระยะเวลาที่มีการอบรมในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
(๑๐) จัดให้ผู้เข้ารับการอบรมแสดงตนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ก่อนการอบรม และจัดเก็บข้อมูลจราจรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้เข้ารับการอบรมทุกคนไว้เป็นหลักฐาน
(๑๑) จัดทำรายงานผลการฝึกอบรมและส่งหลักฐานการฝึกอบรมต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย หรือเก็บหลักฐานไว้ให้พนักงาน ตรวจความปลอดภัยสามารถตรวจสอบได้การดำเนินการใดๆ ที่เกี่วข้องกับการฝึกอบรมตามวรรคหนึ่ง เช่น การส่งหนังสือ เอกสาร ประกอบการอบรม การแจ้งกำหนดการก่อนดำเนินการจัดอบรม ให้ดำเนินการทางวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก
๓. กรณีหลักสูตรการกอบรมที่ต้องมีการฝึกภาคปฏิบัติ ผู้จัดการฝึกอบรมต้องดำเนินการให้มีการฝึกปฏิบัติจริง และได้รับการฝึกใช้อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝีกอบรมอย่างทั่วถึงทุกคน โดยให้คำนึงถึงหลักวิชาการและผลลัพธ์ที่ผู้เข้ารับการฝึกภาคปฏิบัติสามารถนำไปปฏิบัติงาน ได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ ต้องดำเนินการ ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของภาครัฐละมีมาตรการด้านสาธารณสุขรองรับในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ในแต่ละพื้นที่อย่างเคร่งครัด
๔. กรณีผู้ดำเนินการฝึกอบรมไม่ดำเนินการตามประกาศนี้ อาจถูกบังคับให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เช่น พักใช้ เพิกถอนใบอนุญาต เป็นต้น
๕. การฝึกอบรมตามประกาศนี้ ให้มีผลใช้ดำเนินการไปจนกว่ารัฐบาลจะมีการสถานการณ์ฉุกเฉินการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) หรือจนกว่ากรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงานจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
บทความและหลักสูตรที่น่าสนใจ
- การอบรมความปลอดภัยพนักงานเข้าทำงานใหม่
- หลักสูตร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับบริหาร
- หลักสูตร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับหัวหน้างาน
- หลักสูตร อบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการ ทํางานสําหรับลูกจ้างทั่วไป
- หลักสูตร ความปลอดภัยในทํางานกับสารเคมีอันตรายและการตอบโต้กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินขั้นรุนแรง
- จป.คืออะไร
- กฎหมายอบรมความปลอดภัยออนไลน์ (โควิด19)
- หลักสูตรการอบรมความปลอดภัยสำหรับพนักงานใหม่ควรเริ่มต้นอย่างไร
- บริการฉีดฆ่าเชื้อโควิด CIVID19 มาตรฐานโรงงาน