หลักสูตร ความปลอดภัยในการทำงานกับเครื่องจักร

Training in working with machines index2

หลักการและเหตุผล

สถิติประกันสังคมในปี พ.ศ. 2551 มีจำนวนผู้ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน จำแนกตามสิ่งที่ทำให้ประสบอันตรายสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ วัตถุหรือสิ่งของ จำนวน 82,068 คน, เครื่องจักร จำนวน 23,427 คน, เครื่องมือ จำนวน 22,249 คน, สภาพแวดล้อมเกี่ยวกับการทำงาน จำนวน 13,448 คน และ ยานพาหนะ จำนวน 8,855 คน ตามลำดับ (สถิติประกันสังคม, 2551) จากสถิติดังกล่าวพบว่า อันตรายจากเครื่องจักรเป็น สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุในลำดับที่สอง ที่ก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งทางตรงและทางอ้อมมากมาย ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล ค่าเงินทดแทน ค่าทำขัวญ ค่าทำศพ เวลาทำงาน ขวัญกำลังใจ เป็นต้น ทั้งนี้ในการเกิดอุบัติเหตุดังกล่าวมักมีสาเหตุมาจาก เครื่องจักรไม่มีการ์ดนิรภัย, การถอดการ์ดนิรภัยออกจากตัวเครื่องจักร, การปล่อยปละละเลย, ผู้ปฏิบัติงานไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบความปลอดภัย หรือพนักงานขาดทักษะและความรู้

จากปัญหา สาเหตุ รวมถึงความสูญเสียดังที่กล่าวข้างต้นนี้ กิจการหรือสถานประกอบการ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเรื่องการบริหารจัดการเพื่อลดอันตรายและความเสี่ยง ซึ่งกิจการหรือสถานประกอบการสามารถอ้างอิงหลักการบริการจัดการต่างๆ ได้จาก กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2564 กล่าวถึงบาทบาทหน้าที่ของนายจ้างในการกำกับดูแลลูกจ้างรวมถึงการดำเนินการป้องกันต่างๆ หรือ ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง ชนิดและประเภทเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานก่อสร้างที่ต้องตรวจรับรองประจำปี พ.ศ. 2554 ซึ่งกล่าวถึงการตรวจสอบบำรุงรักษาประจำปีเพื่อให้มั่นใจได้ว่าอุปกรณ์เครื่องจักรปลอดภัยพร้อมใช้งาน เป็นต้น

ดังนั้นเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานกับเครื่องจักร รวมถึงเพื่อให้สอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนด กิจการหรือสถานประกอบกิจการควรดำเนินการจัดฝึกอบรม หลักสูตร ความปลอดภัยในการทำงานกับเครื่องจักร ให้กับลูกจ้างที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับเครื่องจักรทั้งนี้เพื่อให้ ลูกจ้างได้รับทราบและปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อปฏิบัติในการทำงานต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในหลักการ บริหารจัดการเพื่อความปลอดภัยในกรณี มีการประกอบ การติดตั้ง การซ่อมแซม และการใช้งานเครื่องจักร

2) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจถึงลักษณะอันตรายที่เกิดจากการปฏิบัติงานกับเครื่องจักรรวมถึงสามารถพิจารณาใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

3) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในหลักการป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร

4) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าในหลักการดูแลบำรุงรักษาเครื่องจักร

5) เพื่อให้สอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนด

คุณสมบัติผู้เข้าอบรม

หัวหน้างาน, พนักงานคุมเครื่องจักร, พนักงานซ่อมบำรุง หรือผู้ที่สนใจ

จำนวนผู้เข้าอบรม/รุ่น จำนวน 1-30 ท่าน/รุ่น
วิธีการฝึกอบรม บรรยาย / กรณีศึกษา

วิธีการประเมินผลและเกณฑ์การวัดผล -  ระยะเวลาเข้ารับการฝึกอบรม 100% จำนวน 6 ชั่วโมง -  แบบทดสอบก่อน และหลังการฝึกอบรม

สิ่งที่จะได้รับหลังการอบรม วุฒิบัตรผ่านการอบรม

กำหนดการฝึกอบรม หลักสูตร ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร

เวลา
รายละเอียด
08.30-09.00 น.
ลงทะเบียน
ทดสอบวัดความรู้ ความเข้าใจก่อนเข้ารับการอบรม (Pre-Test)
09.00-10.30 น.
ภาคทฤษฎี
(1) กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั๊มจั่นและหม้อน้ำ พ.ศ. 2564

(2) ข้อบังคับความปลอดภัยในการทำงานกับเครื่องจักร
10.30-10.45 น.
พักเบรค
10.45-12.00 น.
(3) การประเมินอันตรายของเครื่องจักร
12.00-13.00 น.
พักรับประทานอาหาร
13.00-14.30 น.
(4) การป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร
(5) การตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์ของเครื่องจักร
14.30-14.45 น.
พักเบรค
14.45-16.00 น.
(6) การตัดแยกพลังงานกรณีประกอบการติดตั้งและการซ่อมแซมเครื่องจักร

ทำแบบทดสอบหลังการฝึกอบรม

เราพร้อมช่วยเหลือคุณเสมอ

โทร 065 – 441 – 9324

เพิ่มเพื่อน

support 3