หลักสูตร ผู้ควบคุมงานติดตั้งนั่งร้าน และการตรวจสอบก่อนการใช้งาน

หลักการและเหตุผล

ข้อมูลการประสบอันตรายแยกตามประเภทกิจการจากสำนักงานประกันสังคมพบว่า ประเทศไทยนับจากปี 2552 – 2556 กิจการที่ประสบอันตรายสูงสุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ กิจการงานก่อสร้าง, การผลิตเครื่องดื่ม อาหาร, การค้าเครื่องไฟฟ้า ยานพาหนะ, การผลิต ผลิตภัณฑ์พลาสติก และการหล่อหลอมกลึงโลหะ ตามลำดับ จากสถิติดังกล่าวพบว่า กิจการงานก่อสร้างเป็นกิจการที่มีผู้ประสบอันตรายสูงเป็นลำดับที่ 1 ซึ่งในการประสบอันตรายนั้นมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้หนึ่งในลักษณะของอันตรายที่ทำให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากงานก่อสร้างคือ การล้มหรือการพังของนั่งร้านที่เกิดจากสาเหตุต่างๆ ดังนี้  

1) ผู้ปฏิบัติงานขาดทักษะความรู้ความชํานาญในการทํางานกับนั่งร้าน

2) ขาดการตรวจสอบ กำกับดูแลด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับนั่งร้าน

3) การติดตั้งที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน และอุปกรณ์ต้างๆชํารุด

4) ไม่มีมาตรฐานการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยเกี่ยวกับนั่งร้าน

5) สภาพแวดล้อมพื้นที่ที่บริเวณตั้งนั่งร้านมีสภาพที่เปียกชื้น พื้นดินทรุดตัว ถล่ม พังทลายง่าย เป็นต้น

จากปัญหาและสาเหตุดังกล่าวกิจการหรือสถานประกอบกิจการมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องพิจารณาบริหารจัดการเพื่อลดอันตรายและความความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ปกิบัติงาน ทั้งนี้ในการบริหารจัดการนั้นสามารถพิจารณาแนวทางการดำเนินการได้จากกฎหมายและมาตรฐานสากลต่างๆ เช่น 

1) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทํางานก่อสร้าง ว่าด้วยนั่งร้าน ประกาศ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2525

2) กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร และจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน มีผลบังคับใช้วันที่ 21 มิถุนายน 2549 (ข้อ 3, ข้อ 5, ข้อ 6)

3) กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2508) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505

4) กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2508) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505

5) มาตรฐานการติดตั้งและตรวจสอบโครงสร้างนั่งร้าน มยผ.1571-62 เป็นต้น

ดังนั้นเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความตระหนักและเกิดรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานกับนั่งร้านได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัยเป็นไปตามมาตรฐาน กิจการหรือสถานประกอบกิจการที่มีพนักงานปฏิบัติงานกับนั่งร้าน จึงควรพิจารณาจัดให้มีการอบรมหลักสูตรการติดตั้งและตรวจสอบนั่งร้าน ให้กับพนักงานดังกล่าวนี้

วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจถึงอันตรายจากการปฏิบัติงานกับนั่งร้าน
2) เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการติดตั้งนั่งร้านญี่ปุ่นได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
3) เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถตรวจสอบอุปกรณ์นั่งร้านเบื้องต้นเพื่อความปลอดภัยได้
4) เพื่อให้สอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนด

คุณสมบัติผู้เข้าฝึกอบรม

ระยะเวลาฝึกอบรม

กำหนดการฝึกอบรม

เวลา
รายละเอียด
วันที่ 1 (Day 1)
08.30 – 09.00
ลงทะเบียน
ทำแบบทดสอบก่อนการฝึกอบรม
09.00 – 12.15
ภาคทฤษฎี
(1) กรณีศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุและอุบัติเหตุที่เกิดจากการใช้ระบบนั่งร้านและการทำงานบนที่สูง
(2) กฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้งนั่งร้านและการทำงานในที่สูง
(3) บทบาทและหน้าที่ของผู้ควบคุมงานติดตั้งนั่งร้านและการตรวจสอบ
12.15 – 13.15
พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.15 – 16.30
(4) ประเภทนั่งร้านที่ใช้ในงานก่อสร้างและงานซ่อมบำรุง
(5) อุปกรณ์การทำงานบนที่สูง
(6) ระบบการป้องกันการตกจากที่สูง
(7) การประเมินผู้บาดเจ็บและการช่วยเหลือเบื้องต้น
(8) การตรวจสอบชุดและอุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูงก่อนเริ่มงาน
(9) มาตรฐานการตรวจสอบนั่งร้าน
(10) ป้ายสถานะนั่งร้าน (เขียว เหลือง แดง)

การทำแบบทดสอบหลังฝึกอบรม วันที่ 1 (30 ข้อ)
วันที่ 2 (Day 2)
08.30 – 09.00
ลงทะเบียน
ทำแบบทดสอบก่อนการฝึกอบรม
09.00 – 12.15
ภาคปฏิบัติ
(11) ทดสอบแบบฝึกหัดเติมชื่อส่วนประกอบของนั่งร้าน
(12) แนวทางการคำนวณน้ำหนักของนั่งร้านทั้งหมด
(13) ทดสอบการวางแผนการติดตั้งนั่งร้าน
(14) ประเมินความเสี่ยงก่อนการติดตั้งนั่งร้าน
12.15 – 13.15
พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.15 – 16.30
(15) ทดสอบการติดตั้งนั่งร้าน
(16) แบ่งกลุ่มทดสอบการตรวจสอบนั่งร้านและสรุปผล

ทำแบบประเมินวิทยากร

* หมายเหตุ : พักเบรก 10.30 – 10.45 น. และ 14.45 – 15.00 น.

ค้นหาหลักสูตรอบรม

เราพร้อมช่วยเหลือคุณเสมอ

โทร 065 – 441 – 9324

เพิ่มเพื่อน

support 3