การระบายอากาศในงานอับอากาศ สำคัญอย่างไร
พื้นที่ในการทำงาน เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากต่อการปฏิบัติงานของผู้ทำงานทั้งหลาย เพราะถ้าสภาพแวดล้อมในการทำงานเป็นไปได้ด้วยดี ก็จะทำให้การทำงานเป็นไปได้อย่างราบรื่น และส่งผลทำให้ประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว นั่นจึงทำให้มีผลอย่างมากต่อความเจริญของบริษัทนั้น ๆ แต่ถ้าหากพื้นที่ในการทำงานเกิดมีสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี ก็จะส่งผลทำให้งานที่ออกมาไม่ดีด้วย เพราะผู้ปฏิบัติงานจะรู้สึกอึดอัด เบื่อหน่าย และเมื่อยล้า อันส่งผลที่ไม่ดีต่องานนั่นเอง และนั่นจึงเป็นที่มาของคำว่า พื้นที่อับอากาศ
พื้นที่อับอากาศ คือ สถานที่ทำงานที่มีทางเข้าออกจำกัด มีการระบายอากาศที่น้อยนิด จนทำให้กลายเป็นแหล่งสะสมของสารเคมี สารไวไฟ รวมทั้งออกซิเจนไม่เพียงพอ
ซึ่งพื้นที่อับอากาศนี้ ก็ยังมีหลักพิจารณาให้เราได้เข้าใจกัน นั่นก็คือ ต้องมีพื้นที่ที่มีปริมาตรขนาดเล็ก จนทำให้มลพิษไม่สามารถระบายออกไปได้ และส่งผลทำให้ผู้ปฏิบัติงานคนอื่นๆ เข้าไปช่วยเหลือได้ยาก รวมถึงยังมีช่องเปิด ทางเข้า-ออก อยู่ไกลจากจุดทำงาน หรือมีขนาดเล็กเกินไป หรือมีจำนวนจำกัดอีกด้วย
และความอันตรายในพื้นที่อับอากาศนี้ก็ยังส่งผลอันตรายให้กับผู้ปฏิบัติงาน รวมไปถึงทรัพย์สินภายในนั้นได้อีกด้วย เช่น
1. การขาดออกซิเจน
2. ไฟไหม้เนื่องจากการระเบิดของแก๊สที่ติดไฟได้
3. อันตรายจากการสูดดมแก๊สพิษอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น คาร์บอนมอนนอกไซด์ เกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ของเครื่องยนต์, ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ซึ่งเกิดจากการทำปฏิกิริยาของซัลไฟด์ของเหล็กกับกรดซัลฟูริคหรือกรดไฮโดรคลอริค หรือเกิดจากการเน่าเปื่อยของสารอินทรีย์ที่มีซัลเฟอร์ เป็นองค์ประกอบผลผลิตจากอุตสาหกรรมอย่าง ปิโตรเลียมยางสังเคราะห์ โรงงานน้ำตาล เป็นต้น, ไนโตรเจนไดออกไซด์ เกิดจากกระบวนการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ ซึ่งถ้าสูดดมเข้าไปจะทำให้ปอดระคายเคืองได้นั่นเอง
4. ประสิทธิภาพของการมองเห็นลดลง
5. เสียงดัง เพราะช่องทางระบายมีน้อย จึงส่งผลทำให้เสียงภายในก้องกังวานได้
6. อุณหภูมิสูง
7. หากมีเหตุฉุกเฉิน จะทำให้หนีออกจากพื้นที่นั้นได้ยาก
และเพราะเหตุนี้นั่นเอง จึงทำให้มีการตรวจวัดความปลอดภัยในพื้นที่ดังกล่าวนี้ เพื่อที่จะค้นหาต้นตอและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้นั่นเอง โดยจะตรวจวัดจาดค่าความปลอดภัย ดังนี้
STEL (Short-term ExposureLimit) คือ ค่าความเข้มข้นสูงสุดที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถจะสัมผัสอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาสั้น ๆ โดยไม่ได้รับอันตราย
TWA (Time-Weight Average) คือ ค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของสารเคมีในอากาศสำหรับการทำงาน 8 ชั่วโมงใน 1 วัน หรือ 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
Peak หมายถึง ค่าวิกฤตที่วัดได้ในระหว่างช่วงเวลา
LEL (Lower Exposure Limit) หมายถึง ขีดจำกัดต่ำสุดของปริมาณสารที่อาจเกิดการระเบิดได้
TLV (Threshold Limit Values) หมายถึง ค่าความเข้มข้นของสารเคมีในอากาศและสภาพแวดล้อม
Ceiling หมายถึง ค่าส่วนผสมสูงสุดของสารพิษ ที่ผู้ปฏิบัติงานที่ไม่มีเครื่องเครื่องป้องกันมีแนวโน้มอาจสัมผัสแม้แต่ในระยะสั้น ๆ
เปอร์เซ็นต์ ปริมาตร/ปริมาตร คือ ปริมาตรของแก๊สคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อปริมาตรของอากาศ
ppm. (Part per million) หมายถึงส่วนในล้านส่วน
ANSI หมายถึง American National Safety Institute
NIOSH หมายถึง National Institute for Occupational Safety and Health
OSHA หมายถึง Occupational Safety and Health Administration
ACGIH หมายถึง A committee of American Conference of Government Industrial Hygienists
หลังจากที่เราได้รู้แล้วว่าจะมีการตรวจวัดความปลอดภัยด้วยค่าอะไรบ้าง หลังจากนี้เราก็ควรจะมาทำความรู้จักกับวิธีการตรวจสอบ
1. กำหนดตำแหน่งและตรวจสอบให้ครอบคลุมพื้นที่ปฏิบัติงาน
2. ใช้เครื่องมือตรวจสอบปริมาณแก๊สตามจุดที่กำหนด
3. บันทึกข้อมูลและนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน
ดังนั้นแล้ว เมื่อเราสามารถตรวจสอบถึงความอับอากาศที่อยู่ในสถานที่แห่งนี้แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ควรจะตระหนักอย่างยิ่ง นั่นก็คือ การระบายอากาศในงานอับอากาศ นั่นเอง
ซึ่งสิ่งที่จะช่วยในการระบายอากาศได้ดีนั้น ก็คือการใช้พัดลมดูดอากาศนั่นเอง โดยการใช้อุปกรณ์ดังกล่าวนี้จะช่วยนำอากาศบริสุทธ์เข้าไปในสถานที่ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง และยังเพิ่มออกซิเจนในอากาศได้อีกด้วย และพัดลมดูดอากาศก็ยังมีอยู่หลายประเภท ได้แก่
- Hazardous or Non-Hazardous Type โดยจะแบ่งออกไปตามสถานที่ คือสถานที่อันตรายและไม่อันตราย เช่น โรงงานปิโตรเคมี, ปั๊มน้ำมัน, โรงงานอุตสาหกรรมบางประเภท เป็นต้น
- สำหรับพัดลมดูดอากาศสำหรับสถานที่อันตราย จะออกแบบด้วยโครงสร้างที่ป้องกันการเกิดประกายไฟ รวมถึงยังมีมอเตอร์กันระเบิดที่มีโครงสร้างที่แข็งแรงและเหนียวแน่นพอสมควร
- สำหรับพัดลมแบบที่ใช้ในสถานที่ไม่อันตรายนั้น จะถูกออกแบบโดยไม่มีส่วนที่กันประกายไฟ
นอกจากนี้ยังมี อุปกรณ์เร่งความดันอากาศ ที่เป็นอุปกรณ์ที่สามารถเหนี่ยวนำอากาศให้เคลื่อนไหวไปในแนวของอุปกรณ์เพื่อเพิ่มแรงลม และยังช่วยควบคุมลมเคลื่อนที่ออกมาผ่านช่องลมที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มความแรงอากาศ ซึ่งเหมาะสำหรับใช้ในสถานที่อันตรายหรือเสี่ยงต่อการเกิดประกายไฟ และยังป้องกันการเกิดการสะสมของประจุไฟฟ้าสถิตได้อีกด้วย หรือจะเป็นเครื่องอัดอากาศนี้ ที่สามารถใช้ในกรณีที่สถานที่ทำงานมีข้อจำกัดในการเข้าถึง หรือมีช่องระบายอากาศเล็ก ซึ่งเครื่องอัดอากาศนี้ มีข้อจำกัดคือห้ามใช้ในสถานที่ที่เสี่ยงต่อการติดไฟเด็ดขาด
ดังนั้น การระบายอากาศในงานอับอากาศนั้น จึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก เพื่อที่จะทำให้พื้นที่ดังกล่าวสามารถมีช่องทางอากาศถ่ายเทออกไปได้ และเราควรจัดให้มีการฝึกอบรมที่อับอากาศให้กับพนักงานซึ่งจะช่วยทำให้ลดการเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝัน รวมถึงยังช่วยทำให้ผู้ปฏิบัติงานไม่รู้สึกอึดอัด และสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง