จป วิชาชีพ หรือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ เป็นอีก 1 อาชีพที่ยังมีความต้องการเป็นอย่างมากเนื่องจากมีการบังคับสถานประกอบกิจการจะต้องจัดให้มี จป ในระดับต่างๆ ซึ่ง จป วิชาชีพ ถือเป็นสายวิชาชีพหนึ่งที่ได้รับความนิยม
จป วิชาชีพ เดิมทีย้อนไปเมื่อสมัยหลายสิบปีที่แล้วคนที่สนใจสามารถเข้ารับการอบรมก็เป็น จป วิชาชีพ ได้เลยซึ่งสมัยนั้น จป ยังไม่เป็นที่รู้จัก และ ยอมรับในบ้านเรา หรือประเทศไทยมากนัก เพราะการทำระบบความปลอดภัยในสมัยก่อนหมายถึงการที่นายจ้างเสียเงินไปโดยเปล่าประโยชน์ และ ไม่ได้ให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยในการทำงานเหมือนสมัยนี้
ปัจจุบันนี้ จป วิชาชีพ ยังไม่สามารถอบรมได้ใครที่สนใจอยากทำงานเป็น จปว จะต้องเรียนจบ 4 ปี ในมหาวิทยาลัยที่เปิดสอน จป วิชาชีพ และ มหาลัยนั้นจะต้องได้รับการขึ้นทะเบียนหลักสูตรกับกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงานด้วย ไม่เช่นนั้นจบมาแล้วจะไม่สามารถขึ้นทะเบียนเป็น จป วิชาชีพได้
กฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานฯ พ.ศ. 2565 มีการกำหนดเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน 5 ระดับ คือ
(2) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน
(3) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค
(4) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูง
(5) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ
หน้าที่ของ จป. วิชาชีพ 13 ข้อ
หน้าที่ของ จป.วิชาชีพ ตามกฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากรหน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 มีทั้งหมด 13 ข้อ ดังนี้
- ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
- วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตรายและกำหนดมาตรการป้องกันและขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัยเสนอต่อนายจ้าง
- ประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
- วิเคราะห์แผนงานหรือโครงการและข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่างๆและเสนอแนะมาตรการความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง
- ตรวจประเมินการปฏิบัติงานของสถานประกอบกิจการให้เป็นไปตามแผนงานโครงการหรือมาตรการความปลอดภัยในการทำงน
- แนะนำให้ลูกจ้างปฏิบัติตามคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
- แนะนำฝึกสอนและอบรมลูกจ้างเพื่อให้การปฏิบัติงานปลอดจากเหตุอันจะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการทำงาน
- ตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมหรือดำเนินการร่วมกับบุคคลหรือนิติบุคคลที่ขึ้นทะเบียนหรือได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
- เสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อให้มีการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานที่เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
- ตรวจสอบหาสาเหตุและวิเคราะห์การประสบอันตรายการเจ็บป่วยหรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง และรายงานผลการตรวจสอบ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อนายจ้างเพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
- รวบรวมสถิติวิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบอันตรายการเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างเสนอต่อนายจ้าง
- ให้ความรู้และอบรมด้านโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแก่ลูกจ้างก่อนเข้าทำงานและระหว่างทำงาน เพื่อทบทวนความรู้อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย
บัญชี 1
- อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการทำเหมืองตามกฎหมายว่าด้วยแร่
- อุตสาหกรรมเกี่ยวกับกิจการปิโตรเลียมตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม
- อุตสาหกรรมเกี่ยวกับปิโตรเคมี
- อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม
- อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการแยกก๊าซธรรมชาติ
บัญชี 2
- อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์
- อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร
- อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม
- อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากยาสูบ
- อุตสาหกรรมสิ่งทอ
- อุตสาหกรรมเสื้อผ้าหรือเครื่องแต่งกาย
- อุตสาหกรรมเครื่องหนัง
- อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากไม้
- อุตสาหกรรมกระดาษหรือผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากกระดาษ
- อุตสาหกรรมการผลิตสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์
- อุตสาหกรรมเภสัชภัณฑ์หรือเวชภัณฑ์ทางการแพทย์
- อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง
- อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก
- อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแร่อโลหะ
- อุตสาหกรรมโลหะหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโลหะ
- อุตสาหกรรมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
- อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
- อุตสาหกรรมเครื่องจักรหรือเครื่องมือกล
- อุตสาหกรรมยานพาหนะ ชิ้นส่วนยานพาหนะ หรืออุปกรณ์เสริมสำหรับยานพาหนะ
- อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์
- อุตสาหกรรมเครื่องประดับ
- อุตสาหกรรมเครื่องดนตรี
- อุตสาหกรรมอุปกรณ์กีฬาออกกำลังกาย
- อุตสาหกรรมของเล่น
- อุตสาหกรรมเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์
- อุตสาหกรรมการผลิต การจัดส่ง หรือการจ่ายไฟฟ้า
- อุตสาหกรรมการผลิตหรือการบรรจุก๊าซ
- อุตสาหกรรมการผลิตถ่านโค้ก
- อุตสาหกรรมการผลิต การเก็บ หรือการจำหน่ายไอน้ำ
- อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์หรือการเพาะปลูก
- สถานีบริการตามกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
- คลังน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง
- การให้บริการบำบัดน้ำเสียหรือกำจัดของเสียตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
- อุตสาหกรรมการนำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่
- อุตสาหกรรมการแต่งแร่ การขุดแร่รายย่อย หรือการร่อนแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่
- การก่อสร้าง การดัดแปลง การซ่อมแซม หรือการรื้อถอนอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
- อุตสาหกรรมการขนส่ง
- การบริการการเดินอากาศตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ
- กิจการคลังสินค้า กิจการไซโล หรือกิจการห้องเย็นตามกฎหมายว่าด้วยคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น
- กิจการโทรคมนาคมตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
- การติดตั้ง การซ่อม หรือการซ่อมบำรุงเครื่องจักร
- โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
- กิจการนิติบุคคลอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
- ห้างสรรพสินค้า ธุรกิจค้าปลีก หรือธุรกิจค้าส่ง
- ศูนย์การจัดประชุมและการแสดงสินค้า
- โรงพยาบาล
- การทดสอบและวิเคราะห์การปฏิบัติการทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ หรือวิศวกรรม
- การขายและการบำรุงรักษายานยนต์หรือการซ่อมยานยนต์
- สวนสัตว์หรือสวนสนุก
บัญชี 3
- ธุรกิจสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
- ธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
- สหกรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์
- การประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิตหรือการประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย
- โรงรับจำนำตามกฎหมายว่าด้วยโรงรับจำนำ
- โรงถ่ายทำภาพยนต์หรือละคร
- สวนพฤกษศาสตร์
- สนามกีฬาหรือการนันทนาการ
- สถานที่มีอาหาร สุรา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย โดยจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง
- สำนักงานบริหารของสถานประกอบกิจการตามบัญชี 1 และบัญชี 2