ความปลอดภัยในการทำงานกับรถยก ตามกฎหมาย 2564

Safety in working with legal forklifts

ความปลอดภัยในการทำงานกับรถรก หรือรถ โฟล์คลิฟท์

ความปลอดภัยในการทำงานกับรถยก ตามกฎหมายใหม่ 2564

เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2564 ได้มีกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรปั้นจั่นและหม้อน้ำพ.ศ. 2564  ประกาศออกมา โดยพูดถึงรายละเอียดในแต่ละเรื่องเอาไว้  ในวันนี้เราจะมาพูดถึงความปลอดภัยเกี่ยวกับรถยก ตามกฎกระทรวงนี้

ความปลอดภัยในการทำงานกับรถยก คืออะไร

“รถยก” หมายความว่า รถที่ติดตั้งอุปกรณ์ใช้สำหรับการยกหรือเคลื่อนย้ายสิ่งของ เช่น ฟอร์คลิฟต์ (forklift) หรือรถที่ทำงานในลักษณะเดียวกัน 

ส่วนที่ 4 รถยก 

ข้อ 34 ในการทำงานเกี่ยวกับรถยก นายจ้างต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

  1. จัดให้มีโครงหลังคาของรถยกที่มั่นคงแข็งแรง สามารถป้องกันอันตรายจากวัสดุตกหล่นได้ เว้นแต่รถยกที่ออกแบบมาให้ยกสิ่งของที่สูงไม่เกินศีรษะ

จากข้อกำหนดข้างต้นจะเห็นได้ว่ารกยกทุกคันมีโครงหลังคาที่เป็นเหล็กทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันอันตรายจากสิ่งของที่อาจหล่นใส่ศีรษะของผู้ขับขี่ได้เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการใช้งานรถยกก็เพื่อเคลื่อนย้ายสิ่งของและยกสิ่งของขึ้นลงหากไม่มีโครงหลังคาที่มั่นคงแข็งแรงแล้วผู้ขับขี่อาจจะได้รับอันตรายได้ และหากการยกสิ่งของนั้นสูงไม่เกินศีรษะส่วนใหญ่แล้วในทางปฏิบัตินั้นมักจะใช้แฮนด์ลิฟต์ในการยกทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับหน้างานและพื้นที่ด้วย

  1. จัดให้มีป้ายบอกพิกัดน้ำหนักยกอย่างปลอดภัยตามที่กำหนดไว้ในรายละเอียดคุณลักษณะและคู่มือการใช้งานตามข้อ 8 ไว้ที่รถยก พร้อมทั้งติดตั้งป้ายเตือนให้ระวังรถยกทุกคันต้องมีป้ายบอกพิกัดน้ำหนักเพื่อความปลอดภัยเพราะหากนำรถยกไปยกสิ่งของเกินพิกัดยกอาจทำให้เกิดอันตรายจากการใช้งานเช่นรถยกพลิกคว่ำและต้องมีคู่มือการใช้งานไว้ที่รถยกด้วยโดยให้ดูรายละเอียดในข้อ 8 ของกฎกระทรวงนี้ 
  1. ตรวจสอบรถยกให้มีสภาพใช้งานได้ดีและปลอดภัยก่อนการใช้งานทุกครั้ง และต้องมีสำเนาเอกสารการตรวจสอบไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

กฎกระทรวงกำหนดให้ตรวจสอบรถยกก่อนการใช้งานเราจึงจำเป็นต้องมีเอกสารตรวจสอบความปลอดภัยประจำวันของรถยกแต่ละคัน  เพื่อให้สามารถรู้ได้ว่า ก่อนการใช้งานรถยกในแต่ละวัน รถยกอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานหรือไม่ หากไม่พร้อมใช้งาน ก็ต้องรีบดำเนินการแก้ไข จึงจะสามารถใช้งานได้ และการกำหนดแบบตรวจสอบความปลอดภัยของรถยก ต้องกำหนดหัวข้อการตรวจสอบให้เหมาะสมและถูกต้องกับชนิดของรถยกด้วย เพราะรถยกมีหลายชนิด เช่น รถยก ที่ใช้ไฟฟ้า รกยกที่ใช้ LPG ก็จะมีหัวข้อในการตรวจสอบที่แตกต่างกัน แต่สิ่งที่สำคัญ คือ การตรวจสอบตามความเป็นจริงโดยผู้ใช้งาน  เพราะจากประสบการณ์แล้ว ปัญหาที่พบคือ ผู้ใช้งานมักไม่ตรวจสอบ หรือไม่ตรวจสอบตามความเป็นจริง 

  1. จัดให้มีสัญญาณเสียงหรือแสงไฟเตือนภัยในขณะทำงานตามความเหมาะสมของการใช้งานในขณะที่รถยกกำลังปฏิบัติ อาจเกิดอันตรายได้ หากมีบุคคลอื่นอยู่ในพื้นที่การปฏิบัติของรถยกด้วยสัญญาณเสียงและแสงจึงมีความจำเป็นอย่างมากในขณะรถยกทำงาน 
  1. จัดให้มีอุปกรณ์ช่วยการมองเห็นตามสภาพในการทำงาน เช่น กระจกมองข้าง
  2. ให้ลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่ขับรถยกชนิดนั่งขับสวมใส่เข็มขัดนิรภัยในขณะทำงานบนรถตลอดเวลา

จากข้อกำหนดให้ต้องสวมใส่เข็มขัดนิรภัยตลอดเวลาที่ขับรถยก ก็เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้ขับขี่เอง เราเคยได้ยินอุบัติเหตุจากการทำงานกับรถยก จากการถูกรถยกทับเสียชีวิต เนื่องจากในขณะที่รถยกกำลังจะพลิกคว่ำนั้น ผู้ขับขี่มักจะกระโดดลงจากรถยก แต่ตามความเป็นจริงแล้ว ไม่มีใครกระโดดสวนทางกับรถยก จึงทำให้รถยกทับเสียชีวิตนั่นเอง หากผู้ขับขี่สวมใส่เข็มขัดนิรภัย ดันหลังชิดเบาะ มือจับพวงมาลัยให้แน่น ก็จะปลอดภัยจากการถูกรถยกทับ

ข้อ 35 นายจ้างต้องไม่ดัดแปลงหรือกรพทำการใดกับรถยกที่มีผลให้ความปลอดภัยในการทำงานลดลง เว้นแต่กรณีที่นายจ้างดัดแปลงรถยกเพื่อใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง และได้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานแล้ว 

หากรถยกที่ใช้งานเป็นรถยกที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) เป็นเชื้อเพลิงต้องได้รับการตรวจทดสอบรับรองอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยวิศวกรผู้ได้รับอนุญาต โดยรายละเอียดการตรวจสอบ สามารถดูได้จาก ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง รถฟอร์คลิฟท์ (Forklift) ที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง .. 2545

ข้อ 36 นายจ้างต้องควบคุมดูแลบริเวณที่มีการเติมประจุไฟฟ้าแบตเตอรี่สำหรับรถยกที่ใช้ไฟฟ้าให้อยู่ห่างจากบริเวณที่ลูกจ้างทำงานได้อย่างปลอดภัย และจัดให้มีมาตรการเกี่ยวกับการระบายอากาศเพื่อป้องกันการสะสมของไอกรด และไอระเหยของไฮโดรเจนจากการประจุไฟฟ้าจากข้อกำหนดข้างต้นจึงมีการกำหนดขั้นตอนการชาร์ตแบตเตอรี่สำหรับรถยกไฟฟ้าและมีการกำหนดพื้นที่สำหรับชาร์ตแบตเตอรี่อย่างชัดเจนทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้ปฏิบัติงานเอง

ข้อ 37 นายจ้างต้องตีเส้นช่องทางเดินรถยกบริเวณภายในอาคารหรือกำหนดเส้นทางเดินรถยกในบริเวณอื่นที่มีการใช้รถยกเป็นประจำ

จากข้อกำหนดข้างต้นจึงทำให้หลายบริษัทจัดทำช่องทางรถยกอย่างชัดเจนเช่นทาสีช่องทางเดินรถยกเป็นสีส้มหรือสีแดงแดงหรือสีที่แตกต่างจากพื้นที่ทั่วไปเพื่อแบ่งพื้นที่ระหว่างคนกับรถยกอย่างชัดเจน  หรือหากพื้นที่รถยกสามารถทำรั้วกั้นเพื่อป้องกันคนเดินเข้าไปได้ ก็จะติดตั้งรั้วกั้นคนเดินเข้าไป หากทำได้ ก็จะเกิดความปลอดภัยกัยผู้ปฏิบัติงานมากยิ่งขึ้น

ข้อ 38 นายจ้างต้องติดตั้งกระจกนูนหรือวัสดุอื่นที่มีคุณสมบัติคล้ายกันไว้ที่บริเวณทางแยกหรือทางโค้งที่มองไม่เห็นเส้นทางข้างหน้า 

กระจกนูนทางแยกรถยก

นอกจากติดตั้งกระจกนูนแล้วบริษัทยังกำหนดให้ผู้ขับขี่ต้องให้สัญญาณเสียงเมื่อถึงทางแยกทางโค้งหรือมุมอับเพื่อให้ผู้ที่อยู่บริเวณนั้นรู้  และระวังหากมีความจำเป็นต้องเข้าใกล้บริเวณที่รถยกทำงาน

ข้อ 39 นายจ้างต้องจัดทางเดินรถยกให้มีความมั่นคงแข็งแรง และสามารถรองรับน้ำหนักรถรวมทั้งน้ำหนักบรรทุกของรถยกได้อย่างปลอดภัย

ข้อ 40 นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างซึ่งจะทำหน้าที่เป็นผู้รับรถยก ผ่านการฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้รถยกแต่ละประเภท ความปลอดภัยในการขับรถยก การตรวจสอบและบำรุงรักษารถยก โดยวิทยากรซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับรถยก ตามหลักสูตรที่อธิบดีประกาศกำหนด

ปัจจุบันมีบริษัทเปิดรับอบรมเกี่ยวกับรถยกจำนวนมากก่อนที่จะเลือกใช้บริการต้องตรวจสอบให้มั่นใจว่าวิทยากรนั้นได้รับอนุญาตถูกต้องแล้ว

หากลูกจ้างที่ทำหน้าที่ขับรถยกได้ผ่านการอบรมรถยกแล้วบริษัทอาจทำการชี้บ่งให้เห็นชัดเจนว่าบุคคลนั้นผ่านการอบรมและได้รับอนุญาตจากบริษัทแล้วเช่นการติดเข็มกลัดสติกเกอร์หรือปลอกแขนแล้วแต่การบริหารจัดการของแต่ละที่หรืออาจจัดทำบอร์ดติดรูปและรายชื่อผู้ได้รับอนุญาตขับรถยกให้เห็นชัดเจน

เพื่อป้องกันบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต ขึ้นขับรถยก เพราะอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้ 

ข้อ 41 นายจ้างต้องควบคุมดูแลการนำรถยกไปใช้ปฏิบัติงานใกล้สายไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้า โดยต้องมีระยะห่างเพื่อความปลอดภัย ดังต่อไปนี้

  1. (1)สายไฟหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 69 กิโลโวลต์ต้องห่างไม่น้อยกว่า 3.1 เมตร
  2. (2)สายไฟหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าเกิน 69 กิโลโวลต์แต่ไม่เกิน 115 กิโลโวลต์ต้องห่างไม่น้อยกว่า 3.3 เมตร
  3. (3)สายไฟหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าเกิน 115 กิโลโวลต์แต่ไม่เกิน 230 กิโลโวลต์ต้องห่างไม่น้อยกว่า 4 เมตร
  4. (4)สายไฟหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าเกิน 230 กิโลโวลต์แต่ไม่เกิน 500 กิโลโวลต์ต้องห่างไม่น้อยกว่า 6 เมตร

ข้อ 42 นายจ้างต้องควบคุมดูแลไม่ให้บุคคลอื่นนอกจากผู้ขับรถยกโดยสารหรือขึ้นไปบนส่วนหนึ่งส่วนใดของรถยก

จากข้อกำหนดของกฎกระทรวงนี้จึงทำให้บริษัทกำหนดเป็นกฎระเบียบขึ้นมา“ห้ามผู้ใดโดยสารไปกับรถยกโดยเด็ดขาด   หากฝ่าฝืน จะถูกลงโทษตามกฎบริษัท เพราะหากมีการโดยสารไปกับรถยก เมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น อาจทำให้เสียชีวิตได้

  นอกจากข้อกำหนดเรื่องรถยกแล้ว กฎกระทรวงยังกำหนดอุปกรณ์ความปลอดภัยที่นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างสวมใส่ เกี่ยวกับงานควบคุมเครื่องจักร ซึ่งรถยกถือว่าเป็นเครื่องจักรด้วยเช่นกัน จึงต้องกำหนดให้สวมหมวกนิรภัยและรองเท้าพื้นยางหุ้มส้น แต่บางบริษัท ก็กำหนดให้ผู้ที่ทำหน้าที่ขับรถยก สวมใส่เสื้อสะท้อนแสงด้วย และกำหนดให้ผู้ที่ต้องเข้าไปในพื้นที่การทำงานของรถยก ต้องสวมใส่เสื้อสะท้อนแสงด้วยเช่นกัน เพื่อให้สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน นอกจากกำหนดให้สวมใส่อุปกรณ์ความปลอดภัยแล้ว นายจ้างยังต้องควบคุมดูแล ให้ลูกจ้างสวมใส่ตลอดระยะเวลาที่ทำงานด้วย

นอกเหนือจากข้อกำหนดของกฎกระทรวงแล้วหลายบริษัทยังกำหนดเป็นกฎระเบียบด้านความปลอดภัยสำหรับรถยกเพิ่มเติมอีกด้วยเช่นห้ามใช้โทรศัพท์ขณะขับรถการจำกัดความเร็วของรถยกเป็นต้น

แต่สิ่งที่สำคัญที่จะทำให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน คือ จิตสำนึกของผู้ขับขี่นั่นเอง