หลักการและเหตุผล
จากข้อมูลการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทํางาน กองทุนเงินทดแทน สํานักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ปี 2558 พบว่า สาเหตุของการประสบอันตรายของพนักงาน เกิดจาก วัสดุหรือสิ่งของตัด/ทิ่มแทง จำนวน 22,329 คน, วัสดุหรือสิ่งของพังทลาย จำนวน 15,669 คน, วัสดุหรือสิ่งของกระแทก จำนวน 13,354 คน, วัตถุสิ่งของหรือสารเคมีกระเด็น จำนวน 12,357, วัตถุหรือสิ่งของหนีบ จำนวน 7,329 คน, ตกจากที่สูง จำนวน 6,080 คน และ หกล้มลื่นล้ม จำนวน 5,129 คน ตามลำดับ
จากสถิติดังกล่าวพบว่า อันตรายที่เกิดจากการตกจากที่สูง เป็น 1 ใน 6 ของลักษณะอันตรายที่จำเป็นต้องให้ความสำคัญในการพิจารณาบริหารจัดการเพื่อลดความสูญเสีย การดำเนินการได้จาก มาตรฐานสากลต่างๆ เช่น Occupational Safety and Health Administration (OSHA ), American National Standards Institute (ANSI) และ กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชันจากวัสดุกระเด็น ตกหล่น และพังทลาย และจากการตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ พ.ศ. 2564 หมวด 1 นายจ้างต้องจัดอบรมลูกจ้างก่อนเริ่มปฏิบัติงานบนที่สูง และ ควบคุมดูแลให้ลูกจ้างปฏิบัติอย่างเคร่งครัด และต้องมีสำเนาเอกสาร (ใบเซอผ่านการอบรมที่สูง และเอกสารอื่นๆ) ให้พนักงานแรงงานสามารถตรวจสอบได้
ดังนั้นเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานบนที่สูงเกิดความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานบนที่สูงได้อย่างถูกต้องและ สอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนด กิจการหรือสถานประกอบกิจการที่มีพนักงานทำงานบนที่สูง จึงควรพิจารณาจัดให้มีการอบรมหลักสูตรที่สูงสำหรับผู้ปฏิบัติงานให้กับพนักงานดังกล่าวนั้นนี้
วัตถุประสงค์
1) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้และทักษะในการทำงานบนที่สูงอย่างปลอดภัย
2) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้และเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองในการปฏิบัติงานบนที่สูง
3) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการเลือกใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
4) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเกิดความตระหนักถึงความรุนแรง ของการประสบอันตรายจากการทำงานบนที่สูง
5) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถกู้ภัยเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินได้
คุณสมบัติผู้เข้าอบรม
– หัวหน้างาน, พนักงาน ที่ปฏิบติงานเกี่ยวข้องกับความสูง หรือผู้ที่สนใจ
– สุขภาพร่างกายแข็งแรงสามารถฝึกภาคปฏิบัติได้
จำนวนผู้เข้าอบรม/รุ่น จำนวน 1-30 ท่าน/รุ่น
วิธีการฝึกอบรม บรรยาย / กรณีศึกษา / ฝึกภาคปฏิบัติ
วิธีการประเมินผลและเกณฑ์การวัดผล
- ระยะเวลาเข้ารับการฝึกอบรม 100% จำนวน 6 ชั่วโมง
- แบบทดสอบก่อน และหลังการฝึกอบรม
- ทดสอบภาคปฏิบัติ
สิ่งที่จะได้รับหลังการอบรม วุฒิบัตรผ่านการอบรม
กำหนดการฝึกอบรม หลักสูตร ความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง สำหรับผู้ปฏิบัติงาน
เวลา | รายละเอียด |
---|---|
08.30-09.00 น. | ลงทะเบียน
ทำแบบทดสอบก่อนการฝึกอบรม |
09.00-10.30 น. | ภาคทฤษฎี (1) คามปลอดภัยในการทำงานบนที่สูงและข้อกฎหมายเบื้องต้น - คำจำกัดความของการทำงานบนที่สูง - อันตรายและสถิติอุบัติเหตุจากการทํางาน - ข้อกำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงาน |
10.30-10.45 น. | พักเบรค |
10.45-12.00 น. | (2) ระบบป้องกันการตกและอุปกรณ์ที่เกี่ยวของ - ส่วมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนลุคคล (PFPE) - มาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องกับการทำงานบนที่สูง -เทคนิคการตรวจสอบและการเลือกใช้งานอุปกรณ์ และเทคนิคการทำงานวิธีต่างๆ -บทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบในการทำงานบนที่สูง ทำแบบทดสอบหลังฝึกอบรม |
12.00-13.00 น. | พักรับประทานอาหาร |
13.00-14.30 น. | (3) ภาคปฏิบัติ และ ทดสอบภาคปฏิบัติ – ฝึกปฏิบัติ และทดสอบการผูกเงื่อนพื้นฐาน – ฝึกปฏิบัติ และทดสอบการสวมใส่ FULL BODY HARNESS WITH ABSORBER WEBBING 2 HOOK – ฝึกปฏิบัติ และทดสอบการทำจุดยึด (ANCHOR) ด้วยเงื่อนพื้นฐาน |
14.30-14.45 น. | พักเบรค |
14.45-16.00 น. | – สอบขึ้นลงบนที่สูง FULL BODY HARNESS WITH ABSORBER WEBBING 2 HOOK แนวราบ แนวดิ่ง แนวเอียง (FF = 0-1) – สอบการตรวจสอบอุปกรณ์กันตกและการเลือกใช้งานอุปกรณ์กันตกชนิดต่างๆ – สอบการวางแผนงานฉุกเฉิน การช่วยเหลือ และการกู้ภัยผู้ประสบภัยตกจากที่สูง – สอบเทคนิคการทำ Positioning Working – สอบเทคนิคการทำ Restraint Technique – สอบเทคนิคการทำ Fall Arrester System – สอบเทคนิคการทำ Lifeline System and Anchor ตอบข้อซักถาม – แจ้งผลการทดสอบภาคปฏิบัติ |